Google ประกาศชัดปี 2024 นี้ จะบล็อกการใช้งาน “Third-Party Cookie” เครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้งาน แล้วนักการตลาดอย่างเราจะเอาไงต่อ ForeToday มีคำตอบ ไปอ่านกันได้เลย

แต่ก่อนไปอ่านรายละเอียด เรามาทำความรู้จักเจ้าคุกกี้ (Cookies) กันก่อนดีกว่า

คุกกี้ (Cookies) คืออะไร สำคัญอย่างไร

คุกกี้ (Cookies) เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก เกี่ยวกับการใช้งานและประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ เช่น การเข้าสู่ระบบอัตโนมัติ การจดจำรายการที่เคยเยี่ยมชม การบันทึกข้อมูลการกรอกแบบฟอร์ม จะถูกบันทึกไว้บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานเมื่อพวกเขาเข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งถูกใช้เพื่อการติดตามและตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้งานในการโฆษณา การตลาด และการวิเคราะห์ข้อมูล

โดยเจ้าคุกกี้ (Cookies) ที่สำคัญกับนักการตลาดมาก หลัก ๆ จะมีด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท

Google จะเริ่มบล็อก Third-Party Cookie ในไตรมาส 3 ปี 2024

Google ประกาศว่าจะเริ่มบล็อกการใช้งาน “Third-Party Cookie” ด้วยการบล็อกคุกกี้สำหรับผู้ใช้ Google Chrome 1% หรือประมาณ 30 ล้านคน และจะขยายไปสู่การยุติการใช้งานที่ครอบคลุมมากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2024

คำถามคือ เมื่อนำ “Third-Party Cookie” ออกไปแล้วทาง google จะทำอย่างไรต่อหล่ะ ในเมื่อการโฆษณาที่เคยตรงกลุ่มเป้าหมาย กลายเป็นไม่สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ แล้วใครจะอยากยิง Ads ต่อ

“Privacy Sandbox” เครื่องมือใหม่จากทาง google 

แนวทางของ google หลังจากบล็อกการใช้ Third-Party Cookie คือการหันมาใช้ Privacy Sandbox ในการตามรอยผู้ใช้งานโดยการเก็บข้อมูลแบบกว้าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจโฆษณายังอยู่ได้ เช่น การเก็บหัวข้อความสนใจของผู้ใช้งาน เช่น อุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า รถยนต์ การท่องเที่ยว แบบกว้าง ๆ แทน เมื่อเราเข้าเว็บไซต์ที่ฝังโฆษณา ระบบโฆษณาจะขอหัวข้อความสนใจจากเบราว์เซอร์เพื่อเลือกแสดงโฆษณาในหมวดที่เราน่าจะสนใจ แทนการยิงโฆษณาแบบหว่าน ๆ ที่อาจไม่เข้าเป้าเลย 

แนะนำวิธีเพิ่มเติมสำหรับการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน

นอกจากการใช้งานเครื่องมือใหม่ของ google แล้ว นักการตลาดอย่างเรา ๆ ยังสามารถเก็บข้อมูลผู้ใช้งานได้โดยไม่ละเมิดกฎหมาย PDPA อีกด้วย

1. ขอข้อมูลลูกค้าโดยตรง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ระบบ CRM เช่น การขอ E-mail หรือเบอร์โทร เพื่อพูดคุยและทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า โดยอาจนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเสนอโปรโมชันพิเศษให้กับลูกค้าที่แตกต่างกันได้ 

2. การลงทุนในเครื่องมือบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) เพื่อช่วยจัดระเบียบ วิเคราะห์ และใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแพลตฟอร์ม CRM ที่กำลังเป็นที่นิยม เช่น Salefore, Monday และอื่น ๆ 

3. การทำ Contextual Marketing หรือการตลาดแบบบริบท การใช้บริบทหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ไลฟ์สไตล์ ความชอบและปัญหาต่าง ๆ มาทำการตลาดให้ตรงกับความสนใจในช่วงนั้น ก็จะเป็นการทำการตลาดที่ตรงจุด และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าได้

ด้วยแนวทางของ Google และความกังวลของผู้คนในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนตัวมากยิ่งขึ้น นักการตลาดอย่างเรา ๆ ก็ควรเตรียมความพร้อม ปรับตัว และให้ความสำคัญกับข้อมูลของลูกค้า ForeToday หวังว่านักการตลาดทุกคน จะสามารถเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้นะครับ