4 กลยุทธ์ แบรนด์โตช้า ทำโปรโมชั่นก็ไม่ช่วยอะไร ทำไงดี ?

ปัญหาที่ทุกแบรนด์ต้องเจอ “เติบโตช้า”  “คงที่ “ หรือแย่ที่สุด  “ติดลบ”

ในทุกธุรกิจไม่มีทางที่แบรนด์ของคุณจะรายได้ดีแต่ติดตลาดตลอดไป เหมือนกับคำว่า “Nothing last forever” ดังนั้นคุณก็ต้องพัฒนาแบรนด์อยู่เสมอ จะหนีออกจากปัญหาเรานี้ยังไง แต่อย่าเพิ่งถอดใจ งัดกลยุทธ์ 4 วิธี เพื่อสู้ต่อไป

“Community” เป็นสิ่งสำคัญในยุคนี้

เปลี่ยนมุมมองผู้บริโภค การตลาดยุคนี้เราจะมองทุกอย่าง Mass ตามตำราไม่ได้แล้วเพราะว่า ยุค Digital ผู้บริโภคมีความแตกต่างและหลากหลาย ลองหาโอกาศใหม่ หาลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายใหม่ และที่สำคัญสำหรับยุคนี้ คือการสร้าง Community โดยที่เราสร้างเองหรือให้ลูกค้าสร้างขึ้นก็ได้หากแบรนด์ขยับมาในขั้นนี้ได้ สิ่งที่ตามมาคือ แบรนด์จะได้ ฐานแฟนคลับ หรือสาวกที่เหนียวแน่น แฟนคลับบ้างคนส่งผลต่อผู้บริโภคมากกว่าตัวแบรนด์เอง   เสียด้วยซ้ำ ในยุคก่อนเราอาจจะเป็นผู้กำหนดทิศทางลูกค้า แต่ในยุค Digital เราต้องเป็นส่วนหนึ่งกับลูกค้าให้เขารู้ว่าเราเป็นเพื่อน เพื่อทราบถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องใช้ (Need) และ ต้องการ(Want)

ปรับ “Media”  ที่ใช้อยู่เสมอ

เห็นโปรโมชั่นแต่ไม่เห็นแบรนด์ ก่อนที่จะโทษที่โปรโมชั่นเราต้องมานั่งคิดก่อนว่า เราทำโปรโมชั่นไม่ดีหรือว่าลูกค้าไม่เห็นกันแน่ สิ่งที่ลูกค้าไม่ใช่ไม่เห็นโปรโมชั่น แต่หมายถึงลูกค้าไม่เห็นแบรนด์ของเรา นั่นอาจจะเป็นมาจากสาเหตุที่ สื่อที่เราใช้โฆษณาอาจจะโชว์ โปรโมชั่นมากเกินไปจนลูกค้าไม่สามารถจดจำแบรนด์ของเราได้ ดังนั้น ทุกสื่อที่ใช้โฆษณาผ่าน Media ต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องโชว์ให้เห็นถึงโปรโมชั่นและแบรนด์ชัดเจนเท่า ๆ กัน

ไม่ว่าจะตลาดจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร “Quality First”

นักรบไม่ว่าจะล้มกี่ครั้งห้ามสูญเสียจิตวิญญาณ คุณภาพก็คือ จิตวิญญาณของแบรนด์ ดังนั้นไม่ว่าตลาดจะซบเซา หรือทรงตัว หรือเจอกับแข่งขันที่ค่อนข้างสูง แต่หัวใจหลักของแบรนด์ที่ยังคงต้องอยู่คือ คุณภาพสินค้า เปรียบเสมือนรากของต้นไม้ที่ว่า ใบจะร่วงกิ่งจะหัก ไม่สวยงามแต่รากของต้นยังคงต้องมั่นคงเพื่อยืนหยัดต่อไป เหมือน กับแบรนด์ “นันยาง” ที่ไม่ว่าตลาดจะไม่โต แต่สิ่งสำคัญที่สุดของแบรนด์คือมาตรฐานความทนทานของรองเท้า เพื่อตอกย้ำการเป็นตำนาน รองเท้าผ้าใบนักเรียน

สร้าง Brand talk ด้วย Co–creation

จับมือกับสิ่งที่เราขาดเพื่อเติมเต็มช่องว่าง  การจับมือกันระหว่างสองแบรนด์ในสมัยนี้เป็นที่นิยมมาก โดยเฉพาะ สินค้าประเภท Fasion เครื่องแต่งกาย Co- creation คือการที่สองแบรนด์หรือเจ้าของธุรกิจระดมไอเดียจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมที่มีคุณค่าร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ปี 2560 เปิดตัวคอลเลคชั่น “Nanyang x Hajime Sorayama x EchoOne ArtSpace” ได้รับเกียรติจากศิลปินระดับโลกชาวญี่ปุ่น “ฮาจิมะ โซรายามา” (Hajime Sorayama) อายุ 70 ปี ร่วมผลิตรองเท้ารุ่นพิเศษ โดยมี Sexy Robot ซึ่งเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของท่านบนรองเท้านันยาง ซึ่งปัจจุบันภาพจริง Original painted นี้ มูลค่า มากกว่า 1 ล้านบาท ผลิตเพียง 150 คู่ ราคาคู่ละ 2,900 บาท

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”

“A better tomorrow starts today”