เข้าใจ Dunning Kruger แล้วจะรู้ว่าทำไมชีวิตฉันถึงบัดซบ

เข้าใจ Dunning Kruger แล้วจะรู้ว่าทำไมชีวิตฉันถึงบัดซบ

บทความนี้ทำให้องค์กร และชีวิตคน ๆ นึงเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่อง ซึมเศร้า เบิร์นเอ้าท์ หมดไฟ หัวใจสั่นคลอน โดยบนความนี้จะใช้ทฤษฎี Dunning Kruger ที่จะพูดถึง ความเอนเอียงในกระบวนการรู้คิดและใช้ความรู้สติปัญญานั้นแอบอยู่ลึกๆ ในการคิดของเรา โดยอิงจาก 2 สิ่งนี้ ความสามารถ (Competency) กับ ความมั่นใจ (Confidence) โดยเป็นงานวิจัยเรียนรู้จาก  David Dunning and Justin Kruger โดย Dunning Kruger Effect จะมี 4 State ดังนี้

การทดลองของ Dunning และ Kruger

ทั้งสองคนนี้สนใจในคดีปล้นธนาคารของ “แมคอาเธอร์ วีลเลอร์” (McArthur Wheeler) ซึ่งทำการปล้นธนาคาร 2 แห่งในวันเดียวกัน โดยไม่มีการปิดบังใบหน้าของตนเองแต่อย่างใด

เหตุผลเพราะว่า วีลเลอร์ คนนี้คิดว่าใบหน้าของตนเอง ‘ล่องหนอยู่’ จากการใช้น้ำมะนาวซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในการทำ ‘หมึกล่องหน’ มาทาบริเวณใบหน้าก่อนออกปล้นธนาคาร

เหตุการณ์นี้ได้สร้างความสนใจให้ 2 นักจิตแพทย์อย่าง ดันนิ่ง และ ครูเกอร์มาก ๆ จนนำไปสู่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถที่มีอยู่จริง และตามความคิดของตัวเอง โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองทำข้อสอบหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ การใช้เหตุผล ไปจนถึงความรู้ทางไวยกรณ์

โดยก่อนที่จะประกาศผลคะแนน เดวิด ดันนิ่ง และ จัสติน ครูเกอร์ ได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองประเมินคะแนนสอบของตัวเอง ออกมาตามความคิด ผลปรากฎว่า “ผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีผลคะแนนต่ำ มักจะประเมินคะแนนสอบของตัวเองสูงกว่าความเป็นจริงมาก”

เรื่องของการสอบขึ้นมาซึ่งในการทดสอบจะมีการประเมิณประสบการณ์ของผู้ทำการสอบไว้แล้วใน 4 ระดับตาม Quartile หรือจตุภาค และหลังจากการสอบจะมีการสอบถามผู้คนที่สอบว่า เค้าน่าจะได้คะแนนเท่าไหร ในการสอบ ผลที่ได้ออกมาจะได้ผลลัพธ์ตามกราฟด้นล่าง

อธิบายคือ คน 4 กลุ่มจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันจากการใช้ตัวแปร ความสามารถ (Competency) กับ ความมั่นใจ (Confidence) และมีการสรุปออกมาเป็น Dunning – Kruger Effect ดังนี้

Dunning Kruger Effect คืออะไร

แกนตั้งเป็นระดับความมั่นใจ (Confidence) จากน้อย (Low) ไปหามาก (High)

แกนนอนเป็นระดับความสามารถ (Competence) คือจากไม่รู้อะไรเลย (Know-Nothing) ขยับไปจนถึงขวาสุดคือ เป็นผู้รู้จริงและมีความเชี่ยวชาญขั้นเทพ (Guru)

  1. ยอดเขาแห่งความโง่ “Peak of Mount Stupid”

    หลังจากที่ได้เรียนรู้ไปสักระยะหนึ่ง เราจะเริ่มคิดว่า “เรารู้เกือบหมดทุกอย่างแล้ว” ความมั่นใจเพิ่มขึ้นสู่จุดสูงสุด ในช่วงนี้เราจะรู้สึกดีมาก ๆ กับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และรู้สึกเหนือกว่าคนอื่น เราจะคิดว่าเรื่องนี้มันง่ายมาก และในบางครั้งอาจจะเผลอโอ้อวดความรู้กับคนรอบตัวได้
  2. หุบเหวแห่งความสิ้นหวัง (Valley of Despair)

    ช่วงนี้เป็นช่วงที่ยิ่งศึกษาหาความรู้ ความมั่นใจของเราก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดต่ำสุด เราจะรู้สึกแย่กับความรู้น้อยของตัวเอง และตระหนักได้ว่า “เราแทบไม่รู้อะไรเลย” บางคนถึงขั้นล้มเลิกการเรียนรู้ ยอมกลับไปที่ “ยอดเขาแห่งความโง่” อีกครั้ง แต่ถ้าถึงจุดนี้แล้วเราตัดสินใจจะลุยต่อ เราจะได้เรียนรู้ที่จะเป็นคนเปิดใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่มากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปความมั่นใจก็จะเริ่มกลับมาอีกครั้ง
  3. ความลาดชันของการตรัสรู้ (Slope of Enlightenment)

    หลังจากที่ลุกขึ้นจาก “หุบเหวแห่งความสิ้นหวัง” ได้ การยอมรับความรู้น้อยของตนเอง จะเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ความถ่อมตัว และการไม่หยุดเรียนรู้ จะกลายเป็นนิสัยของเราโดยไม่รู้ตัว เรียกว่าเป็นการปีนขึ้นสู่ “ทางลาดแห่งการตื่นรู้” เราจะไม่โอ้อวดในความรู้ที่มี เพราะรับรู้อย่างลึกซึ้งว่าเรายังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาย และความมั่นใจก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
  4. ที่ราบสูงแห่งความยั่งยืน (Plateau of Sustainability)

    เมื่อเราพัฒนามาถึงจุดนี้ การศึกษาของเราจะยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับความมั่นใจที่เพิ่มมากขึ้นตามความรู้ที่มี และแม้ว่าเราจะมั่นใจมากแค่ไหน แต่เราก็ยังคงศึกษาหาความรู้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะความรู้นั้นจำเป็นต้องอัปเดตอยู่ตลอดเวลา และโลกของความรู้ก็ไม่มีสิ้นสุด

สำหรับความรู้ที่ต้องการอัพเดทในวันนี้ก็มีเท่านี้นะครับ ยังไงฝากกดไลค์ กดแชร์ และเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ และพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ ใครอ่านมาถึงตรงนี้หากมีตรงไหนที่สงสัยก็สามารถติดต่อมาได้เลยนะครับ

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”

“A better tomorrow starts today”

Digital Agency Digital Marketing digitalagency foretoday marketing