Consideration: การโฆษณาออนไลน์ ให้ตรงกลุ่มต้องทำอย่างไร วัดผลอย่างไร

ระหว่างที่คุณกำลังเพลิดเพลินกับการรันโฆษณา ผ่านสิ่งที่คุณยึดมั่นที่เรียกว่าการทำ Awareness คุณกลับรู้สึกว่าทำไมลูกค้าเหล่านั้นถึงสร้างยอดขายให้กับคุณไม่ได้เลยแม้ว่าคุณจะเห็นยอด การเข้าถึง (Reach) และ ยอดการแสดงผลโฆษณา (Impression) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราก็เริ่มจะกลับมาตังคำถามตัวเองว่า เราลงเงินถูกที่หรือเปล่า วัดผลถูกจุดหรือไม่ ในบทความนี้จะเล่าถึงการวัดผลในแบบที่เรียกว่า Pre-Click และ Post-Click เพื่อให้คุณเข้าใจการโฆษณาออนไลน์ ว่าที่คุณทำอยู่นั้นถูกต้องหรือกำลังไปผิดทาง

การโฆษณาออนไลน์แบบ Pre-Click Optimization

ก็คือการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ก่อนที่ลูกค้าจะคลิกโฆษณาของคุณ โดนในขั้นตอนนี้จะประกอบไปด้วย 1.Targeting (กลุ่มเป้าหมาย) ex. Keywords, Interests, Placement, Demo, Location, etc.2.Ad Type (รูปแบบของโฆษณา) ex. Google Search, Facebook Ads, Gmail Ads, Email marketing, etc.3.Split Testing (การทดสอบโฆษณา) ex. การทดลองเพื่อวัดผลว่าแบนเนอร์ตัวไหนดีกว่ากัน4.Imagery (การใช้ภาพ วีดีโอ) ex. Story telling, Content, etc

การวัด ผลการโฆษณาออนไลน์แบบ Pre-Click Optimization

  • Reach = จำนวนคนที่เราเข้าถึง – จำไว้ว่ามันนับจาก Target ที่เราเลือกถ้าเลือกได้ตรงการเข้าถึงมากก็เป็นผลดี
  • Impression = จำนวนครั้งที่ลูกค้าเราเห็นโฆษณา – เยอะน้อยไม่ได้บอกว่าดีนะครับ เยอะไปอาจจะมาจากคนเห็นซ้ำเยอะ น้อยไปอาจเป็นเพราะเรา Target แคบไป
  • Click = จำนวนครั้งที่คนคลิกโฆษณา
  • CTR (Click Though Rate) หมายถึง อัตราการคลิก เห็น 100 คน คลิกกี่คน ตัวนี้ลึกซึ้งมากครับ
  • ถ้าตำกว่า 1% ปกติจะเกิดกับการโฆษณาแบบ Display และ VDO
  • ถ้าเป็นตัว Google Search Ads จะสูงกว่า 5% หรืออาจสูงถึง 70% ก็มีเพราะคนกลุ่มนี้มีความต้องการอยู่แล้ว
  • ถ้า Impression สูงตัวนี้สูงแปลว่ามาถูกทาง

การโฆษณาออนไลน์แบบ Post-Click Optimization

Concept: การเอาคนที่เคยคลิกโฆษณาเรามา Target ต่อก็คือ การโฆษณาออนไลน์หลังจากที่เค้าคลิกโฆษณาเราแล้ว หลายแบรนด์ที่ไม่มีเว็บไซต์จะไปต่อส่วนนี้ได้ไม่ครบนะครับ แต่ก็ยังพอมีลู่ทางอยู่ การทำขั้นนี้ปกติต้องมีการใช้สิ่งที่เรียกว่า Pixel ( ชุด code ที่เอาไปติดบนเว็บไซต์ใช้ในการจับข้อมูลของคนที่เข้ามาในเว็บไซต์ ) หรือ ศัพย์ทั่วไปคือการติด Tracking นั่นเอง แต่เบื้องต้นขอแบ่งเป็นสองแบบนะครับ แบบที่ไม่ใช้ Pixel หรือ ไม่ใช้การติด Trackingปัจจุบันจะทำได้ 2 ช่องทาง ก็คือ Facebook Ads และ YouTube AdsFacebook Ads:จะใช้การ Target คนที่เคยเข้าเพจ, มีการตอบสนองกับโพส, หรือ อื่น ๆ ที่เป็นตัวบ่งบอกว่าเค้าเคยเห็นเรามาแล้วรอบนึง เราสามารถรีทาเก็ตเค้าได้อีกรอบนึงYouTube Ads:จะทำการLink Google Ads Account กับ YouTube Channels เพื่อทำการ Target คนที่เคย ดู คลิกหรือ เห็น VDO ตัวที่เราต้องการ

แบบที่ใช้ Pixel หรือ ใช้การติด Tracking

จะเรียกเทกนิคนี้ว่าการทำ Retargeting คือเอาโฆษณาไปตามคนที่เคยเข้าเว็บไซต์ ตัวนี้บอกก่อนว่าอัตราการซื้อจะค่อนข้างดี เนื่องจากการที่ลูกค้าคลิกเป็ยครั้งที่สองแปลว่าเค้ายังสนใจเราอยู่ โดยในขั้นนี้จะมีสองแบบใหญ่ ๆ คือการรีทาเก็ตติ้งด้วยภาพอาจเป็นภาพนิ่งหรือเคลื่อนไหว แต่จุดเด่นคือเราสามาถใช้โปรโมชั่นในการจูงใจลูกค้าด้วยการใช้ภาพดึงดูด ตัวนี้ทำง่ายและเป็นที่นิยม

การรีทาเก็ตด้วยสินค้า

อันนี้จะใช้เทคนิกที่ค่อนข้างล้ำ และ Performance ที่ได้ก็จะดีกว่าโฆษณาประเภทอื่น ๆ ด้วยการเริ่มต้นคือจะต้องมีสองสิ่งดังนี้

  • Product Feed คือ ชุดข้อมูลสินค้าที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบที่เครื่องมือต่าง ๆ กำหนด ตัวนี้ละตัวเจ้าปัญหาที่ทำให้แม้แต่แบรนด์ใหญ่ ๆ ถึงกับ งงไปยกใหญ่เนื่องด้วยความซับซ้อนซึ่งเราสามารถดูตัวอย่างได้ที่นี่ Product Feed
  • Custom Tracking คือ การติด Pixel แบบจับพฤติกรรมคนเข้าเว็บไซต์ตาม Funnel : General Visiter, Product Viewer, Cart Abandon, และ Past converters อันนี้ก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญอยู่เหมือนกัน (ขายของก่อน เราก็รับทำนะ) ความลึกและต้องรู้หลายเครื่องมือยากอยู่ตรงที่ต้องรู้หลายเครื่องมือ ทั้ง Google Tag Manager, Google Ads Tracking,Facebook Ads Tracking, และ อื่น ๆ

สรุปวันนี้เราก็จะเข้าใจการโฆษณาออนไลณ์ ผ่านวิธีคิดที่เรียกว่า Pre-Click และ Post-Click ซึ่งจะเน้นการใช้เทคนิกบนออนไลน์ที่แตกต่างกัน และมีความเหมาะสมตามพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า เมื่อไหร่ที่เค้าเข้าเว็บไซต์เรา เราก็จะนำข้อมูลมาใช้ทาเก็ตเป้าหมายให้ตรงกลุ่มได้มากขึ้น

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”

“A better tomorrow starts today”