4 คุณค่าที่แบรนด์ควรมี เพื่อตอบโจทย์ customer insight ในปี 2023!

ปี 2022 กำลังจะผ่านไป ปี 2023 กำลังจะเข้ามาอีกไม่กี่วัน แต่ถึงอย่างไร ในปีที่ผ่านมา มีอะไรหลายๆอย่างก็ได้เปลี่ยนไปและดำเนินอยู่ตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหรือความท้าทายใดๆ เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ โรคระบาด หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีใหม่ต่างๆ ที่กำลังก้าวเข้าสู่ชีวิตเรา สิ่งที่เกิดขึ้นนั่นล้วนมีแต่ความไม่แน่นอน และส่งผลต่อ insight หรือพฤติกรรม ทั้งมุมมอง ความคิด หรือความรู้สึก ของผู้คนอยู่เสมอ

เมื่อ customer insight เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม หรือ สภาะแวดล้อมที่อยู่เหนือการควบคุม แบรนด์ต่างๆ ควรทำความเข้าใจมุมมองและความคิดที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังต้องปรับตัวให้มีความหยืดยุ่นและเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปด้วยเพื่อนำมาปรับสินค้าหรือบริการ รวมทั้งกลยุทธ์การสื่อสารทางตลาดให้สอดคล้องกับ insight ของผู้บริโภค แต่แล้วผู้คนจะเปลี่ยนไปอย่างไรละ? โดยผู้บริโภคต่างๆเริ่มกลับหันมาพิจราณาให้ความสำคัญที่เขาอยากได้รับเพิ่มขึ้น หรือเรียกว่า ‘Value Re-Evaluation’ นั่นเอง

โดยวันนี้เรามีข้อมูลดีๆมาแชร์ให้ฟังจากงาน CTC2022 ใน session ของ ‘คุณสโรจ เลาห์ศิริ’ Head of Marketing Transformation and Marketing Strategy จาก Bluebik Group ที่จะมาผู้อ่านทางบ้านไปเข้าใจพฤติกรรม หรือ insight ของผู้บริโภคในอนาคตอันใกล้กับ 4 คุณค่า ที่เราจะมอบให้กับลูกค้ากัน!

1. Functional Value

Functional Value หรือ ‘คุณค่าที่ได้รับจากสินค้าและบริการ’ จากปัญหาสภาวะเงินเฟ้อที่ผู้คนบนโลกต่างต้องประสบเจอนั่น ทำให้คุณค่าของเงินลดลง และส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเวลาจับจ่ายสินค้าและบริการ โดยผู้บริโภคมีความคำนึงถึงความจำเป็นในการซื้อของ และคุณค่าที่จะได้รับมากขึ้น 

  • Essential for living : ผู้บริโภคหันมาพิจราณาถึงความจำเป็นเวลาที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และมองหาคุณค่าของสินค้าและบริการที่จะได้รับมากขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของสินค้านั่นๆ ความสะดวกสบาย ช่วยประหยัดเวลา หรือมีความหลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกครบจบในที่เดียว และสุดท้ายแล้วก็มองด้วยว่าสินค้าและบริการนั่นคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือเปล่า
  • Unlock ability to pay : เมื่อเงินที่สามารถซื้อสินค้าได้น้อยลง ผู้บริโภคจึงคิดและพิจราณาถึงความจำเป็นและเหมาะสมในการซื้อแต่ละครั้ง ทำให้แบรนด์พยายามปรับตัว เพื่อให้ผู้บริโภคยังคงจับจ่ายได้ เช่น เพิ่มทางเลือกในการชำระเงินอย่าง ‘ช็อปก่อน จ่ายทีหลัง’ หรือการออกแบบขนาดสินค้าเล็กลง แบ่งขาย เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลงได้

2. Emotional Value

Emotional Value หรือ ‘คุณค่าที่ได้รับทางจิตใจ’ ช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ผู้คนเจอกับเหตุการ์ต่างๆ ที่สร้างความหดหู่และความเครียดทางจิตใจมากขึ้น ดังนั่นแล้วเวลาพวกเขาซื้อสินค้าและบริการ ไม่เพียงแต่มองความจำเป็น อีกทั้งยังมองถึงว่าสิ่งนั่นช่วยเยียวยาจิตใจ หรือช่วยกระดับจิตใจอารมณ์ได้หรือไม่

  • Mind healing : หลังจากที่ผู้คนได้เจอแต่สถานการณ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้ธุรกิจแบบ Meditation และ self healing เช่น การทำสปา เพื่อผ่อนคลาย การท่องเที่ยวเพื่อเยียวยาจิตใจ หรือแม้กระทั่งธุรกิจ Sleep Economy นี้มีแนวโน้มที่กำลังจะมาแรง เพราะเป็นอีกหนึ่งทางที่เยียวยาจิตใจผู้บริโภคได้
  • Positive Energy : หลังจากผู้คนใช้ชีวิตและทำงานอยู่แต่ที่บ้าน หน้าคอมพิวเตอร์ มาเป็นเวลาหลายปี เป็นผลทำให้พวกเขาโหยหาการพบปะ เข้าสังคม มากขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ธุรกิจแบบ Social Vibe & Funtivity มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น แต่สำหรับวงการโฆษณาหรือการทำการตลาดนั้นควรปรับตัวในการส่ง Positive Value และเติมกำลังใจให้กันผู้คนมากขึ้น

3.  Privacy Value 

Privacy Value หรือ ‘คุณค่าด้านความเป็นส่วนตัว’ เชื่อว่าหลังจากที่เกิดเหตุการณ์แก็ง Call center โทรมาป่วน หลายๆคนจึงให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น ในฐานะแบรนด์ หรือแม้กระทั่งนักการตลาด เราควรโฟกัส Privacy ให้ 2 ด้านด้วยกัน

  • Data Sensitivity : จากเหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น แบรนด์ควรสอบถามข้อมูลเท่าที่จำเป็น หรือถ้าหากเกิดข้อมูลรั่วไหลออกไป แบรนด์จะมีแนวทางในการแสดงความรับผิดชอบอย่างไร และควรย้อนมองดูว่าเราให้ความสำคัญกับ Data ของผู้บริโภคเพียงพอหรือยัง ดังนั่นก่อนจะขอข้อมูลควรคำนึงถึง 4 ข้อนี้ด้วยกันเสียก่อน
  1. จะขอข้อมูลอะไรบ้าง
  2. จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ทำอะไร มีจุดประสงค์เพื่ออะไร
  3. ใครเป็นผู้เก็บ Data เหล่านั้น
  4. ผู้บริโภคจะได้อะไรตอบแทนจากการให้ข้อมูล
  • Multi-Virtual Space : เชื่อว่าผู้อ่านหลายๆคนเวลาเล่น platform ต่างๆ ต้องมีแอคเค้าท์มากกว่า 1 อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นแอคเค้าท์หลุม แอคเค้าห์สำหรับซื้อของ หรือแม้กระทั่งแอคเค้าห์สำหรับทำงาน สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนในปัจจุบันตระหนักถึงความ privacy มากขึ้น เพราะฉะนั้นแบรนด์ต้องทำความเข้าใจว่าคนมีมากกว่า 1 ตัวตนบน social media

4. Morality Value

Morality Value หรือ ‘คุณค่าด้านจริยธรรม’ เห็นได้ชัดหลายว่าผู้คนสมัยนี้ใส่ใจในเรื่องของความเท่าเทียมกันในสังคมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นผลทำให้อะไรๆในสังคมน่าอยู่ อีกทั้งยังมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผู้คนกลับมาใส่ใจมากขึ้น 

  • Global Citizen : ในยุคปัจจุบันที่ทำให้ผู้คนต่างก็สามารถติดตามข่าวสาร หรือความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วขึ้น ทำให้ผู้คนไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเพียงประชากรของประเทศนั่นๆ แต่เป็นประชากรของโลกใบนี้ พร้อมทั้งให้ความสนใจในเรื่อง Best practice เช่น การเอา Case study ของต่างประเทศมาปรับใช้ ดังนั่นแบรนด์ต่างๆควรคำนึงถึง Morality ของโลกด้วย โดยสามารถอ้างอิงจาก W7 : The Wicked 7 หรือ 7 สิ่งที่เป็นปัญหาหลักของโลก รวมถึงการทำ CSR ก็สามารถช่วยแก้ปัญหาอย่างยั่งยื่นอีกทางนึง
  • Seek for action : แบรนด์ควรเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะเปลี่ยนแปลงทำให้สังคมดีขึ้น อย่างการทำแคมเปญ หรือโฆษณา ที่บ่งบอกให้ผู้บริโภคเห็นว่าแบรนด์ลงมือทำจริง ไม่ใช่เพียงสื่อสารเพราะภาพลักษณ์ ไม่เช่นนั่นจะเป็นการ “woke washing” หรือเกาะกระแส แทรนด์ที่กำลังเป็นประเด็น เช่น แคมเปญ Pride Month ที่สังคมมองว่าไม่อยากให้แบรนด์ทำเพียงแค่ภาพลักษณ์ แต่อยากให้ออกมาสนับสนุนด้วยใจจริง

หวังว่านักการทำตลาด นักโฆษณา หรือแม้กระทั่งแบรนด์ต่างๆ หลังอ่านจบกันแล้ว จะได้ข้อมูลหรือความรู้ดีๆ จาก session ของคุณ ‘สโรจ เลาห์ศิริ’ ไปปรับใช้กับ marketing plan ในปีหน้าอย่างเหมาะสม เพื่อให้แบรนด์สามารถมอบคุณค่าให้กับลูกค้าได้อย่างตรงจุด

ถ้าหากผู้อ่านทางบ้านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับบทความนี้หรือเกี่ยวกับ Digital Marketing Tools ก็สามารถทักมาถามทาง Foretoday ได้ทุกช่องทางเลย 

ใน EP หน้า เราจะเขียนบทความเรื่องอะไร รอติดตามได้เลย! 

Line@: bit.ly/ForeToday

FB Chat: http://m.me/foretoday

“A better tomorrow starts today”