Google Analytics for Firebase คืออะไร เเละสิ่งที่ควรรู้ สำหรับแอพพลิเคชั่น

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Google Analytics for Firebase คืออะไร สำหรับแอพพลิเคชั่น

Google Analytics for Firebase คืออะไร

Google Analytics for Firebase หรือที่หลายๆคนรู้จักกันในนาม Firebase Analytics คือ แพลตฟอร์มที่สามารถใช้เก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้งานบนแอพพลิเคชั่นในเชิงสถิติ และที่สำคัญ แพลตฟอร์มนี้ยังเปิดให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นเลย โดยนักการตลาดสามารถนำข้อมูลบน Google Analytics for Firebase (GA4F) ไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด หรือปรังปรุงแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ผู้ใช้งานกลับมาใช้แอพพลิเคชั่นมากขึ้นได้อีกด้วย

Demo Account สำหรับ Google Analytics for Firebase

ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่มีแอพพลิเคชั่น ให้เข้าไปเล่นข้อมูลบน Google Analytics for Firebase แต่ไม่ต้องเสียดายไปเพราะทาง Google มีเตรียม demo project ให้เข้าไปเล่นตัวแพลตฟอร์มกันได้ฟรีๆ โดยสามารถเข้าไปขอ Google Analytics for Firebase access ได้ที่นี่

ศัพท์ที่ควรรู้สำหรับการใช้งาน Google Analytics for Firebase

User

จำนวนผู้เข้าใช้งานบนแอพพลิเคชั่น หรือจริงๆแล้วก็คือจำนวนเครื่องที่เข้าใช้งาน              แอพพลิเคชั่น โดยสำหรับ Android จะใช้ Android Advertising ID ในการระบุตัวตน และสำหรับIOS จะใช้ Advertising Identification  ผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะลบ ID ของตัวเองได้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นน้อย เพราะมีขั้นตอนยุ่งยากกว่าการเคลียร์คุกกี้บนเว็ปไซต์ หากผู้ใช้งานลบ ID ตัวเอง บนแอพพลิเคชั่นจะมองผู้ใช้งานคนนี้เป็น ผู้ใช้งานคนใหม่ทันที

Session

จำนวนการเข้าใช้งานบนแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้งานต่อช่วงเวลาหนึ่ง โดยช่วงเวลาจะเริ่มเมื่อเปิดแอพพลิเคชั่น 10 วินาทีเป็นต้นไป หากผู้ใช้งานหยุดใช้แอพพลิเคชั่นไม่ว่าจะเป็นการปิดแอพพลิเคชั่นหรือเปลี่ยนไปเล่นแอพพลิเคชั่นอื่น ผู้ใช้งานจะถูกนับว่าอยู่ในสถานะ “inactive” หากผู้ใช้งาน inactive เกินสามสิบนาที ช่วงเวลานี้จะสิ้นสุดลงทันที ถ้าผู้ใช้งานเข้ามาใช้งานใหม่จะนับเป็น จำนวนการเข้าใช้งานครั้งที่สอง และเริ่มนับช่วงเวลาใหม่อีกครั้ง

Events

จำนวนการกระทำที่ผู้ใช้งานกระทำบนแอพพลิเคชั่น โดยการกระทำนั้นๆต้องมีการติดตั้ง Event Logging for Firebase ไว้ก่อน ทาง Google Analytics for Firebase ถึงจะทราบว่าการกระทำนั้นๆเป็น Event นอกเหนือจากการติดตั้ง Event Logging for Firebase แล้ว แพลตฟอร์ม GA4F ยังมีการเก็บ Event บางส่วนอัตโนมัติ อีกด้วยโดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มทั้งสิ้น

User Properties

คุณสมบัติของผู้ใช้งาน โดยผู้ใช้งานสามารถถูกระบุว่ามีคุณสมบัติอะไร ด้วยวิธีการระบุคุณสมบัติของผู้ใช้งาน ในหนึ่งแอพพลิเคชั่นสามารถสร้างคุณสมบัติของผู้ใช้งานได้มากสุดถึง 25 คุณสมบัติ ซึ่งจะสูงกว่า Google Analytics สำหรับเว็ปไซต์ที่สร้างได้มากสุดแค่ 20 คุณสมบัติเท่านั้น แต่หากเป็น Google Analytics 360 จะสร้างได้สูงสุดถึง 200 คุณสมบัติกันเลยทีเดียว สำหรับการใช้งาน User Properties นี้ได้แก่การสร้าง Segment บน GA4F โดยแบ่งตามคุณสมบัติของผู้ใช้งานเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มคนนั้นๆ หากนักการตลาดมีทำการตลาดออนไลน์ด้วย Google Ads จะสามารถนำ Segment นั้นๆส่งไปใช้ใน Google Ads เพื่อสร้างเป็นกลุ่ม Audience และสามารถทำการตลาดกับกลุ่ม Audience นั้นๆได้อีกด้วย นอกเหนือจากการใช้งานจากการสร้าง Segment แล้ว คุณสมบัติผู้ใช้งาน ยังสามารถนำไปใช้ทำ A/B Testing ของทาง Firebase ได้ ในกรณีที่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น อยากทดลอง ฟังก์ชั่นใหม่ของแอพพลิเคชั่นกับกลุ่มคนบางประเภทก่อน

Revenue

รายได้ที่แสดงอยู่บน GA4F จะแตกต่างจาก Revenue ที่อยู่บน Google Analytics สำหรับเว็ปไซต์ โดยที่ GA สำหรับเว็ปไซต์รายได้จะมาจากการซื้อขายบนเว็ปไซต์เท่านั้น สำหรับ GA4F รายได้จะมาจากผลรวมของสองสิ่งได้แก่

  • In App Purchase – จำนวนรายได้ที่มาจากการซื้อของที่เชื่อมกับ Play Store หรือ App Store
  • Ecommerce Purchase – จำนวนรายได้จากการซื้อของบนแอพพลิเคชั่น ที่ไม่ได้ผ่านทาง Play Store หรือ App Store โดยส่วนมากจะพบในแอพพลิเคชั่นจำพวก Marketplace หรือ Retail เช่น Lazada, Shoppee, หรือ Big C

บทสรุป

Google Analytics for Firebase เป็น Analytics Tools สำหรับแอพพลิเคชั่นที่ควรจะมีติดตั้งอยู่ในทุกๆแอพพลิเคชั่น เพื่อที่นักการตลาดจะได้นำข้อมูลตรงนี้ไปวางแผนการตลาดออนไลน์สำหรับแอพพลิเคชั่น สำหรับบทความนี้ เป็นการพูดถึง Google Analytics for Firebase เบื้องต้น และสิ่งที่ควรจะรู้ก่อนเริ่มใช้งานแพลตฟอร์มนี้ หวังว่าผู้อ่านจะได้ความรู้ไปไม่มากก็น้อย

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”

“A better tomorrow starts today”