ทาง Foretoday ได้มีการเข้าร่วมงาน CTC Marketing ในหัวข้อ Marketing to Gen Z: ENGAGING THE NEW GENERATION โดยมีผู้บรรยายคือคุณณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน ที่ปรึกษาด้านการตลาดชื่อดัง ซึ่งเป็นหัวข้อเกี่ยวกับพฤติกรรมของชาว GenZ ที่กำลังเป็นกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ ที่หลายๆ แบรนด์กำลังเจาะเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพราะว่าเป็นกลุ่มวัยรุ่น มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น และถือว่าเป็นกลุ่มที่ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์และบริการได้เร็ว จึงถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการอย่างมาก
ก่อนอื่นเรามารู้จักคำจำกัดความของชาว Gen Z กันก่อน Gen Z ในที่นี้ที่เรากล่าวถึงแบ่งเป็น 4 ช่วงวัย ได้แก่
- วัยรุ่น (Teenager) อายุ11-16 ปี
- วัยค้นพบตัวตน (Explorer) อายุ 18-22 ปี
- วัยเริ่มทำงาน ( First Jobber) อายุ 22-24 ปี
- และวัยผู้ใหญ่ (Senior) อายุ 24-26 ปี
ซึ่งทางเราก็ได้สรุป 5 พฤติกรรมชาว Gen Z ที่นักการตลาดต้องรู้ เพื่อมัดใจกลุ่มลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือนักการตลาดได้ลองออกแบบพื้นฐานของการตลาด 4P (Product, Prize, Place, Promotion) ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้ายุคใหม่กัน
- มุมมองที่มีต่อวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
ชาว Gen Z มีมุมมองว่าเศรษฐกิจของประเทศไม่คงที่ ทั้งเรื่องการเงินและการเมือง มีความรู้สึกว่าการหาที่อยู่อาศัย การซื้อที่ดิน หรือการหาเงินทุกอย่างทำได้ยากไปหมด ส่งผลให้ชาว Gen Z นั้น ไม่ชอบมีภาระและไม่อยากใช้หนี้
ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้หลายๆ แบรนด์เกิดแนวคิด Buy now / Pay later ซื้อสินค้าก่อน แล้วค่อยมาผ่อนทีหลัง หรือทำสินค้าผ่อน 0% เช่น สินค้าประเภท Smartphone, เครื่องสำอาง หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ออกแบบระบบให้ตอบโจทย์กับชาว Gen Z อย่าง Shopee
นอกจากนี้ชาว Gen Z เป็นกลุ่มที่ชอบหาเงินด้วยการทำธุรกิจ และสร้าง Passive Income ให้กับตัวเอง จึงเกิดแพลตฟอร์มเทรดออนไลน์หรือ Fintech ที่สามารถ โอน จ่าย ลงทุน ออมเงิน ครบจบทีเดียว
- พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป และมองว่าช่องทางออนไลน์หาเงินง่าย
หลังจากเกิดสถานการณ์ Covid 19 ทำให้เกิดการเรียนบนช่องทาง Online แทนมากขึ้น ทำให้ทางสถาบันการศึกษาก็พัฒนาครอสเรียน Online ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีใบประกาศหลังเรียนจบให้ด้วย ส่งผลมาต่อเนื่อง ทำให้กลุ่ม Gen Z รู้สึกว่าปัจจุบันนี้การค้นคว้าหาความรู้ใหม่ช่างเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และใช้ในการประกอบอาชีพได้
และคำว่า Teenpreneur นั้นมาจากที่ชาว Gen Z ได้ประกอบอาชีพด้วยตนเองได้อย่าง Influencer, Affiliate Marketing , Youtuber หรือ Content Creator เป็นต้น ทำให้ชาว Gen Z สนใจช่องทางออนไลน์และเชื่อถือการตลาดผ่าน Influencer
- Gen Z เคารพเรื่องความเท่าเทียม และความเป็น Globalization
ชาว Gen Z ยุคนี้จะเคารพความหลากหลายกับความแตกต่างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ แฟชั่น การแต่งตัวต่างๆ แบรนด์สามารถออกแบบสินค้าที่เจาะจงกลุ่ม Unique Market ได้ หรือออกแบบแคมเปญที่สร้างจุดยืนเรื่องความเท่าเทียมก็จะทำให้ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากชาว Gen Z ได้
และปัจจุบันการเดินทางรอบโลก และการติดต่อสื่อสารกับผู้คนต่างถิ่นเป็นเรื่องง่ายดายที่ช่วยให้คนกลุ่มนี้ได้สัมผัสวัฒนธรรมต่างแดนอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ทำให้เกิดนวัตกรรมและแอพลิเคชั่นที่หลากหลายมาตอบสนองความต้องการ เช่น AirBnB ที่สามารถจองห้องในราคาถูกรอบโลก หรือ Omegle Chat พบปะพูดคุยผู้คนจากทั่วโลกฟรี
- การตลาดแบบจริงใจมัดใจ Gen Z
การทำแบรนด์หรือสินค้าและบริการ นักการตลาดต้องมองว่า เราคือมนุษย์คนหนึ่งที่ต้องมีความจริงใจ มีเหตุผลชี้แจงที่ชัดเจนเวลาจะทำอะไร เช่น ร้าน Shinkanzen Sushi ที่มีการชี้แจงการปรับราคาอาหารขึ้นลงตามสถานการณ์ที่เหมาะสม ก็ได้รับกระแสความนิยมและความชื่นชอบอย่างมาก
หรือ การใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยของ Gen Z เช่น Starbucks ที่มีแคมเปญการใช้ชื่อเล่นได้ในแบบที่ตัวเองเป็น และการเลือก Creator ให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่จะโปรโมต เพราะการชวน Collab ด้วยกันจะทำให้กลุ่มแฟนคลับของ Creator จะติดตามระยะยาวมากกว่า หรือยกตัวอย่างแบรนด์น้องใหม่อย่าง INGU ที่โปรโมตส่วนประกอบอย่างละเอียด และจริงใจ
- พฤติกรรมต่อมุมมองของผู้อื่นต่อ Gen Z
ผู้ใหญ่มักมองว่า Gen Z นั้นไม่อดทน นั่นเป็นเพราะคนวัยนี้สามารถมีทางเลือกที่มากกว่า จะยอมทนก็ต่อเมื่อได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า อย่างเช่น ผลตอบแทนที่ดี สวัสดิการที่ดี และการเข้าถึงประกันสุขภาพ จึงเกิดกลุ่มคนที่เรียกว่า Psycho influencer ที่เป็นคนแนะนำทางจิตวิทยา เพราะ Gen Z นั้นถูกสังคมเปรียบเทียบอยู่ตลอดเวลา และพบว่าเกิดปัญหาซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นจะพบว่า Gen Z ตัดสินใจเรื่องสำคัญ และเรื่องการตัดสินใจซือที่รวดเร็ว อะไรที่คิดว่าคุ้มค่า คุ้มราคา ก็จะเข้าหาทันที แล้วความ Loyalty จะมีน้อยกว่าเดิม ดังนั้นแบรนด์ต้องใส่ใจในความ Sensitive ของกลุ่มเป้าหมายนี้และใส่ใจมากขึ้น
และทั้งหมดก็คือสรุป 5 พฤติกรรมชาว Gen Z ที่นักการตลาดต้องรู้ นักการตลาดลองนำพฤติกรรมเหล่านี้ ไปปรับใช้ สร้างแคมเปญ สินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ รับรองว่าแบรนด์ของเราก็สามารถเข้าไปเป็น Top of Mind ของกลุ่มเป้าหมาย Gen z ได้อย่างแน่นอน
“A better tomorrow starts today”
Line@ : bit.ly/ForeToday
FB Chat : http://m.me/foretoday