กระแสในโลกโซเชียลที่ผ่านมา ก็ได้มีเรื่องราวที่ใหญ่โตเกิดขึ้นมากมาย โดยเรื่องราวที่ว่านั้นจะเป็น Crisis ที่เกิดขึ้นบนโลกโซเชียลนั่นเอง Crisis เปรียบเสมือน Viral ที่เป็นในแง่ลบหรือก็คือเป็นเรื่องไม่ดี และในวันนี้ก็จะมาพูดถึงเคสของ สินมั่นคงประกันภัย กับ Foodpanda โดยบทความนี้จะเป็นการถอดความจากในวีดีโอของเพจ “สโรจขบคิดการตลาด” ที่ได้ทำการวิเคราะห์โดยใช้ Social Listening Tools ซึ่งถ้าใครอยากฟังตัวเต็มก็สามารถเข้าไปฟังได้ตามลิงก์ด้านล่างได้เลย https://www.facebook.com/SarojKhobKid/videos/199172358823512
[สินมั่นคง]
เท้าความก่อนว่าเหตุการณ์ที่ทำให้เกิด Crisis เกิดจากการที่ทางสินมั่นคงประกันภัยได้ทำการโพสประกาศว่าได้มีการบอกเลิกกรมธรรม์ประกัน Covid-19 ด้วย Message หลักที่ว่ามานี้ก่อให้เกิดกระแส Crisis อย่างล้นหลามทำให้เกิดมุมมองในแง่ลบต่อแบรนด์อย่างมาก ซึ่งทางเพจสโรจขบคิดการตลาดก็ได้วิเคราะห์จำนวน Message และจำนวน Engagement ที่เกิดขึ้นในเคสของสินมั่นคงช่วงที่ Peak ที่สุดว่ามีตัวเลขออกมาเท่าไร ผลก็คือ Message อยู่ที่ 1300 ส่วน Engagement อยู่ที่ประมาณ 1,500,000 (รวมการ Re-Tweet และ Quote Tweet) ด้วยตัวเลขของการ Engagement ที่สูงกว่า Message หลายเท่า จึงเห็นได้ชัดเลยว่าเป็น Crisis อย่างปฎิเสธไม่ได้
.
ตัวเลขเหล่านี้มาจากไหนบ้าง ?
เนื่องด้วย Crisis ของสินมั่นคงนั้นเกิดจากประกัน Covid-19 ทำให้การกระจาย Engagement จะถูกเริ่มเรื่องทำให้เรื่องนี้กลายเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้างจากบุคคลที่เป็นการแพทย์และนักข่าวเสียส่วนใหญ่ หลักๆก็จะมีคุณอนุวัต จัดให้ที่เป็นผู้สื่อข่าวช่อง 7 ซึ่งไดัทำการโพสต์ข่าวเกี่ยวกับสินมั่นคงจำนวน 2 Message และได้มี Engagement เข้ามากว่า 200,000 ส่วนอีกท่านหนึ่งก็คือคุณหมอแล๊บแพนด้า ที่ได้โพสต์เพียง 1 Message แต่กลับมี Engagement มากถึง 120,000 นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นนักข่าวท่านอื่นๆ และเพจกระจายข่าวชื่อดัง
.
ผลจากการเกิด Crisis
ลูกค้าต่างก็ยกเลิกการทำประกันกับสินมั่นคงจำนวนมาก ไม่เว้นแต่ประกันโควิดเท่านั้น ประกันรูปแบบอื่นเองก็มีผลกระทบด้วยเนื่องจากทางแบรนด์ได้ทำลาย Brand Trust เรียบร้อยทำให้ลูกค้าต่างก็ระแวงว่าประกันรูปแบบอื่นอาจจะโดนผลกระทบในรูปแบบนี้ในอนาคตด้วยหรือเปล่า ซึ่งผลกระทบในข้อนี้จะเป็นการเปิดช่องให้คู่แข่งเข้ามาง่ายมาก เพราะเป็นธุรกิจเดียวกันแต่มีแบรนด์อื่นอีกหลายเจ้า ลูกค้าก็ย่อมที่จะเปลี่ยนใจไปหาเจ้าอื่นอย่างแน่นอน
.
แม้ว่าสุดท้ายเคส Crisis ของสินมั่นคงประกันภัยจะจบลงไปด้วยการที่ ทางสินมั่นคงได้ออกประกาศว่าไม่มีการยกเลิกกรมธรรม์ ยังคงคุ้มครองประกัน Covid-19 ตามเดิมอยู่ แต่นั่นก็ไม่สามารถช่วยให้ดึงลูกค้าให้กลับมาได้เนื่องจาก Brand Trust ต่อตัวแบรนด์นั้นลดลงมาก ซึ่งนี่ก็เป็นปัญหาของสินมั่นคงที่จะต้องรักษาลูกค้าปัจจุบันเอาไว้ให้ได้ แม้ว่าจะจบ Crisis ของตัวเองไปแล้วก็ตาม
[Foodpanda]
มาต่อกันที่เคสของ Foodpanda ต้นเหตุของ Crisis นี้เกิดจากการที่มีไรเดอร์ของ Foodpanda ใส่เครื่องแบบของแบรนด์อย่างชัดเจน ได้มีการไปเข้าร่วมม็อบ18กรกฏา โดยข้อความแรกของ Foodpanda ที่ได้ทำการโพสต์ลงโซเชียลมี Message หลักว่าจะทำการไล่พนักงานคนนั้นออก เนื่องจากไม่สนับสนุนการก่อการร้าย ซึ่งนั่นก็เป็นการเชื่อมโยงกับเรื่องของการเมืองทำให้ Crisis นี้กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว โดยที่การวิเคราะห์ตัวเลขในช่วง Peak ของเหตุการณ์นี้ Message อยู่ที่ 4,400 ส่วน Engagement อยู่ที่ 2,700,000 ซึ่งมากกว่าสินมั่นคงอย่างมากทั้งในเรื่องของตัวเลข และช่วง Peak ที่มีระยะเวลายาวกกว่า
.
ตัวเลขเหล่านี้มาจากไหนบ้าง ?
การ Crisis ในเคสของ Foodpanda เกิดมาจากเรื่องของการเมืองทำให้การกระจาย Engagement จะโยงไปทางบุคคลที่มีชื่อเสียงในการกระจายข่าวทางการเมืองอย่างคุณบอล ธนวัฒน์ วงศ์ไชย์ ที่ได้มีการโพสต์จำนวน 1 Message แล้วมี Engagement จำนวน 140,000 กับพระมหาเทวีเจ้าแห่งเมืองทิพย์อย่างเพจ VEEN ได้โพสต์จำนวน 6 Message มี Engagement 120,000 ส่วนที่เหลือก็เป็นเพจกระจายข่าวชื่อดังเฉกเช่นเดียวกับเคสของสินมั่นคงประกันภัย โดยที่จุดเริ่ม Crisis นั้นเริ่มต้นที่ Twitter ก่อนเป็นอย่างแรก แล้วจึงมาต่อบน Facebook
.
ผลจากการเกิด Crisis
ลูกค้ายกเลิกการใช้งานแอปพลิเคชันกันอย่างล้นหลาม จนไปถึงการกดลบบัญชีทิ้งเพื่อให้เห็นว่าลูกค้าต้องการตัดขาดจากแบรนด์อย่างสิ้นเชิง ไม่เว้นแต่ลูกค้าที่ใช้งานเท่านั้น เหล่าร้านอาหารทั้งหลายต่างก็ยกเลิกการ Delivery กับทาง Foodpanda เช่นกัน ซึ่งผลกระทบนี้ไม่ได้มีผลแค่กับแบรนด์อย่างเดียว แต่มีผลต่อไรเดอร์ที่ต้องรับงานกับทาง Foodpanda ด้วย เนื่องจากบางคนที่เป็นไรเดอร์อายุยังไม่ถึงทำให้สมัครได้แค่ของแบรนด์นี้ที่เดียว บางคนก็อาจจะมีงบไม่มากพอที่จะไปสมัครของแบรนด์อื่น ซึ่งนี่ก็เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดผลกระทบจาก Crisis ของแบรนด์นั่นเอง
.
ในช่วงสุดท้ายทาง Foodpanda ได้ทำการโพสต์ Message เปลี่ยนแนวคิดใหม่ว่า “จะไม่ไล่ไรเดอร์ของคนนั้นออก พร้อมทั้งบอกว่าการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีไม่ใช่การก่อการร้าย” ซึ่งนั่นก็ไม่ได้ช่วยให้ Crisis นี้เปลี่ยนแนวทางไปได้เลย เนื่องจากการแสดงออกด้านการเมืองของแบรนด์นั้นชี้ชัดออกไปแล้ว ซึ่งตรงกับที่คุณบี สโรจได้บอกในวีดีโอว่า “FIRST RESPONSE IS A MATTER OF LIVE OR DEATH” นั่นเอง ในเรื่องการเมืองนั้น ไม่ว่าเป็นใคร ทำอะไร สุดท้ายการเมืองก็จะเข้ามาหาคุณเองในไม่ช้าก็เร็ว เพราะการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน
.
“A better tomorrow starts today”
Website: http://bit.ly/foretoday
Line@: bit.ly/ForeToday
FB Chat: http://m.me/foretoday
#foodpanda #synmunkong #ฟู๊ดแพนด้า #สินมั่นคง