สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจาก Personalized Marketing
ความต้องการของผู้บริโภคเเละความต้องการของธุรกิจเป็นสิ่งที่เเตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้รับข้อเสนอที่ไม่ใช่สิ่งที่ตนต้องการเเละ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตนสนใจ จะเกิดความรู้สึกไม่ชอบเเละ เหมือนถูกตามตื้อตลอดเวลา ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์เเบบนี้จะทำให้เกิดอุปสรรคสำหรับการตลาดเเบบ Personalization ถ้าทำให้ถูกต้อง จะเป็นประโยชน์ทั้งกับผู้บริโภคเเละเจ้าของธุรกิจเป็นอย่างมาก
การที่เราจะสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมายจะมีประโยชน์อย่างมากเพราะสามารถสร้างกลุ่มผู้บริโภคผู้พักดีเเละ ช่วยทำให้เรารายได้เติบโตขึ้นได้ถึง 10-30% ความท้าทายอยู่ที่ว่าเราจะ Personalize อย่างไรให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกว่าถูกล้ำเส้น เเละส่งมอบสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการได้ เเละวันนี้ เราจะมาพูดถึง
5 สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการเเละ ให้คุณค่าเมื่อเกิดการสื่อสารจาก Personalization
ผู้บริโภคต้องการการเเนะนำที่สอดคล้องกับความต้องการของตน
หนึ่งในเทคนิคที่โดดเด่นเเละนิยมใช้กัน กับการตลาดเเบบ Personalization คือ ช่วยเเจ้งเตือนผู้บริโภคถึงสินค้าที่เขาเคยค้นหาหรือ เรียกดูเเต่ยังไม่ได้ตัดสินใจกดซื้อ โดย ใช้เครื่องมือทางการตลาด ที่เรียกว่า Retargeting ( คือ เมื่อผู้บริโภคเข้าชมเว็ปไซต์อื่น จะมี Bannerโฆษณาสินค้าของ website นั้นๆเพื่อ กระตุ้นให้ผู้บริโภคกลับเข้ามาเลือกซื้อสินค้าหรือ ใช้บริการบนเว็ปไซต์ของเราอีกครั้งนึง ) ถึงเเม้ว่าการทำ Retargeting เป็นวิธีการตลาดที่ถูกยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ เเต่ถึงยังไงก็ยังสามารถผิดพลาดได้เหมือนกัน ถ้าดำเนินการอย่างไม่รอบคอบ เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้ต้องการ การเเจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา ถึงสินค้าที่ซื้อไปเเล้วหรือที่เคยเสิร์ชหา เเละการเห็นโฆษณาที่เร็วเกินไป ช้าไปหรือมากไปเพื่อให้เกิดความสนใจจากผู้บริโภค ผู้ประกอบการต่างๆต้องใช้การเเนะนำ Algorithms ที่ซับซ้อนมากขึ้น เพื่อจะนำเสนอสินค้าที่ต้องใช้ร่วมกัน เเทนที่สินค้าที่ผู้บริโภคเพิ่งซื้อไป
ผู้บริโภคอยากได้รับการตอบกลับขณะที่อยู่ใน Shopping Mode
เวลาจะส่งข้อความสำคัญพอๆกับเวลาพูด การจะหาคำตอบเพื่อตอบผู้บริโภคควรมองพฤติกรรมเเบบเเผน เเละอุปนิสัยอย่างใกล้ชิด ตัวอย่างเช่น ร้านขายเสื้อผ้าร้านหนึ่งพบว่า เมื่อลูกค้าเข้ามาหน้าร้านหรือ บนออนไลน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้บริโภคนั้น จะเปิดหรือตอบสนองต่อPersonalization Message ที่ส่งไป ทั้งเปิดอ่านวันที่ส่ง หรือเปิดช้าไปหนึ่งอาทิตย์ การส่งข้อความเวลาเฉพาะที่ผู้คนกำลังคิดถึงเรื่องการช้อปปิ้ง หรือเวลาที่กำลังช้อปปิ้งอยู่ คือวิธีการสำคัญสำหรับวันพิเศษต่างๆ โดยใช้ข้อมูลย้อนหลังเป็นตัวช่วย เช่น ส่งข้อความเสนอวันครบรอบ วันเกิด หรือเทศกาล สำหรับการส่งข้อความเเบบผิดเวลาจะทำให้เกิดโอกาสในการซื้อน้อยลง เเละยังทำให้ผู้บริโภคเบื่อหน่ายเเละรำคาญอีกด้วย
คอยเตือนผู้บริโภคถึงสิ่งที่คาดว่าผู้บริโภคควรรู้ เเต่ไม่ต้องคอยติดตาม
วิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงในการนำเสนอให้ตรงกับ ความต้องการของผู้บริโภคคือการTracking ในเหตุการณ์สำคัญหรือในโอกาสต่างๆที่คาดว่าผู้บริโภคจะต้องการ การส่งฟอร์มเเจ้งเตือนในเวลาที่คาดว่าลูกค้าต้องการซื้อสินค้าเเต่ของที่ผู้บริโภคต้องการนั้นหมดสต๊อกเมื่อมีสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการอีกครั้ง สินค้ากำลังลดราคา มีการเปิดตัวสินค้าใหม่หรือสินค้าหมวดหมู่เดียวกับที่ผู้บริโภคเคยซื้อซ้ำๆไป
รู้จักผู้บริโภคไม่ว่าจะมีปฏิสัมพันธ์กันที่ไหน
ผู้บริโภคคาดหวังกับผู้ขายสินค้าให้ติดต่อกันด้วย Digital Message กับ Offline Experienceของเขา สำหรับหลายๆสถานประกอบการณ์ นี่เป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะจำเป็นต้องร่วมมือกันระหว่างเเต่ละส่วนในสถานประกอบการณ์ ถ้าเราทำเเล้วได้ผล การสื่อการที่ลงตัวทั้งเเบบOnline เเละ Offline เเละสามารถจัดหาสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการได้จะทำให้ ผู้บริโภครู้จักว่าผู้ขายนั้นรู้ใจเขาจริงๆ
เเชร์ข้อมูลที่คาดว่ามีความหมาย เเละตรงความต้องการของผู้บริโภค
ข้อมูลการซื้อโดยตรงสามารถบอกผู้ขายได้ว่า สินค้าตัวไหนที่ผู้บริโภคเเต่ละคนต้องการซื้อบ่อยเเค่ไหน เเละสินค้าประเภทไหนที่ผู้บริโภคไม่เคยซื้อ อย่างไรก็ตามหลายๆบริษัทล้มเหลวในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้เหล่านี้ เพื่อใช้ในการ personalize ส่วนลดหรือการสื่อสารไปยังลูกค้าได้ สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือเราต้องรู้ถึงสิ่งที่คาดว่าผู้บริโภคต้องการ เเละเเชร์ข้อมูลที่ตรงใจกับผู้บริโภคให้ได้
“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”
“A better tomorrow starts today”