มารู้จักกับ Creative Commons หรือ CC รูปภาพลิขสิทธิ์ที่ใช้ได้ฟรี

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยใช้รูปสวย ๆ จากอินเทอร์เน็ตแบบฟรี ๆ ในงานกราฟิกบ้าง งานเขียนบล็อกบ้าง ทุกวันนี้มีหลายเว็บไซต์เลยที่รวบรวมรูปภาพฟรี ๆ ให้ทุกคนได้ใช้กัน ไม่ว่าจะเป็น Freepik, Flaticon หรือ Pexels แต่รู้ไหมว่าโดยปกติแล้วผลงานหรือรูปภาพที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นจริง ๆ แล้วล้วนแต่มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของผลงานหรือว่า Copyright นั่นเอง (สัญลักษณ์ซีในวงกลม ©) ซึ่งปกติแล้วเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถทำอะไรกับผลงานเหล่านั้นแต่เพียงผู้เดียว หากใครจะนำไปใช้จะต้องไปขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงจำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Creative Commons เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดเหล่านี้ ซึ่งตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือรูปภาพที่ปรากฏบนเว็บไซต์ที่เราได้กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง

Creative Commons (CC) คืออะไร?

คือ สัญญาแบบเปิด เป็นลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่อนุญาตให้สาธารณะสามารถนำผลงานไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ผู้ใช้ผลงานจำเป็นจะต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้บนผลงานที่มี 4 สัญลักษณ์

1. Attribution (BY)

สัญลักษณ์ที่อนุญาตให้นำผลงานไปใช้ เผยแพร่และทำซ้ำหรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่จะต้องให้เครดิตเจ้าของผลงานได้

2. NonCommercial (NC)

สัญลักษณ์ที่อนุญาตให้นำผลงานไปใช้ เผยแพร่และทำซ้ำหรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่จะต้องไม่ทำเชิงการค้าหรือที่ได้รายได้จากงานนั้น

3. NoDerivatives (ND)

สัญลักษณ์ที่อนุญาตให้นำผลงานไปใช้ เผยแพร่และทำซ้ำ แต่ห้ามดัดแปลงผลงานเด็ดขาด

4. ShareAlike (SA)

สัญลักษณ์ที่อนุญาตให้นำผลงานไปใช้ เผยแพร่และทำซ้ำหรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ผลงานที่ดัดแปลงจะต้องกำกับด้วยอนุสัญญาเงื่อนไขแบบเดียวกับต้นฉบับ

หมายเหตุ โดย 4 สัญลักษณ์ข้างต้นที่กล่าวไป สามารถขออนุญาตจากเจ้าของผลงานได้ก่อน ถ้าหากมีการละเว้นบางเงื่อนไข

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก https://creativetalklive.com/creative-commons-license/

ตัวอย่าง Creative Commons

ตัวอย่างรูปภาพที่เผยแพร่ภายใต้การอนุญาตประเภท CC BY-NC-ND บน flickr
ตัวอย่างรูปภาพที่เผยแพร่ภายใต้การอนุญาตประเภท CC BY-NC บน flickr
ตัวอย่างรูปภาพที่เผยแพร่ภายใต้การอนุญาตประเภท CC BY-NC-SA บน flickr

ขอบคุณรูปภาพอ้างอิงจาก barnyz, Joan และ ₳Ⱡ₣ⱤɆĐ จากเว็บไซต์ Flickr.com

สรุป

เชื่อว่าหัวข้อในวันนี้ที่เกี่ยวกับ Creative Commons จะทำให้ทุกคนได้รู้จักและระวัดระวังในการใช้รูปภาพมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าหากเราทำผิดเงื่อนไข เจ้าของผลงานสามารถแจ้งว่าเราทำผิดกฎหมายได้เลย ดังนั้นก็อยากให้เพื่อน ๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้รูปภาพอยู่เป็นประจำ คอยตรวจเช็คอย่างรอบคอบก่อนใช้และจะต้องใช้ตามเงื่อนไขที่เจ้าของผลงานได้กำกับสัญลักษณ์ไว้ด้วยนะ

ถ้าหากใครมีข้อสงสัยเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับบทความนี้หรือเกี่ยวกับ Digital Marketing Tools ก็สามารถทักมาถามทาง Foretoday ได้ทุกช่องทางเลย 

ใน EP หน้า เราจะเขียนบทความเรื่องอะไร รอติดตามได้เลย! 

Line@: bit.ly/ForeToday

FB Chat: http://m.me/foretoday

“A better tomorrow starts today”