การทำงานติดๆกันเป็นเวลานาน 7-8 ชั่วโมงทุกวัน มักจะส่งกับความอ่อนล้าต่อสมองของคนทุกคน รวมถึงความรวดเร็วของสื่อต่างๆในปัจจุบันที่พร้อมจะดึงจุดโฟกัสของเราให้ออกจากงานได้ทุกเมื่อ ส่งผลให้การทำงานของอาจสะดุดและมีประสิทธิภาพที่ลดลง

วันนี้เราจะมาพูดถึงเทคนิคที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดอาการเหนื่อยล้าและเพิ่มการโฟกัสเวลาทำงานมากขึ้น ที่มีชื่อว่า Pomodoro Technique

Pomodoro คืออะไร

Pomodoro Technique  ( Pomodoro ในภาษาอิตาลีแปลว่ามะเขือเทศ ) เป็นแนวคิดจากคุณFrancesco Cirillo ชาวอิตาลีตอนปลายทศวรรษ1980 มีจุดเริ่มต้นจากการที่สมัยที่เขายังเป็นนักศึกษา เขารู้สึกว่าตัวเขาเองนั้นไม่สามารถจัดการกับเวลาอ่านหนังสือในแต่ละวันได้ และไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่บ้างในแต่ละวัน ในขณะที่เวลาสอบก็ใกล้เข้ามาทุกที เขารู้สึกฟุ้งซ่านง่ายและไม่มีสมาธิ ทำให้เขาตัดสินใจท้าทายตัวเองโดยการมุ่งโฟกัสกับการเรียนอ่านหนังสืออย่างเดียวเป็นเวลา10นาทีโดยที่ไม่หยุดหรือวอกแวกไปทำอย่างอื่น โดยที่เขาใช้นาฬิกาจับเวลารูปมะเขือเทศที่พบในห้องครัวของเขาเป็นตัวจับเวลา (เป็นที่มาของชื่อ Pomodoro Technique)

วิธีการบริหารเวลาด้วยเทคนิค Pomodoro มีจุดแข็งที่ความเรียบง่ายเข้าใจได้ไม่ยากแต่ใช้ได้จริง โดยการทำงานที่เราจะแบ่งเป็นเวลาทำงาน 1 pomodoro 25 นาที และ เวลาพักผ่อนสั้นๆ 5 นาที

วิธีการใช้

  1. วางแผน หรือ list สิ่งที่จะทำ
  2. ตั้งเวลา 25 นาที หรือ เท่ากับ 1 Pomodoro
  3. เริ่มจับเวลา
  4. ทำ task ที่เราแพลนไว้ว่าจะทำ และต้องทิ้งสิ่งรบกวนต่างๆด้วย เช่น โทรศัพท์มือถือ และไม่ควรทำ multitasking
  5. เมื่อครบ 25 นาที หรือ 1 Pomodoro ให้พัก 5 นาที ให้เราพักผ่อนเข้าห้องน้ำ เล่นมือถือ หรือ อื่นๆ
  6. เมื่อครบ 4 ครั้ง หรือ 4 Pomodoro ให้พักเบรคยาว 15-30นาที
  7. ทำวนลูปไปแบบนี้เรื่อยๆจนเสร็จ

ข้อดี

  1. ช่วยให้เราสามารถโฟกัสการทำงานได้ดีมากขึ้น มากกว่าการทำงานแบบหักโหมต่อเนื่องเป็นเวลานานที่อาจทำให้สมองเราอ่อนล้า
  2. ช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับงาน เพราะ Pomodoro ให้ความสำคัญกับการแบ่งเวลาการทำงานทำให้เราสามารถมุ่งสมาธิไปกับงานที่เราจัดสรรเวลาได้ดีกว่าการที่เราไม่วางแผน การแบ่งเวลาที่ชัดเจนจะช่วยทำให้ลดความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับงานอื่นๆ ถ้าเราไม่มีการวางแผนงานและคิดถึงงานอื่นๆมากมายระหว่างที่ทำงานอยู่ สมาธิจะกระจัดกระจายและอาจทำไม่เสร็จสักงาน
  3. มีเวลาพักสมองบ่อยๆ ทำให้ไม่ล้าจากการทำงาน

ข้อเสีย

  1. อาจจะทำให้เกิดการกดดัน จากการกำหนดเวลา ซึ่งอาจจะทำให้เรากังวลอยู่กับเรื่องเวลา จนหลุดโฟกัสการทำงาน
  2. บางงานอาจจะใช้เวลานานกว่า 25 นาที อาจจะไม่เพียงพอต่อการทำงาน
  3. หลังจากเราพัก เราอาจจะลืมว่า เราต้องทำอะไรต่อ ทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการทำงาน
  4. เทคนิคนี้อาจจะไม่เวิคกับงาน ad hoc บ่อยๆ

สรุป

เราสามารถนำเทคนิค Pomodoro นี้ไปลองปรับใช้กับการทำงานได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น จากการที่แบ่งการทำงานออกเป็นช่วงเวลาที่สั้นลง สามารถลดอาการ Burn Out ของสมองลงได้ แต่เทคนิคนี้ก็ใช่ว่าจะเหมาะสมกับทุกๆตำแหน่งสายงาน สิ่งที่สำคัญคือถ้าเราเข้าใจหลักการของเทคนิค Pomodoro เราจะสามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้ได้กับการทำงานต่างๆที่เราอาจต้องเจอในอนาคต

“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat: http://m.me/foretoday