เชื่อว่าหลายๆคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้คงจะมีความต้องการเปลี่ยนชื่อโดเมนของเว็ปไซต์ แต่มีปัญหากลัว Ranking ตกกันใช่มั้ยคะ วันนี้ Foretoday มีวิธีการ Redirect Website ที่ยังทำให้เว็ปของเราติดอันดับอยู่มาฝากกันค่ะ 

การ Redirect ประเภทต่างๆ

301

302

307

308

301 Redirect 

การใช้ 301 Redirect ในความหมายของ Google นั้นคือ การย้าย URL ไปหา URL ใหม่ อย่างถาวร โดย Google นั้นจะลบ URL นั้นจากการ Index ออก 

การใช้ 301 Redirect จะใช้ต่อเมื่อเราต้องการให้ User ทุกคนที่เข้ามาใน User เก่า ไม่ว่าจะจากช่องทางไหน และ Google ให้ทราบถึง URL ใหม่ที่เราต้องการเท่านั้น

ในวงการ SEO นั้น การใช้ 301 Redirect เป็นการใช้ที่นิยมมากๆ และใช้กันทั่วหลาย เนื่องจากการใช้ 301 Redirect นั้นจะย้ายค่าคะแนน SEO ทุกอย่างไปหา URL ใหม่ และย้าย Backlink Authority จากหนัานั้นๆไปหาหน้าใหม่ด้วยเช่นเดียวกัน

302 Redirect 

302 Redirect นั้นเป็นการย้าย URL จากหน้าเก่า ไปหา URL หน้าใหม่ เหมือนกับ 301 Redirect แต่การใช้ 302 Redirect นั้นจะแจ้ง Search Engine ให้ทราบว่า “เป็นการย้าย URL แบบชั่วคราวเท่านั้น” และจะกลับมาใช้หน้าเก่าอีกครั้ง

ในกรณีการใช้ 302 Redirect นั้นต่อเมื่อเราต้องการจะย้ายหน้า ชั่วคราวเท่านั้น ส่วนมากในการใช้ 302 Redirect นั้นจะใช้ต่อเมื่อเราต้องการจะ A/B Test URL เนื่องจากการทดสอบแบบนี้นั้นจะทำให้เราสามารถ เปลี่ยนหน้าหลักของเรา เพื่อทดสอบหน้าใหม่ที่เราคิดว่าจะสามารถเพิ่ม Conversion ได้ หรือในอีกกรณีนึงนั้นเป็นการเปลี่ยนเว็บไซต์ทั้งหมด เพื่อทดสอบการใช้งานของ User นั้นหน้านั้นๆได้

มีบางแหล่งข้อมูลก็แจ้งว่า ค่าคะแนน SEO จะทำการย้ายมาด้วย เมื่อใช้ 302 Redirect แต่ข้อมูลอาจจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์

การทำ Redirect 302 นั้นหน้าเดิมจะยังคง Index อยู่ และจะอยู่อันดับที่เราอยุ่ ณ ปัจจุบัน ทั้งนี้การใช้ 302 Redirect นั้นต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะการใช้ 301 และ 302 Redirect นั้นอาจจะเกิดการสับสนได้

307 Redirect คืออะไร?

307 Redirect ใช้เหมือนกับ 302 แต่เป็นการใช้ชั่วคราวเท่านั้น

308 Redirect คืออะไร?

308 Redirect นั้นเหมือนกับ 301 Redirect ในทุกกรณี และสามารถใช้ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะ 301 หรือ 308

การเตรียมตัวเมื่อต้องการทำการ Redirect 

1. ก่อนอื่นต้องแจ้งผู้ดูแล Hosting ของเว็บไซต์ของเราให้ทราบว่าเราต้องการทำ Redirect หรือทำการเข้าสู่ระบบ web hosting control panel ที่เราใช้งานอยู่

2. ผู้ดูแลระบบจะทำการตั้งค่าการ Redirect โดย
    2.1 กำหนด URL ของเว็บไซต์เดิมที่ต้องการทำ Redirect
    2.2 กำหนดรูปแบบของการ Redirect website ว่าอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใด เช่น เปลี่ยนหน้าเว็บไซต์แบบถาวร (301-Permanent (เพอร์มาเน้น)), แบบชั่วคราว (302-Temporary (เทมโพรารี่)), เปลี่ยนแบบถาวรในลักษณะของการแทนที่หน้าเว็บไซต์เดิมไปเลย (303-Replace (รีเพลส)) สำหรับการทำ Redirect แบบ 301 จะทำให้ค่า SEO (เอสอีโอ) ของเว็บไซต์เดิมตามไปยังเว็บไซต์ใหม่ด้วย และแบบ 302 ค่า SEO จะยังคงอยู่ที่เว็บไซต์เดิม
    2.3 กำหนด URL ของเว็บไซต์ใหม่ที่ต้องการทำ Redirect
3. หลังจากที่ทำ Redirect ไปแล้ว เมื่อมีการเรียกใช้งานเว็บไซต์เดิมระบบจะทำการแสดงผลหน้าเว็บไซต์ใหม่ให้อัตโนมัติ

ขั้นตอนการตั้งค่า Redirect Websiteอย่างง่ายด้วยตัวเอง

1. ก่อนอื่นต้องแจ้งผู้ดูแล Hosting ของเว็บไซต์ของเราให้ทราบว่าเราต้องการทำ Redirect หรือทำการเข้าสู่ระบบ web hosting control panel ที่เราใช้งานอยู่

2. ผู้ดูแลระบบจะทำการตั้งค่าการ Redirect โดย
    2.1 กำหนด URL ของเว็บไซต์เดิมที่ต้องการทำ Redirect
    2.2 กำหนดรูปแบบของการ Redirect website ว่าอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใด เช่น เปลี่ยนหน้าเว็บไซต์แบบถาวร (301-Permanent (เพอร์มาเน้น)), แบบชั่วคราว (302-Temporary (เทมโพรารี่)), เปลี่ยนแบบถาวรในลักษณะของการแทนที่หน้าเว็บไซต์เดิมไปเลย (303-Replace (รีเพลส)) สำหรับการทำ Redirect แบบ 301 จะทำให้ค่า SEO (เอสอีโอ) ของเว็บไซต์เดิมตามไปยังเว็บไซต์ใหม่ด้วย และแบบ 302 ค่า SEO จะยังคงอยู่ที่เว็บไซต์เดิม
    2.3 กำหนด URL ของเว็บไซต์ใหม่ที่ต้องการทำ Redirect

ตัวอย่างการทำ Redirect อย่างง่าย

ปกติแล้วใน Web Server จะมีไฟล์ที่เป็นไฟล์แรกสำหรับการแสดงเพจหน้าแรกซึ่งจะวางอยูในตำแหน่ง Document Root แต่ในบางครั้งเมื่อผู้ใช้มีการเรียกเข้ามาที่ URL หรือ ไฟล์ดังกล่าวบน Web Server แล้ว อาจจะมีความจำเป็นที่ URL ดังกล่าว ยังไม่พร้อมที่จะให้บริการ เราก็สามารถจะเขียน Code ในไฟล์ดังกล่าว ให้มีการเปลี่ยนเส้นทางไปเรียกไฟล์อื่น ซึ่งอาจจะอยู่ในอีกไดเร็คทอรี่หรืออีกโฟลเดอร์บน Web Server ตัวเดียวกันหรืออาจจะเปลี่ยนเส้นทางไปเป็น Web Server อีกตัวก็ได้

ตัวอย่างการทำ redirect แบบง่าย

การ Redirect แบบง่ายสามารถทำได้ด้วยการใช้ meta tag ของ HTML Code ดังนี้

<html>
<head>
<META HTTP-EQUIV=”Refresh” CONTENT=”0;URL=http://www.yourdomainname.com”>
</head>
</html>

ซึ่งถ้าเอา Source Code ข้างบนนี้ไปเป็นไฟล์หลักในตำแหน่ง Document Root บน Web Server ก็จะทำให้เว็บเพจถูก Redirect ไปยัง http://www.yourdomainname.com โดยทันที เพราะค่าของ CONTENT=0 แต่ถ้าต้องการหน่วงเวลาให้ผู้ใช้ได้อ่านข้อความบางอย่าง ก่อนการ Redirect ก็สามารถทำได้ด้วยการกำหนดค่า CONTENT ไม่เป็น 0 ดังนี้

<html>
<head>
<META HTTP-EQUIV=”Refresh” CONTENT=”5;URL=http://www.yourdomainname.com”>
</head>
<body>
<center>
คุณกำลังเข้าสู่เว็บเพจใหม่
<a href=”http://www.yourdomainname.com”>www.yourdomainname.com</a>
</center>
</body>
</html>

แต่วิธีการ Redirect แบบข้างบนนี้จะทำให้ชื่อ URL ตรงช่อง Address ของ Browser ถูกเปลี่ยนไปเป็นชื่อใหม่ คือ http://www.yourdomainname.com ซึ่งหากไม่ต้องการให้ URL เปลี่ยนเป็นอันใหม่จะต้องใช้คำสั่ง frame (อาจจะเรียกว่า frame redirect หรือ frame to URL)

<html>
<head>
<title>redirect page</title>
</head>
<frameset cols=”*”>
<frame src=”http://www.yourdomain/yourname”>
</frameset>
</html>


ตัวอย่างการทำ URL Redirect สำหรับ Web hosting

<html>
<head>
<script langquage=’javascript’>
var url=document.location; //ตรวจสอบว่าผู้ใช้ต้องการเรียกเข้าสู่โดเมนไหน
if ((url==”http://www.firstdomainname.com”) || (url==”http://www.firstdomainname.com/”))
{
window.location=”http://www.yourdomainname.com/firstdomainname”;
}
else if ((url==”http://www.seconddomainname.com”) || (url==”http://www.seconddomainname.com/”))
{
window.location=”http://www.yourdomainname.com/seconddomainname”;
}
else
{
window.location=”http://www.yourdomainname.com/underconstruction.html”;
}
</script>
</head>
</html>

หากต้องการไม่ให้ URL ในช่อง Address ของ Browser เปลี่ยนไปเป็นตำแหน่งที่แท้จริง ทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง frame เข้ามาช่วยดังนี้

<html>
<script langquage=’javascript’>
url=document.location;
if ((url==”http://www.firstdomainname.com”) || (url==”http://www.firstdomainname.com/”))
{
document.write(“<head><title>www.firstdomainname.com</title></head>”);
document.write(‘<frameset cols=”*”>’);
document.write(‘<frame src=”http://www.yourdomainname.com/firstdomainname”>’);
document.write(“</frameset>”);
}
else if (url==”http://www.seconddomainname.com”) || (url==”http://www.seconddomainname.com/”))
{
document.write(“<head><title>www.seconddomainname.com</title></head>”);
document.write(‘<frameset cols=”*”>’);
document.write(‘<frame src=”http://www.yourdomainname.com/seconddomainname”>’);
document.write(“</frameset>”);
}
else
{
document.write(‘<frameset cols=”*”>’);
document.write(‘<frame src=”http://www.yourdomainname.com/underconstruction.html”>’);
document.write(“</frameset>”);
}
</script>
</html>


การทำ URL Redirect โดยใช้ PHP

หากมีความจำเป็นที่จะต้องทำการ Redirect โดยการใข้ภาษา PHP ก็สามารถทำได้ โดยใช้รูปแบบโครงสร้างของภาษาเป็นแบบเดียวกันกับที่กล่าวมาเพียงแต่เปลี่ยนคำสั่งดังนี้
ซึ่งเป็นแบบที่ address ไม่เปลี่ยนแปลง (frame to URL)

<?
switch ($SERVER_NAME){
case “www.firstdomainname.com”;{
echo ‘<frameset cols=”*”>’;
echo ‘<frame src=”http://www.yourdomainname.com/firstdomainname”>’;
echo “</frameset>”;
break;}
case “www.seconddomainname.com”;{
echo ‘<frameset cols=”*”>’;
echo ‘<frame src=”/www.yourdomainname.com/seconddomainname”>’;
echo “</frameset>”;
break;}
default;{
echo ‘<frameset cols=”*”>’;
echo ‘<frame src=”http://www.yourdomainname.com/underconstruction.html”>’;
echo “</frameset>”;}
}?>

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaitumweb.com/other/2-uncategorised/36-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3-url-redirect?tmpl=component