Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Learning Agility is the future of work

CTC 2023: สรุป Learning Agility is The Future of Work

Learning Agility คือ การปรับเปลี่ยนการทำงานให้คล่องตัว รวดเร็ว เห็นผลลัพธ์ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งในคลาสจะเป็นการพูดคุยโดย คุณวารุณี จาก SCB นะครับ

ในคลาสจะพูดถึง นักเขียนชาวอเมริกัน ที่ได้พูดถึงความสามารถในการเรียนรู้ ที่คนที่มี Growth Mindset หรือ คนที่อายุมากแต่ยังสามารถเรียนรู้ได้อยู่เพราะอะไร จาก 3 เรื่องนี้
Learn: เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
Unlearn: ไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มา
Relearn: เรียนรู้สิ่งที่เคยรู้ด้วยมุมมองใหม่ๆ


กล่าวคือ Learning Agility ไม่ได้หมายถึงแค่การอบรมทักษะความรู้เท่านั้น แต่รวมถึงความสามารถและความกระตือรือร้นของแต่ละบุคคลในการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาใหม่ในสถานการณ์ใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว และใช้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองเพื่อทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการตัดสินใจและแก้ปัญหาใหม่ ๆ ในงานด้วย

ในคลาสจะพูดถึงองค์ประกอบ 5 ด้านที่ใช้ในการวัดระดับ Learning Agility นั่นคือ


1. Mental Agility (ความคล่องตัวด้านความคิด)
หมายถึง การยอมรับว่าตัวเองไม่ได้รู้ไปซะทุกเรื่อง มีความคิดที่รวดเร็ว สนใจเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มองสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองใหม่ ๆ ถามคำถามอยู่เสมอและรับฟังเพื่อจะได้คำตอบใหม่ ๆ เพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนา

 2. People Agility (ความคล่องตัวด้านปฏิสัมพันธ์กับคน)
หมายถึง การเปิดใจต่อกลุ่มคนใหม่ ๆ ที่หลากหลาย รับฟัง และตื่นเต้นกับการเรียนรู้วัฒนธรรมหรือวิธีการใหม่ ๆ กล้าที่จะเห็นต่างอย่างสร้างสรรค์เพื่อมองหาข้อตกลงที่ดีที่สุด


 3. Change Agility (ความคล่องตัวด้านการเปลี่ยนแปลง)
หมายถึง ความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ดีในวันนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต จึงมุ่งหวัง ยินดี และพยายามค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอ


 4. Result Agility (ความคล่องตัวด้านผลลัพธ์)
หมายถึงการมุ่งส่งมอบผลลัพธ์แม้ในช่วงเวลาที่ท้าทาย รวมถึงการส่งเสริมหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นบรรลุในผลลัพธ์เช่นกัน


5. Self-awareness (การตระหนักรู้ในตนเอง)

หมายถึง การไตร่ตรอง เข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง แสวงหาความคิดเห็นและข้อมูลเชิงลึก ค้นหาข้อควรพัฒนาและยอมรับข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

องค์กรสามารถสนับสนุนให้เกิด Learning Agility ได้โดยการ


1. สื่อสารเป้าหมายภาพรวม สื่อสารให้บุคลากรรับรู้ถึงความสำคัญ ความจำเป็น เป้าหมาย และทิศทางขององค์กรในการพัฒนาสู่การเป็นองค์กร Agile


2. กำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนารายบุคคล ใช้แบบประเมินหรือการทบทวนผลการปฏิบัติงาน และกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนา เปิดโอกาสสำหรับการผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้


3. ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Agile เช่น การเรียนรู้ข้ามสายงาน (Crossed-functional Learning), การหมุนเวียนงาน (Job Rotation), การให้คำปรึกษาระหว่างเพื่อนร่วมงาน (Peer Mentoring) เพื่อเปิดโอกาสให้เห็นกระบวนการทำงานจากแผนกอื่น ๆ ช่วยให้ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เห็นวิธีการ ความเป็นไปได้ และข้อจำกัดที่แตกต่าง เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกัน รวมถึงการให้รางวัล (Reward and Recognition) สำหรับผลลัพธ์จากการเรียนรู้


4. ใช้แนวคิด Learning Agility ในการสรรหาและคัดเลือก การถามคำถามเพื่อการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มี Learning Agility เช่น• ถามถึงผลลัพธ์ในงาน เช่นผลลัพธ์ในงานของคุณคืออะไร ใช้วิธีการ และวางแผนระยะเวลาอย่างไร?

บทส่งท้าย

ในคลาสจะมีพูดถึงปประเภทของคนด้วยว่าคนแบบไหนมี Learning Agility ที่สูง แต่ในคลาสจะให้ทุกคนเสนอไอเดียต่าง ๆ และออกมาเป็นข้อสรุปของทั้ง 5 องค์ประกอบ และยังมีการแนะนำว่าใน SCB มีการทำโครงการคล้าย ๆ Shark Tank แต่ชื่อ Whale Tank ที่ให้คนในองค์กรลุกขึ้นมาเสนอไอเดียธุรกิจครับ

สำหรับความรู้ที่ต้องการอัพเดทในวันนี้ก็มีเท่านี้นะครับ ยังไงฝากกดไลค์ กดแชร์ และเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ และพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ ใครอ่านมาถึงตรงนี้หากมีตรงไหนที่สงสัยก็สามารถติดต่อมาได้เลยนะครับ

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”

“A better tomorrow starts today”