เมื่อพูดถึงระบบสี หลายท่านอาจจะคุ้นเคยหรือได้ยินผ่านหูมา เช่น ระบบสี RGB และ CMYK แต่หารู้ไม่ ว่ามันไม่ได้มีแค่สองตัวนี้เพียงเท่านั้น แต่ยังมีอีก 2 ระบบสี ที่ชื่อว่า HSB และ LAB ซึ่งวันนี้เราจะมาบอกเล่าเรื่องราวของเหล่าระบบสีทั้ง 4 ตัวนี้ ว่ามันคืออะไร? ต่างกันอย่างไร? แล้วต้องใช้โหมดสีต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อไหร่?


มาทำความรู้จักกันว่ามีระบบสีอะไรบ้าง

ระบบสี RGB

ระบบสี RGB หรือ ระบบสีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงจนกลายเป็นช่วงแสงสีรุ้ง ทั้งหมด 7 สี โดยแสงสีทั้งหมดเกิดจาก 3 แม่สี คือ แดง (red) เขียว (green) และ น้ำเงิน (blue) หรือก็คือ RGB ซึ่งช่วงแสงที่มนุษย์มองเห็นได้นั้น จะเรียกว่า อินฟาเรต โดยมีแสงสีม่วงที่มีคลื่นความถี่สูงสุด และแสงสีแดงที่มีคลื่นความถี่ต่ำสุด ดังนั้นคลื่นแสงที่มีความถี่ต่ำกว่าสีแดง และมากกว่าสีม่วง สายตาของมนุษย์จะไม่สามารถมองเห็นได้

ระบบสี RGB เป็นสีที่แสดงผลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ หรือจอ Monitor เช่น LCD LED หรือ จอนูน CRT และยังแสดงผลบนจอโทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป หรือจอโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ซึ่งงานที่ต้องใช้โหมดสี RGB นั้น เป็นงานเตรียมภาพบนจอมอนิเตอร์ เช่น งานนำเสนอ Presentation ที่ใช้โปรเจคเตอร์​ หรือ การออกแบบ ภาพกราฟิก หรือเว็บไซต์ดีไซน์


ระบบสี CMYK

ระบบสี CMYK หรือระบบที่ใช้สำหรับเครื่องพิมพ์ โดย CMYK ได้มาจากการผสมสีของแม่สี ซึ่งเมื่อนำมาผสมกันด้วยวิธีการพิมพ์ซ้อนทับกัน ก็จะเป็นตามดังนี้
สีเขียว+น้ำเงิน =  สีฟ้า Cyan
สีแดง+สีน้ำเงิน =  สีแดงอมชมพู Magenta
สีแดง+สีเขียว =  สีเหลือง Yellow
และสีดำ แทนด้วย K (ถ้าใช้ B จะซ้ำกับสีน้ำเงิน Blue)

โหมดสี CMYK จะถูกใช้ในงานพิมพ์สีต่าง ๆ ดังนั้นการที่จะพิมพ์งานที่ใช้สีใด ๆ ก็ตามจึงแนะนำให้ใช้โหมดสี CMYK เสมอ เพราะถ้าหากเผลอไปใช้โหมดสี RGB สิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ออกมานั้น สีจะเพี้ยน ไม่เหมือนกับสีที่ออกแบบบนจอนั่นเอง


ระบบสี HSB

ระบบสี HSB เป็นระบบสีตามการมองเห็นของมนุษย์ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

HUE คือ สีต่างๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนมาจากวัตถุแล้วมาเข้าสู่ตาของมนุษย์ ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีจาก “วงล้อสี” ซึ่งมักจะเรียกสีกันตามที่เห็นแต่ละสี เช่น สีเขียว, สีเหลือง, สีแดง, สีน้ำเงิน เป็นต้น

Saturation คือ ค่าความสดของสี จะเริ่มที่ 0 ถึง 100 โดยถ้ากำหนดค่าที่ 0 สีที่ออกมาจะมีความสดน้อย ถ้ากำหนดค่า 100 สีจะสดมาก

Brightness คือ ค่าความสว่างและมืดของสี จะเริ่มที่ 0 ถึง 100 เหมือนกัน โดยถ้ากำหนดค่าที่ 0 จะเป็นสีดำ ส่วน 100 จะเป็นสีขาว

ระบบสี HSB นี้เหมาะกับไปใช้ในงานประเภท UI บนแอปพลิเคชัน ซึ่งข้อดีคือใช้งานง่าย สีมีความใกล้เคียงกัน เวลาปรับค่าสี ไม่ต้องใช้ Color Picker จิ้มดูดสี หรือจิ้มไล่สีใน RGB เพราะ HSB ถ้าเทียบกับความเป็นจริงก็เหมือนกับแสงและเงาที่เรามองเห็นได้ทั่วไป ที่ให้เห็นมิติของวัตถุ เป็นการปรับค่าที่อยู่ในเฉดเดิม แต่อาศัยโดยการปรับที่ค่า Saturation กับ Brightness แทน


ระบบสี LAB

ระบบสี LAB เป็นระบบที่ใช้ได้กับสีที่เกิดจากบนอุปกรณ์ทุกชนิด ถูกกำหนดขึ้นโดย CIE (Commission Internationale d’ Eclarirage) เพื่อให้เป็นสีมาตรฐานกลางของการวัดสีทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYK การกำหนดค่าจะถูกกำหนดจาก 3 ส่วนนี้คือ

Luminance เป็นการกำหนดค่าความสว่าง โดยมีค่าตั้งแต่ 0-100 โดยถ้ากำหนดค่าที่ 0 คือค่าสว่างน้อยจนเป็นสีดำ และค่า 100 คือค่าสว่างมากจนเป็นสีขาว

A คือสีที่ไล่จากเขียวไปแดง B ค่าสีที่ไล่จากน้ำเงินไปเขียว

นอกจากนี้นี้ยังมีอุปกรณ์ที่สำหรับวัดสีบนวัตถุต่างๆ สำหรับปัจจุบันที่นิยมใช้กันก็คือ Spectrophotometer แต่อาจจะมีต้นทุนแพงหน่อย แต่ก็ยังมีที่ใช้ทดแทนในต้นทุนที่ต่ำกว่าคือการใช้เครื่อง Scanner ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อตรวจค่าสี แต่การอ่านค่าสีจากโปรแกรมสำเร็จรูปอาจจะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านค่านี้ได้ เช่น คุณภาพอุปกรณ์ การ์ดจอประมวลผล เป็นต้น


ระบบสีนั้นมีหลายระบบให้เราเลือกใช้ แต่การใช้งานนั้นก็แตกต่างกันออกไป ดังเช่นที่กล่าวมาในข้างต้น ดังนั้นจึงต้องปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับสิ่งต่างๆ ก็จะได้ผลลัพธ์ตรงกับความต้องการ

“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat : http://m.me/foretoday