วันนี้เราจะมาดูความแตกต่างระหว่าง Bounce Rate ใน GA3 และ GA4 ซึ่งเราจะมาเจาะลึกถึงวิธีการนับ Bounce Rate ของทั้ง 2 เวอร์ชั่น เพราะเหตุนี้เอง เราจึงไม่สามารถจะเอา Bounce Rate ใน GA3 เทียบเคียงกับ GA4 ได้โดยตรง เพราะมันจะไม่เท่ากันแน่นอน เพราะวีธีคำนวณต่างกัน
Bounce Rate ใน GA3 นั้นมันคือ สัดส่วนของ Bounced Sessions / Total Sessions ซึ่งเจ้าตัว Bounced Sessions คือ sessions ที่เกิดจากการเข้าชมหน้าเว็บไซต์เพียงหน้าเดียวและไม่ได้มีการคลิกต่อไปหน้าไหนอีก หรือรวมถึงไม่ได้มีการกระทำ Action ใดที่ทำให้เกิดเป็น Event
ดังนั้นค่า Bounce Rate ใน GA3 อาจจะทำให้หลายคนสับสนและเข้าใจว่า Sessions ที่มี Bounce มันไม่ดี แต่อย่าลืมคิดไปว่า Users ที่เข้ามาเป็น sessions จำนวนหนึ่งได้อ่านเนื้อหาในหน้านั้นหรือสิ่งที่เค้าต้องการในหนึ่งหน้าจบแล้ว ซึ่งอาจจะใช้เวลาไม่นาน และไม่ได้คลิกไปหน้าอื่น ๆ ต่อ จึงเกิดเป็นค่า Bounce แล้วนับเป็น Bounced Sessions ต่อ ซึ่งดูแล้วไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่
อย่างไรก็ตามในการกัพเดท GA4 ในช่วงแรก ตัว Bounce Rate นี้ก็ยังไม่ได้ถูกนำเข้ามา จนกระทั่งเมื่อกลางปี 2022 ที่ได้นำกลับเข้ามาใหม่ แต่วิธีนับจะแตกต่างจากตัว GA3 โดยจะเป็นการนับจาก Sessions ที่ไม่นับเป็น Engaged Sessions / Total Sessions แทน
การนับคำนวณ Bounce Rate และ Engagement Rate
ค่า Bounce Rate ใน GA4 จะเป็นค่าที่ตรงกันข้ามกับ Engagement Rate ซึ่งหมายความว่าถ้า website มีค่า Bounce Rate ที่ 20% ค่า Engagement Rate จะอยู่ที่ 80%
โดยวิธีนับ Engage Session มี 3 เงื่อนไขพื้นฐาน ถ้าหากเข้า 1 ใน 3 เงื่อนไข จะถูกนับเป็น Engaged Session ทันที ได้แก่
- Session นั้นใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์เกิน 10 วินาที (ค่าเริ่มต้น)
- Session นั้นเข้าชม website มากกว่า 1 หน้า
- Session นั้นเกิด Conversion Event แม้จะไม่ได้เข้าหน้าอื่น ๆ
ดังนั้น Session ใดที่ Landing มาแล้วไม่เกิน 10 วินาที และไม่ได้ทำเกิด Conversion จะถือว่าเป็น Session ที่ไม่ Engage
และคำถามที่น่าสนใจต่อมาก็คือ ถ้าบาง website มีเนื้อหาที่ต้องทำความเข้าใจมากกว่า 60 วินาที แล้วบางคนเข้ามา 12 วินาที โดยไม่ได้ทำความเข้าใจเนื้อหา ในส่วนนี้การนับ Engaged Session จะมีความเหมาะสมจริง ๆ ไหม? คำตอบคือ ก็ดูเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น Google เลยมีฟีเจอร์ให้เราเปลี่ยนค่าจาก 10 วินาที เป็นค่าที่เรากำหนดเองได้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละ website ฟีเจอร์ที่กล่าวมานั้นก็คือ Adjust timer for Engaged Sesions
แต่การดูเพียงค่า Bounce Rate ก็ดูจะไม่มีความเหมาะสม 100% เนื่องจากถ้า website นั้นมีการตั้งค่าการนับ Engaged Session ไว้ที่ 300 วินาที แต่มี Session ที่ใช้งานบน website นั้น 298 วินาที ก็จะไม่ถูกนับเป็น Engaged Session และกลายเป็น Brounce Rate แทน
จะเห็นได้ว่าตัวเลข Brounce Rate ใน GA4 ก็อาจจะไม่สามารถตอบคำถามได้ 100% เพราะเป็นตัวเลขที่คาบเกี่ยวระหว่างความ “มีคุณภาพ” และ “ไม่มีคุณภาพ”
สรุป
เพราะฉะนั้นแล้ว เราควรที่จะกำหนดค่า Adjust timer for Engaged Sessions ให้เหมาะสมในแต่ละธุรกิจเพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ bounce rate ได้อย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น เว็ปไซต์ข่าว พฤติกรรมโดยปกติของคนมักจะต้องใช้เวลาอ่านข่าวหรือบทความ เป็นระยะเวลานึง ถเราอาจจะตั้งค่า Adjust timer for Engaged Sessions ไว้สูงขึ้นหน่อยเพื่อที่เราจะสามารถนำ metric bounce rate ไปวิเคราะห์ถึงความน่าสนใจของบทความนั้นได้ เพื่อนำไปปรับปรุงลักษณะของการนำเสนอบทความของเว็ปไซต์เรา
และนี่ก็คือทั้งหมดของ Bounce rate ใหม่ใน GA4 ครับ จะเห็นว่าความเเตกต่างจาก GA3 ก็คือมีการเปลี่ยนการคิดจาก Bounce session เป็นส่วนที่นอกเหนือจาก Engagement Rate ซึ่งจะทำให้ตัวเลขคำนวณออกมาต่างกัน
อีกไม่นานเราจะต้องใช้ GA4 แทน GA3 กันแล้วเพราะฉะนั้นอย่าลืมศึกษาข้อแตกต่างกันนะครับ มี metric หลายตัวที่เปลี่ยนวิธีคำนวณไปเหมือนกัน แล้วพบกันใหม่บทความหน้าครับ