ในวัน April Fool’s Day แบรนด์ต่างๆ มักเล่นมุกตลกเพื่อสร้างสีสันและความสนุกสนานให้กับผู้ใช้ แต่รู้หรือไม่ว่าบางครั้งมุขตลกเหล่านี้กลับกลายเป็นจริง

ถ้าให้พูดถึงเดือนเมษายนที่กำลังจะมาถึงแล้ว ถ้าถามคนไทยก็คงจะนึกถึงวันสงกรานต์ที่เป็นเทศกาลสำคัญ แต่ในสากลแล้วยังมีอีกวันที่เป็นเทศกาลสำคัญก็คือวัน April Fool’s Day ที่แบรนด์ต่าง ๆ ออกมาสร้าง Content มุกตลกต่างๆเพื่อสร้างสีสันต์ความสนุกสนานให้กับตัวแบรนด์เอง แต่รู้หรือไม่ว่า Content ที่ตั้งใจให้เป็นเรื่องมุกตลกโกหกที่มีอยู่มากมายนั้น กลับมีเรื่องราวที่กลายเป็นจริงในภายหลัง วันนี้ทาง Foretoday จึงมานำเสนอ 3 คำโกหกที่เป็นจริงของแบรนด์ในช่วง April Fool’s day ให้ทุกคนได้อ่านกัน

Grab Tuk Tuk: จากมุขตลก April Fool’s Day สู่บริการจริงในเชียงใหม่

ในวัน April Fool’s Day ปี 2016 Grab ได้สร้างความฮือฮาด้วยการประกาศเปิดตัวบริการใหม่ “Grab Tuk Tuk” บริการเรียกรถตุ๊กตุ๊กผ่านแอปพลิเคชั่น ซึ่งหลายคนคิดว่าเป็นเพียงมุขตลก แต่ Grab กลับสร้างความประหลาดใจอีกครั้งเมื่อประกาศให้บริการ Grab Tuk Tuk จริงในเชียงใหม่ ปี 2023 

Grab Tuk Tuk เป็นตัวอย่างของมุขตลก April Fool’s Day ที่กลายเป็นจริง แสดงให้เห็นว่า Grab มองหาโอกาสใหม่ๆ อยู่เสมอ และพร้อมตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ บริการ Grab Tuk Tuk นำเสนอทางเลือกการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และราคาประหยัด

ซึ่งGrab Tuk Tuk ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ใช้ แสดงให้เห็นว่ามีผู้คนจำนวนมากที่ต้องการทางเลือกการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และราคาประหยัด

จากเมนู April fool’s day สู่ยอดขายวันละ 500 ชิ้น “Chocolate Whopper” ของ “Burger King”

ต่อมาขอนำเสนอกันที่อุตสาหกรรมอาหาร กับแบรนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความกวนอย่าง Burger King แล้วเทศกาลที่ได้ออกมากวนได้แบบนี้เขาไม่ออกมาทำ Content ได้อย่างไร Burger King บริษัทให้บริการ Fast food ที่มี hero product เป็นเบอร์เกอร์ที่ชื่อว่า Whopper และในปี 2018 Burger King เลยนำ Hero Product ตัวนี้นำมาเสนอสูตรใหม่ที่ใช้ซอสที่ลาดเป็น Chocolate ออกมาเป็น Chocolate Whopper และด้วยความที่กระแสตอบรับดีมากจนทำให้ทาง Burger King ออกมาจำหน่ายจริงๆในภายหลัง และคนต้องต่อคิวเพื่อซื้อตัว Chocolate Whopper ตัวนี้ในวันเปิดตัว ส่วนในประเทศไทย Burger King ก็ได้มีรวมกับ Hershey’s ทำ Chocolate Whopper ออกมาจำหน่ายเช่นกันเมื่อในช่วงวันที่ 24 ม.ค. – 31 มี.ค. 2023 ที่ผ่านมา

Google Maps เปลี่ยนเป็น Pokemon Go

ซึ่งในอุตสาหกรรมเกมนั้นมี Content April Fool’s Day ที่เกิดขึ้นเป็นจริงในภายหลังอยู่มากมาย แต่ถ้าจะเลือก 1 เคส จะขอเลือกเกมที่คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก นอกจากนี้ส่วนที่ใช้เป็น April Fool’s Day นั้น เป็นส่วนตัวเกมหลักอีกด้วย นั้นก็คือ Pokémon GO

ในปี 2014 Google Maps ได้เล่นมุขตลกในวัน April Fool’s Day ว่าได้เปลี่ยนแอปเป็น Pokemon Go เกมจับโปเกม่อนยอดนิยมในสมัยนั้น ผู้ใช้สามารถคลิกไอคอน Pokeball บนหน้าจอเพื่อค้นหาโปเกม่อนที่ซ่อนอยู่ทั่วโลก แม้จะเป็นเพียงมุขตลก แต่ Google ได้รับแรงตอบรับจากผู้ใช้เป็นอย่างมาก จนนำไปสู่การพัฒนา Pokemon Go เวอร์ชันจริงในปี 2016

Pokémon GO เป็นเกมที่ใช้ตัวละครจาก Franchise ของ Pokemon ที่ทำให้คนสามารถเดินเพื่อตามหาและจับเหล่า Pokemon ได้บน Map ของโลกจริง ซึ่ง Idea concept นั้นถูกถ่ายทอดออกมาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2014 ภายใต้การนำเสนอของ Google (ผู้พัฒนาเกม – Niantic ยังอยู่ภายใต้ Google ในสมัยนั้น) ที่จะแสดง Pokemon บน Google Map ให้คนไปหาเดินหาเพื่อจับได้ และยังมีประกาศว่าถ้าจับได้ทุกตัวทาง Google จะรับเข้าทำในตำแหน่งของ Pokemon Master และแน่นอนเราก็คงรู้กันอยู่แล้วว่า Pokemon Go นี้ได้ออกมาเป็น Applicate ให้คนสามารถเดินตามหาและจับ Pokemon จริงๆได้ในช่วงกรกฏาคมปี 2016 

สุดท้ายแล้วเรื่องเล่าโกหกที่เป็นจริงเหล่านี้มันเกี่ยวข้องอย่างไรกับนักการตลาดเรา ๆ ช่วง April Fool’s Days เป็นหนึงในเทศกาลสากลแน่นอนว่านักการตลาดเอกก็สามารถสร้าง Content ที่สนุกสนานเพื่อให้แบรนด์มีความสดใจและความสนใจจากลูกค้าได้เช่นกัน นอกจากนี้แล้วจากเป็นวันที่เราจะเล่นมุกสร้างสิ่งของที่แปลกประหลาดแค่ไหนก็ได้ เราจึงสามารถสินค้าใหม่มาเพื่อทดสอบความน่าสนใจได้เช่นกัน ซึ่งจากเคสที่เรานำเสนอก็เป็นสินค้าแปลก ๆ ที่ตอนนำเสนอคนไม่คิดว่าจะเป็นจริงทั้งนั้น แน่นอนว่าตอนสินค้าจริงก็มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้ได้จริงจากมุกตลกในตอนแรก ทำให้เราเห็นว่าสินค้าที่คิดว่าแปลกเกินไปคนอาจจะสนใจมากจนสามารถนำออกมาสร้างเป็นสินค้าจริงเลยก็ได้

“A better tomorrow starts today”