ในยุคที่ทุกอย่างออนไลน์ได้ง่ายดาย Page Scamหรือเพจหลอกลวง กลายเป็นภัยร้ายที่ทุกคนต้องระวัง! ไม่ว่าจะเป็นเพจปลอมที่แอบอ้างเป็นแบรนด์ดังที่หลอกขายสินค้าในราคาถูกเกินจริง หรือแม้แต่เพจที่ใช้โปรโมชั่นล่อลวงให้คุณกรอกข้อมูลส่วนตัวโดยไม่รู้ตัว! ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพต้องเช็กให้รอบคอบก่อนจะสายเกินไป! วันนี้เราจะมี “7 วิธีง่าย ๆ เช็ก Page Scam อย่างมือโปร” ที่จะช่วยให้คุณสังเกตและป้องกันอันตรายจากเพจอันตรายเหล่านี้แบบครบจบในบทความเดียว!
Page Scam คืออะไร?!!
“Page Scam” คือการหลอกลวงที่เกิดขึ้นผ่านทางหน้าเพจ (Page) บนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย โดยผู้หลอกลวงจะสร้างเพจปลอมหรือเพจที่ดูเหมือนน่าเชื่อถือ เพื่อดึงดูดให้ผู้คนหลงเชื่อและตกเป็นเหยื่อ ซึ่งอาจจะมีหลายรูปแบบ เช่น การสร้างเพจที่ดูเหมือนเป็นธุรกิจจริง ๆ เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวหรือเงินจากผู้คน หรือการใช้โปรโมชั่นหรือสิทธิพิเศษที่ดึงดูดใจ เพื่อหลอกให้ผู้คนเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือทำการโอนเงินไปโดยที่ไม่รู้ตัว
6 วิธีง่ายๆ สำหรับเช็ก Page Scam?
1.วิธีการสังเกตแรก : เช็กข้อมูลของเพจ และดูว่าเพจเคยเปลี่ยนชื่อมาหรือไม่
เช็กข้อมูลเกี่ยวกับเพจให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นชื่อของเพจ ส่วนใหญ่เพจปลอมมักใช้ชื่อที่คล้ายคลึงกับเพจจริง แต่จะมีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติม เช่น เครื่องหมายจุลภาค (,) เครื่องหมายจุด (.) หรือตัวอักขระพิเศษอื่น ๆ และรายละเอียดที่อยู่ หรือการติดต่อ และวิธีการเช็กว่าเพจเคยเปลี่ยนชื่อหรือไม่ ให้คุณสามารถตรวจสอบได้ เพียงไปที่หน้าโปรไฟล์เพจ >> เลือกเมนู “เกี่ยวกับ (about)” >> ดูข้อมูล “ความโปร่งใสของเพจ (Page Transparency)”
2.เช็กจำนวนยอดผู้ติดตาม จำนวนยอดไลก์ และการโต้ตอบของเพจ
ให้คลิกที่ชื่อเพจก่อน เพื่อเข้าไปดูหน้าโปรไฟล์หลัก หากคลิกเข้าไปแล้วพบว่า มียอดไลก์เพียง 2-3 ไลก์ หรือหลักสิบไลก์ และมีการโต้ตอบที่ไม่สมเหตุสมผล เช่น จำนวนผู้ติดตามน้อย แต่ยอดเเชร์เยอะ ก็เป็นไปได้เลยว่าเป็นเพจปลอม
3. สังเกตรูปภาพหรือเนื้อหาของเว็บไซต์
เพจปลอมส่วนใหญ่จะมีการคัดลอกรูปภาพมาจากเว็บไซต์ หรือ Facebook อื่น ๆ ซึ่งเป็นรูปที่ถ่ายระยะไกล ไม่เห็นตัวคน หรือไม่เห็นป้ายงานที่ชัดเจน นอกจากนี้รูปภาพที่ใช้ในเพจหรือโพสต์ต่างๆ ควรมีความชัดเจนและดูเป็นมืออาชีพ ถ้าใช้ภาพที่มีคุณภาพต่ำ หรือดูไม่เหมาะสม อาจเป็นสัญญาณของเพจปลอม ซึ่งเราสามารถลองค้นหาภาพหรือเนื้อหาเหล่านั้นใน Google เพื่อดูว่ามีการใช้ซ้ำจากที่ไหนหรือไม่ ถ้าหากว่ามี ก็มีโอกาสก็จะเป็นเพจปลอม
4.สังเกตการใช้ภาษา
เพจปลอมมักจะมีการใช้ภาษาที่ผิดปกติ หรือไม่เป็นธรรมชาติ เช่น ใช้ภาษา หรือการสะกดคำที่ผิดพลาด หรือมีข้อความที่ดูเหมือนจะเชิญชวนให้กดลิงก์ หรือกรอกข้อมูลที่ไม่ปลอดภัย
5.สังเกตเครื่องหมาย Meta Verified
Meta Verified หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้า ถ้าหากเพจไหนได้รับเครื่องหมายนี้ ก็สามารถยืนยันได้ว่าเป็นเพจจริง อย่างไรก็ดี เพจบริษัทขนาดเล็กที่มียอดไลก์ประมาณหลักพันก็อาจไม่เคยสมัครขอใช้เครื่องหมายนี้ จึงไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเพจปลอมเสมอไป
6.สังเกต URL ของเว็บไซต์
ถ้าเพจนั้นมีเว็บไซต์ หรือหน้าลิงก์ที่ไปยังเว็บภายนอก ให้สังเกต URL ของเว็บไซต์ให้ดี ว่ามีตัวอักษรแปลก ๆ ที่แตกต่างจากเว็บไซต์จริงบ้างหรือไม่ เช่น เว็บไซต์จริงใช้ .com แต่ของเพจปลอมอาจจะเป็น .cc เป็นต้น
วิธีป้องกันการหลอกลวงจาก Page Scam
- ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเพจ เช่น จำนวนผู้ติดตาม การมีส่วนร่วมในเพจ รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ของเพจ
- ระมัดระวังข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง เช่น โปรโมชั่นที่เกินจริง หากพบว่าเพจมีการโฆษณาสินค้าที่ถูกกว่าราคาในตลาด อย่ารีบด่วนตัดสินใจที่จะซื้อสินค้านั้น ให้สันนิษฐานก่อนเลยว่าอาจเป็น page scam
- อย่าคลิกลิงค์ที่ไม่น่าไว้วางใจ เช่น หากได้รับลิงค์ที่URL ไม่ชัดเจนหรือดูไม่เหมือนเว็บไซต์ทางการ อย่าคลิกทันที เราอาจจะใช้เครื่องมือในการช่วยตรวจสอบ URL เหล่านั้นก่อนก็ได้ เช่น Google safe transparency report และอีกสิ่งสำคัญคือ หลีกเลี่ยงการกรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ รหัสผู้ใช้, รหัสผ่าน หรือข้อมูลของบัตรเครดิตในเว็บไซต์ที่น่าสงสัย เป็นต้น
- ตรวจสอบรีวิวและความเห็น อาจหาได้จากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถืออย่าง Google เพื่อดูความเห็นจากผู้ใช้จริง
- รายงานเพจหลอกลวง ซึ่งเราสามารถทำได้ผ่านทั้งแพลตฟอร์มที่ใช้งานอยู่ หรือหน่วยงานในประเทศที่เกี่ยวข้อง
- ใช้วิธีการป้องกันทางเทคนิค เช่น การเปิดการใช้งานการยืนยันตัวตน 2 ขั้น หรือติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์
- ระวังการชำระเงิน โดยการตรวจสอบบัญชีก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง และหากต้องชำระเงินให้ชำระผ่านเกต์เวย์การชำระเงินที่ปลอดภัยเท่านั้น
- สังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น โพสต์เนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับชื่อของเพจ, การใช้รูปโปรไฟล์ที่ดูเหมือนเป็นการลอกเลียนจากเพจอื่น เป็นต้น
Page Scam มาในหลายรูปแบบและมิจฉาชีพอาจพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ อยู่ตลอด อย่าตกเป็นเหยื่อเพราะความรีบร้อน! ใช้ 7 วิธีเช็กเพจหลอกลวงก่อนตัดสินใจในธุรกรรมการเงินนหรือให้ข้อมูลส่วนตัว เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกล่อลวง ถ้าเจอเพจต้องสงสัยให้รีพอร์ตทันทีและช่วยกันแชร์ให้คนรอบข้างรู้เท่าทัน!
ForeToday เราก็ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อและการทำการตลาดออนไลน์ พร้อมดูแลการรันโฆษณาให้คุณอย่างมืออาชีพ พร้อมตรวจสอบความปลอดภัยจากการสแกม!
หากสนใจปรึกษาเรื่องการตลาดออนไลน์หรือรันโฆษณาออนไลน์ก็สามารถ ติดต่อเราได้ที่
Line@: bit.ly/ForeToday
FB Chat: http://m.me/foretoday
อ่านบทความอื่น ๆ ของเราเพิ่มเติม: https://foretoday.asia/articles/
“A better tomorrow starts today”