5 นาทีหายสับสน! สรุป 4 เงื่อนไขคำทับศัพท์ที่ใช้ผิดบ่อยสุด ๆ แล้วคุณล่ะสะกดแบบไหน ถูกใจหรือถูกต้อง?

การเขียนหรือสะกดคำทับศัพท์ อาจเป็นเรื่องที่น่าสับสนของใครหลาย ๆ คน เพราะเมื่อยึดตามหลักเกณฑ์ราชบัณฑิตยสถาน ก็มีหลายอย่างที่แตกต่างจากความคุ้นชินของเราไปไกลโข ถึงคนไทยจะแปลว่าอิสระ แต่การเขียนและสะกดให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทยย่อมเป็นเรื่องที่ดี ไม่ว่าจะสำหรับคนทำคอนเทนต์ หรือสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์ รวมถึงการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันก็จะช่วยสร้างความคุ้นชินให้เราใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง

ไปดูกันเลยว่ามีเงื่อนไขไหนบ้าง ที่เรามักจะสับสนและใช้ผิดกันอยู่บ่อย ๆ

1. การเขียนคําทับศัพท์ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์

ยกเว้นในกรณีที่คํานั้นมีเสียงซ้ำกับคําไทย เช่น โค้ก(coke) โคม่า(coma)

2. การใช้ไม้ไต่คู้

• ใช้ในกรณีเพื่อให้เห็นความแตกต่างจากคําไทย เช่น ล็อก(log)

• ใช้ในกรณีเพื่อช่วยให้แยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น โอค็อตสก์(Okhotsk)

3. พยัญชนะซ้อน (double letter) 

• ศัพท์ทั่วไปให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น ฟุตบอล(football)

• ศัพท์วิชาการหรือชื่อเฉพาะให้เก็บไว้ทั้ง 2 ตัว แล้วใส่การันต์ไว้ที่ตัวท้าย เช่น เซลล์(cell)

4. หลักเกณฑ์เทียบพยัญชนะที่คนมักสับสน

• ตัว k – พยัญชนะต้น ใช้ “ค” เช่น แคนซัส(kansas), ตัวสะกด/การันต์ ใช้ “ก” เช่น ลิงก์(link)

• ตัว p – พยัญชนะต้น ใช้ “พ” เช่น พาราโบลา(parabola), ตัวสะกด/การันต์ ใช้ “ป” เช่น แอปพลิเคชัน(application)

• ตัว s(+สระ) – พยัญชนะต้น ใช้ “ซ” เช่น ซิลิคอน(silicon), ตัวสะกด/การันต์ ใช้ “ส” เช่น ลากอส(Lagos)

• ตัว s(+พยัญชนะ) –  พยัญชนะต้น ใช้ “ส” เช่น สวีเดน(sweden)

• ตัว t – พยัญชนะต้น ใช้ “ท” เช่น แทสเมเนีย(tasmania), ตัวสะกด/การันต์ ใช้ “ต” เช่น คอมเมนต์(comment)

บทส่งท้าย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเงื่อนไขของหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษฉบับราชบัณฑิตยสถานที่คัดมาเพียงส่วนหนึ่ง เฉพาะจุดที่คนมักจะสับสนและใช้ผิดกันบ่อยสุด ๆ คราวนี้ก็หายสับสนกันไปหลายส่วน อย่าลืมนำไปปรับใช้เพื่อการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องกันนะ

แต่ถ้ามีคำศัพท์ที่นอกเหนือจากเงื่อนไขดังกล่าว และอยากจะเช็กให้แน่ใจ สามารถตรวจสอบอีกช่องทางหนึ่งได้ที่ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้เลย! คลิก


“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat: http://m.me/foretoday

SIGN UP TO FORETODAY'S NEWSLETTER

For exclusive digital news, tips & tricks, opportunities and announcement
- plus a few surprise!

ForeToday ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า