มารู้จักดัชนีความร้อนกับวิธีรับมืออากาศร้อน ทำอย่างไรดีนะ

ตั้งแต่ได้เข้าสู่หน้าร้อนอย่างเป็นทางการ อุณหภูมิก็เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้การทำกิจกรรมนอกบ้านมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเป็นโรคที่มากับอากาศร้อนได้ ซึ่งปกติเราจะรู้กันแค่อุณหภูมิวันนี้ ตอนนี้กี่องศา แต่จะมีอีกค่าหนึ่งที่เรียกว่า “ดัชนีความร้อน” ต่างกับอุณหภูมิที่วัดได้อย่างไร เราจะมาทำความรู้จักกัน พร้อมทั้งรับมือกับสภาพอากาศร้อนว่าควรทำอย่างไร


“ดัชนีความร้อน” คืออะไร

“ดัชนีความร้อน” คือ การนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น 

จากการศึกษาและพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดย George Winterling พบว่าดัชนีความร้อนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องจากหลากหลายปัจจัย เช่น ร่างกายของมนุษย์ ชนิดของเสื้อผ้า และความหนาที่ใส่ กิจกรรมที่เราทำ รังสีจากแสงอาทิตย์ รวมไปถึงความเร็วลม เหล่านี้มีความสำคัญต่อความคลาดเคลื่อน ของ”ดัชนีความร้อน”

หากให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็คือเป็นค่าความร้อนที่เรารู้สึก ยิ่งความชื้นสูง เราจะรู้สึกร้อนมากขึ้น มากกว่าอุณหภูมิที่วัดได้ เพราะความชื้นสูงจะระบายความร้อนยาก เราจะรู้สึกอึดอัด  

เมื่อระบายความร้อนไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดฮีทสโตรก หรือลมแดดนั่นเอง เมื่อกล้ามเนื้อสร้างความร้อนมากจนร่างกายรับไม่ไหว และเกิดปฏิกิริยาการตอบสนอง อาจจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้

ข้อมูลจาก www.rnd.tmd.go.th/heatindexanalysis/

ประโยชน์ของดัชนีความร้อน

เราจะเห็นกันแล้วว่าความจริง ดัชนีความร้อนนั้นไม่ใช่อุณหภูมิของอากาศภายนอกแต่เป็นตัวแทนอุณหภูมิที่ร่างกายเรารู้สึกได้ รวมไปถึงบอกความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะลมแดดได้ ซึ่งนั่นทำให้เราสามารถใช้พยากรณ์ดัชนีความร้อนในการวางแผนตารางกิจกรรมของเราล่วงหน้าได้ เพื่อที่จะได้หลบหรือป้องกันไม่ให้ตัวเราต้องไปทำกิจกรรมอย่างหนักกลางแจ้งในวันที่มีความเสี่ยงสูงได้


วิธีการรับมือกับอากาศร้อน

  1. ดื่มน้ำบ่อย ๆ เพราะอากาศร้อนอาจจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและสูญเสียน้ำได้ง่าย
  2. รับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เน้นทานที่ปรุงใหม่และปรุงสุก
  3. รักษาอุณหภูมิร่างกาย ด้วยการใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า และตามร่างกาย หากอยู่ในพื้นที่ ๆ มีอากาศร้อนมาก ควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีลักษณะบางเบา และปลอดโปร่ง ไม่รัดแน่นเพื่อช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายมีความสมดุล
  4. ลดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก หรือเลือกกิจกรรมเบา ๆ แทน เช่น การเล่นโยคะ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ การงีบหลับในช่วงกลางวันบ้าง ถือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่ไม่น้อย แต่สำหรับคนที่กำลังทำงาน อาจจะใช้วิธีนั่งพิงพนักตัวตรง หลับตา สงบนิ่ง ๆ ในช่วงกลางวันก็ได้
  6. หลีกเลี่ยงการนอนให้ลมหรือความเย็นโกรก คือไม่ควรเปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศจ่อในขณะหลับ ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงอยู่ อาจทำให้ความร้อนนั้นสะสมภายในร่างกาย ทำให้เวียนหัว ไม่สดชื่นแจ่มใส และอาจทำให้เป็นหวัดได้

สรุป

ดัชนีความร้อน คือค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้นรวมไปถึงระดับความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดลมแดด ทำให้เราสามารถวางแผนเตรียมตัวและป้องกันตัวเองได้อย่างเหมาะสม เพราะอาการลมแดดนอกจากจะทำให้หน้ามืดแล้ว อาจร้ายแรงได้ถึงขั้นทำให้ระบบหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ การมีมาตรวัดที่ทุกคนสามารถดูได้ล่วงหน้าอย่างดัชนีความร้อน เลยเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราเตรียมตัวป้องกันและรับมือกับสภาพอาการได้ถูกต้องตามสถานการณ์

(ข้อมูลจาก www.rnd.tmd.go.th/heatindexanalysis/)

“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat : http://m.me/foretoday

SIGN UP TO FORETODAY'S NEWSLETTER

For exclusive digital news, tips & tricks, opportunities and announcement
- plus a few surprise!

ForeToday ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า