Affiliate Marketing คือ
ในยุคนี้ที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจรวมไปถึงการสร้างรายได้ในโลกออนไลน์ ทำให้การแข่งขันสูงมาก Affiliate Marketing หรือ การตลาดออนไลน์แบบพันธมิตร เกิดขึ้น คือ การโปรโมตสินค้าหรือบริการของแบรนด์ผ่านลิงก์แนะนำสินค้า (Affiliate Link) เมื่อมีคนกดลิงก์แล้วทำการซื้อหรือสมัครบริการ เจ้าของลิงก์จะได้รับค่าคอมมิชชันตามข้อตกลงของแบรนด์นั้นๆ ระบบ Affiliate เป็นหนึ่งในวิธีสร้างรายได้ออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากในยุคดิจิทัล เพราะ ไม่ต้องสต็อกสินค้า และไม่ต้องจัดส่งเอง เป็นแค่เพียงตัวกลางที่ช่วยให้แบรนด์ขายสินค้าได้ และรับผลตอบแทนจากการแนะนำลูกค้า เรียกง่ายๆว่าเราเป็น ตัวแทนขายหรือนายหน้าของสินค้านั้นๆ โดยปัจจุบันก็มีระบบ Affiliate Marketing หลายแพลตฟอร์ม เช่น Shopee, Lazada, Tiktok และ Amazon
Affiliate Marketing ดีไหม? เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย
ถึงแม้ว่า Affiliate Marketing จะเป็นหนึ่งในวิธีสร้างรายได้ออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากในตอนนี้ เพราะสามารถเริ่มต้นได้ง่ายและไม่ต้องลงทุนเยอะ แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่างที่ต้องพิจารณาเช่นกัน
ข้อดีของการทำ Affiliate Marketing
- ไม่ต้องสต็อกสินค้า – ไม่มีความเสี่ยงเรื่องการจัดเก็บหรือสินค้าค้างสต็อก
- ลงทุนต่ำมาก – สิ่งเดียวที่ต้องลงทุน คือ เวลาในการสร้างคอนเทนต์และโปรโมตลิงก์ Affiliate
- สร้างรายได้แบบ Passive Income – เมื่อคอนเทนต์ของคุณ ติดอันดับ หรือเป็นที่นิยมบนโซเชียลมีเดีย ลิงก์ Affiliate ของคุณจะทำเงินได้ตลอดเวลาแม้คุณไม่ได้ทำงานอยู่
- มีโอกาสสร้างจากหลายช่องทาง – ทั้ง Shopee, Lazada, Tiktok และ Amazon
ข้อเสียของการทำ Affiliate Marketing
- รายได้ไม่แน่นอน – Affiliate Marketing ไม่ใช่โมเดลที่ทำเงินได้ทันที จะต้องรอให้มีคนคลิกลิงก์และทำการซื้อสินค้าก่อน จึงจะได้รับค่าคอมมิชชั่น
- ต้องใช้เวลาในการสร้างคอนเทนต์ให้เป็นที่นิยมและดึงดูดผู้ชม
- ต้องแข่งกับคนอื่นที่ทำ Affiliate เหมือนกัน – เนื่องจาก Affiliate Marketing เป็นที่นิยมมาก คู่แข่งก็เยอะตามไปด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้ายอดฮิต เช่น เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน เป็นต้น
- ค่าคอมมิชชั่นไม่คงที่ – โดยขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า สินค้าบางหมวดอาจได้ค่าคอมมิชชั่นต่ำ ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละแพลตฟอร์มด้วย
Affiliate Marketing เหมาะกับใคร?
Affiliate Marketing สามารถทำได้โดยแทบทุกคนที่ต้องการสร้างรายได้จากออนไลน์ แต่กลุ่มที่เหมาะสมที่สุดคือคนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีช่องทางในการโปรโมตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สาย Content Creator (นักสร้างคอนเทนต์)
เหมาะกับใคร:
✅ YouTuber, TikToker, Influencer, นักรีวิวสินค้า, Blogger
ทำไมถึงเหมาะ:
1. นักสร้างคอนเทนต์มักมี ผู้ติดตามอยู่แล้ว ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
2. สามารถสร้าง คอนเทนต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น รีวิวสินค้า บทความแนะนำการใช้งาน ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการขาย
3. แพลตฟอร์มวิดีโอ เช่น YouTube หรือ TikTok มี engagement สูง ทำให้มีโอกาสให้คนคลิกลิงก์ Affiliate มากขึ้น
2. สาย Social Media Marketer (คนที่มีเพจโซเชียล)
เหมาะกับใคร:
✅ เจ้าของเพจ Facebook, Twitter, Instagram
ทำไมถึงเหมาะ:
1. เพจที่มีผู้ติดตามเยอะสามารถโพสต์ลิงก์ Affiliate ได้โดยตรง
2. กลุ่ม Facebook มักมี สมาชิกที่สนใจเรื่องเดียวกัน ทำให้โอกาสขายสูง เช่น กลุ่มของตกแต่งบ้าน เป็นต้น
3. สามารถใช้ คอนเทนต์ไวรัล เช่น มุกตลก หรือโพสต์ให้ความรู้เพื่อดึงดูดคนให้กดลิงก์
- H3: 3. คนที่ต้องการหารายได้เสริม
เหมาะกับใคร:
✅ คนที่ต้องการรายได้เสริม, ฟรีแลนซ์, นักศึกษา และ พนักงานประจำ
ทำไมถึงเหมาะ:
1. ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ไม่ต้องสต็อกสินค้า ทำให้สามารถทำ เป็นอาชีพเสริม ได้
2. เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้าง Passive Income โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจาก หากคอนเทนต์ที่คุณทำแล้วได้รับความนิยม ก็มีโอกาสที่คนจะเลือกซื้อสินค้าผ่าน Affliate Link ของคุณมากขึ้น
3. สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ โดยแค่ทำคอนเทนต์และแชร์ลิงก์ในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มที่คุณต้องการ
อยากเริ่มต้นทำ Affiliate Marketing ต้องทำอย่างไร?
สำหรับมือใหม่ การเริ่มต้นทำ Affiliate อาจดูซับซ้อน แต่หากทำตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง ตั้งแต่การเลือกแพลตฟอร์ม การโปรโมตลิงก์ ไปจนถึงเทคนิคเพิ่มยอดขาย ก็สามารถสร้างรายได้แบบ Passive Income ได้จริง
1. สมัครเข้าร่วม Affiliate Program กับแพลตฟอร์มหรือแบรนด์ที่มีระบบ Affiliate
Shopee Affiliate: https://affiliate.shopee.co.th
Lazada Affiliate: https://www.lazada.co.th/affiliate
Tiktok Affiliate: https://getstarted.tiktok.com/affiliates
2. เลือกสินค้าหรือบริการที่ต้องการโปรโมต – เลือกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของคุณและตรวจสอบค่าคอมมิชชันของสินค้าแต่ละประเภท ซึ่งควรเป็นสินค้าที่คุณสนใจและมีแนวโน้มที่่จะขายดี
3. สร้างคอนเทนต์และแปะลิงก์ Affiliate – เขียนบทความ, ทำวิดีโอรีวิว หรือโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย จากนั้นแทรกลิงก์ Affiliate ในคอนเทนต์นั้นๆ
4. รับค่าคอมมิชชั่น เมื่อมีคนคลิกลิงก์และซื้อสินค้าผ่านคุณ
สรุป
โดยสรุปแล้ว Affiliate Marketing เป็นโอกาสที่ดีในการสร้างรายได้แบบออนไลน์ เพราะไม่ต้องสต็อกของหรือจัดส่งสินค้าเอง แต่ก็ต้องใช้เวลาและความพยายาม ในการสร้างคอนเทนต์และโปรโมตลิงก์ ผู้ที่ทำ Affiliate จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการโปรโมตสินค้าหรือบริการของแบรนด์ต่าง ๆ ผ่านลิงก์เฉพาะของตนเอง และเมื่อมีผู้สนใจคลิกผ่านลิงก์และทำการสั่งซื้อ ผู้ทำ Affiliate ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากยอดขายที่เกิดขึ้น หลักการทำงานของ Affiliate Marketing นั้นเรียบง่าย แต่การสร้างรายได้อย่างมั่นคงจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม เช่น การเลือกสินค้าที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ รวมถึงการใช้โซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, YouTube หรือ TikTok เพื่อเข้าถึงผู้คนจำนวนมาก หากคุณทำตามขั้นตอนและมีกลยุทธ์ในการทำที่ดี มีความสม่ำเสมอในการทำคอนเทนต์โปรโมทสินค้า ช่องทางนี้อาจเป็นช่องทางสร้างรายได้ที่ยั่งยืนสำหรับคุณ