ทุกวันนี้การท่องไปบนโลกออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของผู้คน การสื่อสาร การตลาด หรือการนำเสนอที่เคยทำก็ต่างต้องปรับเปลี่ยนตามมา วันนี้ทางเราจึงมานำเสนอแนวทางการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ในแพลตฟอร์มนิยม 5 แพลตฟอร์มอย่าง Facebook, Instagram, Youtube, Tiktok, และ Line เป็นอย่างไร ไปดู!

แพลตฟอร์มแต่ละตัวใช้งานยังไงบ้าง?

1. Facebook

แม้ในปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่ค่อยได้ใช้งานบนแพลตฟอร์มของ Facebook แล้ว แต่ Facebook ก็ยังคงเป็นสื่อออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยผู้ใช้งานส่วนมากจะมีอายุอยู่ในช่วง 25 – 34 ปี และผู้สูงอายุ ซึ่ง Facebook เป็นอีกหนึ่ง Social Media ที่ผู้คนสามารถใช้พูดคุยติอต่อสื่อสาร ติดตามข่าวสาร อัพเดทกิจกรรม ทำให้เราสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของเพื่อนหรือครอบครัวผ่านหน้าฟีดข่าวได้ และ Facebook ยังมีฟีเจอร์สำหรับให้แบรนด์ หรือร้านค้าต่าง ๆสามารถทำการลงโฆษณาเพื่อโปรโมทสินค้าหรือทำการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ได้ เรียกว่า Facebook Ads โดยที่  Facebook Ads จะช่วยเจาะกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงผ่าน Custom Audience เพื่อทำให้แบรนด์หรือร้านค้าสามารถทำการการยิงโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น 

รูปแบบโฆษณาที่เหมาะสำหรับ Facebook นั้น คือเน้นการมีส่วนร่วมกับโพสต์ มีการให้กดไลก์ คอมเมนต์ แสดงความคิดเห็น แชร์ เพิ่มการรับรู้สินค้า บริการ ให้กับแบรนด์ผ่านวิดีโอ เน้นยิงโฆษณาให้มีคนเห็นเป็นจำนวนมาก หรือมีการจัดโปรโมชั่น เป็นต้น โดยลักษณะของคอนเทนต์ที่ควรนำมาใช้ ได้แก่ ข้อความ รูปภาพ ลิงก์ วิดีโอ และ Live 

2. Instagram

การทำตลาดออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Instagram ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัวมากนัก เพราะปัจจุบัน หลายๆ แบรนด์หันมาเปิดร้านบนไอจีมากขึ้น ด้วยความที่ฐานผู้เล่นไอจีเป็นคนรุ่นใหม่ โดยผู้ใช้หลักอยู่ในช่วงอายุ 18-24 และ 25-34 ปี การเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ และด้วยตัวไอจีนั่นโดดเด่นในเรื่องของ “รูปภาพ” และการทำการตลาดให้ดีได้ แบรนด์ต้องคำนึงถึงการผลิต “คอนเทนต์” เพื่อตอบโจทย์ไลพ์สไตล์และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การที่แบรนด์เข้าใจ insight ของลูกค้าที่ชอบถ่ายรูปลง IG ที่เห็นได้ชัดจะเป็นพวก ร้านอาหาร คาเฟ่ โดยมีการจัดมุมถ่ายภาพ และมีชื่อร้านอยู่บนภาชนะอาหาร หรืออื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าเหล่านั่นถ่ายภาพลง IG และเผยแพร่ เมื่อคนอื่นเห็น ก็จะเกิดความต้องการที่อยากจะไปถ่ายภาพด้วยเช่นกัน 

อีกฟีเจอร์สำคัญ “IG stories” เป็นเครื่องมืออีกนึงตัวของ Instagram ที่เหมาะกับการกระตุ้นการขายแบบด่วนได้ดี เช่น “โปรโมชั่น” จำกัดเวลาของคนในการซื้อ ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้ IG story ในการทำ Questionaries หรือ Poll เพื่อเป็นการสร้าง engagement กับกลุ่มผู้ติดตาม

3. Youtube

เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มที่ไว้ดู video แบบยาวๆ ก็ต้องเป็น Youtube และแทบจะทุกช่วงอายุเลย ที่เข้ามาเล่นยูทูป โดยเฉพาะช่วงอายุ 22-38 ปี ด้วยความที่ยูทูปเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย มีคอนเทนต์ให้ติดตามได้หลากหลาย แถมเป็นที่สนับสนุนเหล่าครีเอเตอร์ ให้ผลิตคอนเทนต์ได้สะดวก และเรียบง่าย จึงทำให้ Youtube เป็นแพลตฟอร์มที่มีคอนเทนต์ใหม่เข้ามาหมุนเวียนอยู่ตลอด ซึ่งปัจจุบันมีหลายๆ แบรนด์ก็เข้ามาสร้าง channel บนยูทูปผ่าน creator หรือ influencer ในการนำเสนอคอนเทนต์แบบไม่ต้องกังวลในเรื่องของเวลาที่จำกัดแบบแพลตฟอร์มอื่น ๆ 

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้า Youtube เป็นที่ที่ผลิตคอนเทนต์ได้หลากหลาย แบรนด์ต้องออกแบบเนื้อหาเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ให้สนใจเจอคอนเทนต์ VDO ของแบรนด์ โดยเนื้อหาสามารถเป็นในแนวทางที่สร้างเพื่อการรับรู้ ประโมท ประชาสัมพันธ์ หรือขายสินค้าและบริการ ซึ่งคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมมากบน Youtube ก็จะมี ท่องเที่ยว เล่าเรื่องราวด้านความรู้ ไลฟ์สไตล์ หรือ vlog เป็นต้น เช่น คอนเทนต์ของช่อง Point of View ก็จะมาเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ สิ่งลี้ลับ ฯลฯ จากเรื่องน่าเบื่อให้น่าฟังมากขึ้น มีผลสำรวจออกมาว่ากว่า 92% ของคนไทยกล่าวว่า Youtube ทำให้พวกเขาอยากติดตามช่องนั่นๆ เพื่อได้ติดตามในคอนเทนต์ต่อไป

4. Tiktok

ช่วงโควิดที่ผ่านมา Tiktok ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มยอดฮิตเลยก็ว่าได้ โดยมีกลุ่มผู้ใช้งานหลักคือ Gen Z ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 10 – 19 ปี และจากการที่มีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นอีกแพลตฟอร์มนึงที่สามารถทำให้แบรนด์ หรือร้านค้า สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายมากขึ้น ซึ่ง Tiktok เหมาะกับการทำโฆษณา อย่างสร้างสรรค์ มีเนื้อหาที่น่าจดจำ มี Story broad ที่ชัดเจน เพราะจะทำให้โฆษณาน่าสนใจมากกว่าการลงโฆษณาจากสินค้าโดยตรง หรืออาจจะมีการแทรกเนื้อหาหรือความตลกเข้าไป เพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้งานจดจำสินค้าหรือแบรนด์ของเราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และสามารถจ้าง Influencer ที่กำลังมีกระแสบน Tiktok หรือมีภาพลักษณ์ที่เหมาะกับแบรนด์มาร่วมงานด้วยก็ได้ โดยคอนเทนต์ที่แนะนำในการลงโฆษณาบน Tiktok คือวิดีโอที่เน้นความบันเทิง หรือการทำ Challenge ที่กำลังมีกระแส มีการพูดถึงในช่วงเวลานั้น ๆ เป็นต้น

5. Line

แพลตฟอร์มสุดคลาสสิค โดดเด่นเรื่องการส่งข้อความ (Message) ใช้ได้ในทุกสถานะ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อครอบครัว เพื่อน ทำงาน ประสานงาน หรือส่งข้อความหาลูกค้าก็ทำได้สะดวกทั้งนั้น กลุ่มผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-34 และ 35-44 ปี มีฟังก์ชั่นที่หลากหลายในการใช้งาน โดยเฉพาะฟีเจอร์อย่าง Line OA (Line Official Account) ที่จะช่วยทำให้คุณสามารถ Broadcast ข้อมูลต่าง ๆ แก่ลูกค้าและผู้ติดตามได้ง่าย การสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มนี้จะให้ความสำคัญไปกับการนำเสนอข้อมูลอย่างโปรโมชั่น ช่วงเวลาพิเศษ สินค้าใหม่หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ เสียงและวิดีโอ

แบรนด์สามารถใช้ Line OA เป็นช่องทางหลักในการติดต่อเพื่อสื่อสารต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้าได้โดยตรง แนะนำให้นำเสนอโปรโมชั่นและดีลตามที่แบรนด์ต้องการได้เลย อาจจะวางแผนการตลาดโดยใช้ฟังก์ชันเสริมอย่างการสะสมแต้มหรือร้านค้ามาผสมกันตามความเหมาะสมของลักษณะแบรนด์ของเราได้

สรุป

รูปแบบการสื่อสารของแต่ละแพลตฟอร์มก็มีความสามารถแตกต่างกันไป การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับธุรกิจและความเหมาะสมกับตัวแพลตฟอร์ม ดังนั่นนักการตลาดและตัวแบรนด์เองก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจว่าธุรกิจของเราสามารถต่อยอดได้ผ่านทางช่องทางไหน และนำมาประยุกต์อย่างไรให้เกิดความสำเร็จได้บ้าง

“A better tomorrow starts today”

Line@: bit.ly/ForeToday

FB Chat: http://m.me/foretoday

“A better tomorrow starts today “