Learning Agility คือ การปรับเปลี่ยนการทำงานให้คล่องตัว รวดเร็ว เห็นผลลัพธ์ในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งในคลาสจะเป็นการพูดคุยโดย คุณวารุณี จาก SCB นะครับ

ในคลาสจะพูดถึง นักเขียนชาวอเมริกัน ที่ได้พูดถึงความสามารถในการเรียนรู้ ที่คนที่มี Growth Mindset หรือ คนที่อายุมากแต่ยังสามารถเรียนรู้ได้อยู่เพราะอะไร จาก 3 เรื่องนี้
Learn: เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
Unlearn: ไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มา
Relearn: เรียนรู้สิ่งที่เคยรู้ด้วยมุมมองใหม่ๆ


กล่าวคือ Learning Agility ไม่ได้หมายถึงแค่การอบรมทักษะความรู้เท่านั้น แต่รวมถึงความสามารถและความกระตือรือร้นของแต่ละบุคคลในการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาใหม่ในสถานการณ์ใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว และใช้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองเพื่อทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการตัดสินใจและแก้ปัญหาใหม่ ๆ ในงานด้วย

ในคลาสจะพูดถึงองค์ประกอบ 5 ด้านที่ใช้ในการวัดระดับ Learning Agility นั่นคือ


1. Mental Agility (ความคล่องตัวด้านความคิด)
หมายถึง การยอมรับว่าตัวเองไม่ได้รู้ไปซะทุกเรื่อง มีความคิดที่รวดเร็ว สนใจเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มองสิ่งต่าง ๆ จากมุมมองใหม่ ๆ ถามคำถามอยู่เสมอและรับฟังเพื่อจะได้คำตอบใหม่ ๆ เพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนา

 2. People Agility (ความคล่องตัวด้านปฏิสัมพันธ์กับคน)
หมายถึง การเปิดใจต่อกลุ่มคนใหม่ ๆ ที่หลากหลาย รับฟัง และตื่นเต้นกับการเรียนรู้วัฒนธรรมหรือวิธีการใหม่ ๆ กล้าที่จะเห็นต่างอย่างสร้างสรรค์เพื่อมองหาข้อตกลงที่ดีที่สุด


 3. Change Agility (ความคล่องตัวด้านการเปลี่ยนแปลง)
หมายถึง ความเข้าใจว่าสิ่งต่าง ๆ ที่ดีในวันนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอนาคต จึงมุ่งหวัง ยินดี และพยายามค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่เสมอ


 4. Result Agility (ความคล่องตัวด้านผลลัพธ์)
หมายถึงการมุ่งส่งมอบผลลัพธ์แม้ในช่วงเวลาที่ท้าทาย รวมถึงการส่งเสริมหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นบรรลุในผลลัพธ์เช่นกัน


5. Self-awareness (การตระหนักรู้ในตนเอง)

หมายถึง การไตร่ตรอง เข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง แสวงหาความคิดเห็นและข้อมูลเชิงลึก ค้นหาข้อควรพัฒนาและยอมรับข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาตนเองเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ

องค์กรสามารถสนับสนุนให้เกิด Learning Agility ได้โดยการ


1. สื่อสารเป้าหมายภาพรวม สื่อสารให้บุคลากรรับรู้ถึงความสำคัญ ความจำเป็น เป้าหมาย และทิศทางขององค์กรในการพัฒนาสู่การเป็นองค์กร Agile


2. กำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนารายบุคคล ใช้แบบประเมินหรือการทบทวนผลการปฏิบัติงาน และกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนา เปิดโอกาสสำหรับการผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้


3. ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Agile เช่น การเรียนรู้ข้ามสายงาน (Crossed-functional Learning), การหมุนเวียนงาน (Job Rotation), การให้คำปรึกษาระหว่างเพื่อนร่วมงาน (Peer Mentoring) เพื่อเปิดโอกาสให้เห็นกระบวนการทำงานจากแผนกอื่น ๆ ช่วยให้ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เห็นวิธีการ ความเป็นไปได้ และข้อจำกัดที่แตกต่าง เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานร่วมกัน รวมถึงการให้รางวัล (Reward and Recognition) สำหรับผลลัพธ์จากการเรียนรู้


4. ใช้แนวคิด Learning Agility ในการสรรหาและคัดเลือก การถามคำถามเพื่อการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มี Learning Agility เช่น• ถามถึงผลลัพธ์ในงาน เช่นผลลัพธ์ในงานของคุณคืออะไร ใช้วิธีการ และวางแผนระยะเวลาอย่างไร?

บทส่งท้าย

ในคลาสจะมีพูดถึงปประเภทของคนด้วยว่าคนแบบไหนมี Learning Agility ที่สูง แต่ในคลาสจะให้ทุกคนเสนอไอเดียต่าง ๆ และออกมาเป็นข้อสรุปของทั้ง 5 องค์ประกอบ และยังมีการแนะนำว่าใน SCB มีการทำโครงการคล้าย ๆ Shark Tank แต่ชื่อ Whale Tank ที่ให้คนในองค์กรลุกขึ้นมาเสนอไอเดียธุรกิจครับ

สำหรับความรู้ที่ต้องการอัพเดทในวันนี้ก็มีเท่านี้นะครับ ยังไงฝากกดไลค์ กดแชร์ และเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ และพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ ใครอ่านมาถึงตรงนี้หากมีตรงไหนที่สงสัยก็สามารถติดต่อมาได้เลยนะครับ

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”

“A better tomorrow starts today”