“Economy of Trust” หัวใจหลักของ Influencer Marketing

ในปี 2020 Influencer Marketing ยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

ในปี 2020 Influencer Marketing ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และนักการตลาดหลายคนจะเพิ่มลำดับความสำคัญให้กับเครื่องมือการตลาดประเภทนี้ โดยการเติบโตส่วนหนึ่งจะมาจากแบรนด์ที่ลงทุนทำ Influencer Marketing เป็นครั้งแรก บวกกับแบรนด์ที่ใช้กลยุทธ์นี้อยู่แล้ว และเห็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้เเต่ทวาการใช้ Influencer  Marketing  มีข้อควรระวัง โดยเฉพาะเรื่องละเอียดอ่อนเเละสำคัญอย่าง Trust ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจหลักของกลยุทธ์นี้

กฏของ Economy of trust  เเละการสร้างความเชื่อใจ

ในการใช้เครื่องมือ Influencer Marketing ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุกคนควรเรียนรู้ “กฏ Economy of Trust” หรือ “กฏของความไว้เนื้อเชื่อใจ”  โดยหลักการแล้ว เวลาที่แบรนด์ไปทำงานร่วมงานกับ Influencer ต้องเข้าใจว่า ฐานะของแบรนด์ที่เข้าไปทุกครั้ง คือแบรนด์เข้าไปแทรกแซง Bonding หรือความสัมพันธ์ระหว่าง Influencer กับ Follower

สิ่งที่ Influencer ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ “Follower” ผ่านการสร้างความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสนิทสนม การสร้างความผูกพัน หรือการสร้างความเชื่อใจและศรัทธาซึ่งกันและกัน สิ่งนี้เรียกว่า “Trust” หรือความไว้ใจที่คนหนึ่งมีให้ต่อคนหนึ่ง

ในระยะยาว Influencer อาจจะอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดความไว้เนื้อเชื่อใจจาก Follower ซึ่งคำว่า Trust เป็นมิติที่เปราะบางมาก และไม่ต่างอะไรจากในชีวิตจริง คนเราสูญเสียความไว้ใจ หรือ Trust เนื่องจากอีกฝ่ายไม่บริสุทธิ์ใจกับเราด้วยเหตุนี้ Influencer Marketing จึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง Economy of Trust เพราะว่าเมื่อไหร่ที่แบรนด์เข้าไปแทรกแซง Influencer ให้โพสต์เกี่ยวกับสินค้าของแบรนด์ โดยที่ Influencer นั้นรับเงินจากแบรนด์ โดยไม่มีการแจ้ง หรือ declare ให้ follower รับทราบ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทำลาย Trust ที่มีต่อกันเสมอ

หากไม่ทำตามกฏ Economy of Trust สิ่งที่ตามมา “Influencer” จะสูญเสียผู้ติดตาม ทางด้านแบรนด์นั้นก็จะได้ประโยชน์แค่ในระยะสั้น และไม่ได้รีดประสิทธิภาพสูงสุดของเครื่องมือการตลาดนี้ประเด็นของเรื่องนี้จึงคล้ายเกมชักคะเย่อ เป็นเกมระหว่างแบรนด์ผู้เป็นเจ้าของเงินที่มีจุดยืนแบบหนึ่ง กับ Influencer ที่มีจุดยืนแบบหนึ่ง แต่ก็ต้องการรายได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจุดนี้มักสร้างความกระอักกระอ่วน ความลำบากใจ หรือแม้กระทั่งเกิดข้อขัดแย้ง หากไม่ตกลงเจรจากันให้ดีตั้งแต่ตอนต้น บางกรณีอาจทำให้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจทั้งสองฝ่าย เพราะจุดยืนที่แตกต่างกันระหว่างแบรนด์และ Influencer

แต่ถ้าเราเข้าใจถึงกฏ Economy of Trust การร่วมงานระหว่างแบรนด์กับ Influencer จะราบรื่นกว่านี้ เนื่องจาก Influencer เป็นมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ จึงต้องการ Human Communication เพราะเรากำลังสื่อสารในกฏของสังคมข้อหนึ่ง นั่นคือ ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

Economy of Trust กับการมองผ่าน Influencer Lifecycle และอิคิไก (Ikigai)

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทำไม Trust ถึงสำคัญ ก่อนอื่นต้องเข้าใจเรื่องของ Influencer Lifecycle เสียก่อน ซึ่งจริงๆเเล้วเหมือนกับ Product Lifecycle นั่นคือ ความนิยมต่างๆล้วนมีอายุขัยของมัน ดาราที่เคยดัง วันหนึ่งก็หมดความนิยมตามยุคตามสมัย ซึ่งจัดว่าเป็น Lifecycle แบบหนึ่งเหมือนกันเราจะพบว่า Lifecycle ของ Influencer บางทีก็สั้น บางทีก็ยาว แต่จะสั้นหรือยาวก็ขึ้นกับตัวของ Influencerเอง  บางคนสามารถต่อยอดจนเจอ S-Curve ใหม่ของ Lifecycle เพราะเขาบาลานซ์ตัวเองได้ดี รู้ว่ารับงานจากแบรนด์ได้แค่ไหน และแบบไหนที่แฟนๆ หรือ follower ยังโอเค และยังชื่นชอบตัวเขาต่อเนื่อง

คำว่าอิคิไกมาจากคำญี่ปุ่น ที่อธิบายถึงเหตุผลที่ทำให้เราอยากตื่นนอนทุกเช้า คือ “เหตุผลของชีวิต”อิคิไกเวอร์ชั่นดัดแปลง อธิบายเหตุผลการใช้ชีวิตของคนเรา ประกอบด้วยสี่วงกลมซ้อนกัน ได้แก่ การทำสิ่งที่เราเก่ง, การทำสิ่งที่เรารัก, การทำสิ่งที่ทำเงิน และการทำสิ่งที่มีความหมายต่อโลกคนที่เป็นพนักงานเงินเดือน ส่วนใหญ่วงกลมที่ทับซ้อนกัน คือสองวงกลม การทำสิ่งที่เราเก่ง กับการทำสิ่งที่เราทำเงินได้ ส่วนสิ่งที่เรารัก ส่วนใหญ่จะกลายเป็นงานอดิเรก เพราะไม่ไปทับซ้อนกับวงกลมที่ทำเงิน แถมบางทีเสียเงินด้วยซ้ำไป เราจึงโหยหาสิ่งที่เรียกว่า Work-Life Balance กันตลอดเวลา

แต่ Content Creator หรือ Influencer จะเเตกต่างอย่างสิ้นเชิง เขาจะเริ่มจากวงกลมสิ่งที่เขารัก และวงกลมสิ่งที่เขาเก่ง เพียงแต่ว่าบางคนอาจจะยังไม่ทำเงิน เขาอาจเปิด Page, ทำช่อง YouTube หรืออาจจะเริ่มเขียน Blog ซึ่งขับเคลื่อนมาจาก Passion เเละความชอบส่วนตัวล้วนๆ

3 แหล่งรายได้ของ Influencer และการบาลานซ์เหตุผลของชีวิต

ใน Influencer Lifecycle คนที่ผ่านช่วงเริ่มต้นถึงจะเริ่มทำเงินได้ ถ้าชอบจริงๆ แล้วไม่ถอดใจไปก่อน ก็จะเริ่มมีรายได้เข้ามา  ซึ่งส่วนใหญ่การทำเงินของ Influencer จะมาจาก 3 แหล่งคือ

  • ส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากแพลตฟอร์ม เช่น YouTube, AdSense
  • การเริ่มร่วมงานกับแบรนด์ ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราเริ่มมีตัวตนและชื่อเสียง เริ่มมีผู้ติดตามระดับหนึ่ง แบรนด์จะเริ่มติดต่อเข้ามาในการทำคอนเทนต์ร่วมกัน ซึ่งเป็นจุดที่ต้องใจแข็งพอสมควร
  • การต่อยอดไปทำอย่างอื่น เช่น ทำสินค้ามาขาย, ออกอัลบั้ม, ทำหนังสือของตัวเอง หรือต่อยอดในโลกออฟไลน์

คอนเทนต์ที่มีแนวทางของตัว Influencer โดยผู้ติดตามจะคิดว่า นี่คือคอนเทนต์ตามแบบฉบับของ Influencer คนนั้นๆ แต่ในหลายๆครั้ง Influencer Content ก็มีการนำแบรนด์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยอาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ คอนเทนต์ประเภทนี้  จะสร้าง Economy of Trust ได้ในระยะยาว

Credit https://www.marketingoops.com/podcast/influencer-marketing/episode-7-economy-of-trust/

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”

“A better tomorrow starts today”