บุรุษไปณีย์ไทยคือ Data base ที่ใหญ่อันดับต้นๆของประเทศไทยก็ว่าได้ เพราะพี่ไปรฯเป็นมิตรกับทุกบ้าน และยังเป็นเหมือน Navigator ที่เข้าได้ทุกที่ ซอกแซกได้ทุกมุม แถมยังเข้าใจพฤติกรรมของบ้านหลังนั้นๆอีก ยกตัวอย่างเคสที่เราเคยเจอกันแทบทุกคน เมื่อบ้านเราไม่มีคนอยู่พี่ไปรฯรู้ได้ไงว่าต้องไปส่งบ้านญาติหลังไหน ถ้าบ้านญาติไม่มีคนอยู่อีก พี่ไปรฯรู้ได้ไงว่าควรไปส่งบ้านเพื่อนบ้านที่เรารู้จักหลังไหน บางครั้งแค่รู้ชื่อหมา ก็ยังไปส่งได้

   ไปรษณีย์ไทยเดินหน้าดึงศักยภาพของพี่ไปรฯ หรือเจ้าหน้าที่นำจ่ายกว่า 25,000 คนที่มีความเชี่ยวชาญ เข้าถึงทุกพื้นที่ ให้บริการมากมายแก่ ภาครัฐและเอกชนภายใต้บริการ Postman Cloud

หนึ่งคำถามที่หลายคนอยากรู้ คือกลยุทธ์แก้เกมของ​​ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่พาองค์กรพลิกมาทำกำไร 78.54 ล้านบาท ในปี 2566 

กลยุทธ์ที่ 1: ใช้ Ecosystem เข้าสู้

ตอนนี้ไปรษณีย์ไทยมีลูกค้าใหม่ คือ บริษัทที่บริการด้านสินเชื่อ เพราะไปรษณีไทยรู้จักข้อมูลของลูกบ้านในพื้นที่ดี จึงเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการให้สินเชื่อได้

คนไทยคุ้นเคยกับบุรุษไปรษณีย์มาก บางบ้านถึงกับให้ของกิน ของฝากในวันเทศกาลกับบุรุษไปรษณีย์ นี่คือจุดแข็งที่เปลี่ยนมาสู่ท่าในการต่อสู้กับขนส่งเจ้าอื่น อีกทั้งเมื่อรู้จักคนในพื้นที่ดี ก็ตามหาคนให้ได้ อนาคตจะมีเจ้าไฟแนนซ์อื่น ๆ อย่าง รถมอเตอร์ไซต์ รถยนต์เป็นลูกค้าอีก

แต่ไปรษณีย์มองว่าบุรุษไปรษณีย์คือ Asset ที่สำคัญขององค์กร แล้วมองหา Need ในตลาด พอ Pain point ลูกค้า มาจับเข้ากับ Asset และจุดแข็งของธุรกิจ นี่คือทางรอดของธุรกิจในระยะยาว สุดท้ายแล้วบุรุษไปรษณีย์ยังได้ Commission ด้วย เพราะเขาเหนื่อยขึ้น ถือว่า WIN-WIN ทุกฝ่าย

กลยุทธ์ที่ 2: ก้าวสู่ Digital สู่การเป็น Tech Post

บางองค์กรอย่างประกัน กองทุนของธนาคาร มหาวิทยาลัย และใบสัญญาต่าง ๆ ยังขอให้เราเซ็นลายเซ็นแบบสด ๆ อยู่ บางที่ต้องเดินทางไปเองบ้าง ส่ง Messenger มาให้เซ็นสดบ้าง

ซึ่งพอวิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมเซ็นออนไลน์ไม่ได้ ก็พบว่าหากเกิดปัญหาขึ้นมาจะตรวจสอบยาก ทั้งระยะเวลาในโทรศัพท์ และลายเซ็นที่ถูกปลอมแปลงได้

จึงเกิดเป็นธุรกิจ e-Timestamp ของไปรษณีย์ไทย รับส่งเอกสารดิจิทัลแบบปลอดภัย การันตีโดยไปรษณีย์ไทย หมดปัญหาเอกสารหาย เพราะผ่านไปอีก 10 ปี ก็ยังมีอยู่ในระบบ พูดถึงในด้านกำไรก็สูงมากเลยทีเดียว

ในอนาคตยังจะมี Digital Post ID จากไปรษณีย์ไทย ส่งของแบบไม่ต้องจ่าหน้าซอง แต่ใช้เป็นสลาก QR Code แปะแทนที่อยู่ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนที่อยู่ได้ง่ายขึ้น(กรณีย้ายบ้านชั่วคราวและต้องการให้ของไปส่งที่อยู่ใหม่) และเพื่อป้องกันคนอื่นรู้ที่อยู่อาศัย

กลยุทธ์ที่ 3: DNA ของไปรษณีย์ไทย

ยกตัวอย่าง DNA ของ ไปรษณีย์ไทยคือ Companionship: ที่เป็นมิตรกับทุกบ้าน

ธุรกิจยุคนี้ รู้จักลูกค้าแค่ อายุ เพศ ไม่จำเป็นเท่า Lifestyle หลายบริษัทชอบแจก Sample ทั้งที่รู้ว่าไม่ใช่ทุกคนจะอยากใช้ และถ้าธุรกิจเราไปอยู่ในที่ ๆ มีคนที่ ‘น่าจะ’ อยากใช้ คงจะสร้างยอดขายได้มากกว่า

ตอนนี้ไปรษณีย์ไทยกำลังสร้าง Business Model ใหม่ที่คล้ายกับ Ads mail หลังจากเก็บข้อมูล Lifestyle ลูกค้า อย่างเช่น บ้านนี้รักหมารักแมว บ้านนี้มีคนสูงวัยที่รักสุขภาพและชอบออกกำลังกาย

Lifestyle พวกนี้แม่นเหมือนกับการ Retarget ของ Ads หากธุรกิจอื่นต้องการขายสินค้า แค่เพียงบอกงบที่มี ไปรษณีย์ไทยสามารถส่งโฆษณาไปหาได้ถูกบ้าน หรือ จะเป็นการเก็บข้อมูลในพื้นที่นั้นๆก็ย่อมได้

อนาคตอาจมี Subscription Model จากไปรษณีย์ไทยให้เราได้เห็นกัน เพราะเมื่อส่งโฆษณาไปหาลูกค้าที่ตรงกลุ่มอัตราการซื้อก็เพิ่มขึ้นแน่นอน นี่คือกลยุทธ์แก้เกมที่ไปรษณีย์ไทยกำลังต่อเติมอยู่

สุดท้ายนี้ Business Model นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากผู้บริหารไม่เปลี่ยนมุมมอง เพราะถ้าไปรษณีย์ไทยไม่ปรับตัว และส่งจดหมายอย่างเดียว บริษัทคงไปไม่ถึงกำไร

สนใจปรึกษาเรื่องการตลาดออนไลน์กับทีมผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อทีมงาน ForeToday ได้ตาม contact ทางด้านล่างได้เลย!
Line@ : bit.ly/ForeToday 
FB Chat : http://m.me/foretoday 
“A better tomorrow starts today”