Influencer vs kol

Influencer VS KOL สองความเหมือนที่แตกต่าง

นอกจากกลยุทธ์และวิธีการใหม่ๆที่ได้เข้ามาในโลกของ online marketing แล้ว เรายังได้เห็นศัพท์หรือคำจำกัดความใหม่ๆปรากฎขึ้นมาเรื่อยๆ

แนวคิดของ Influencer ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ “KOL” อาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพื่อที่จะแยกความแตกต่างระหว่างทั้งสองและหลีกเลี่ยงความสับสนที่อาจเกิดขึ้น ในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับคุณลักษณะที่โดดเด่นและความแตกต่างระหว่าง KOL และ Influencer 

ความหมายของ Influencer และ KOL

คำว่า Influencer หรือ ‘ผู้มีอิทธิพล’ เป็นคำที่อธิบายถึงกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย โดย Influencer ใน online marketing นั้นเป็นผู้ที่ทำคอนเทนท์บนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook, IG, YouTube ซึ่งเนื้อหามักจะเป็นการนำเสนอไลฟ์สไตล์ต่างๆ และมีคนสนใจติดตามเป็นจำนวนมาก กลุ่มผู้ติดตามจะค่อนข้างมีความหลากหลายแตกต่างกันไป

KOL หรือ Key Opinion Leader หากแปลตรงตัว คือ ผู้มีอิทธิพลทางความคิด เป็นคนที่สามารถเปลี่ยนมุมมองและความชอบของคน community นั้นๆ มากกว่า การโฆษณา โดย KOL จะมีความเชี่ยวชาญหรือความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คอนเทนท์ที่ทำก็มักจะโฟกัสในด้านที่ตัวเองมีความถนัด เช่น การทำอาหาร, การถ่ายรูป, เครื่องสำอาง เป็นต้น

ความแตกต่างของ KOL และ Influencer

​​KOL สามารถเป็นใครก็ได้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกสาขา ​ไม่ว่าจะเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนต์ แพทย์ หรือแม้แต่เภสัชกร โดย ​​KOL นั้นจะประกอบอาชีพประจำ ตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ งานประจำคือเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นอกเหนือจากการทำวิจัยในสาขาเฉพาะของเขาแล้ว ก็ยังได้รับความนิยมจากสื่อต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ โดยเผยแพร่ความรู้ไปยังผู้ที่สนใจในความเชี่ยวชาญของตัว KOL

ในขณะเดียวกัน Influencer ก็เป็นเหมือนศิลปิน งานของ Influencer จะเกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ และมีความชำนาญในการสร้าง Content ที่หลากหลาย และคุ้นเคยกับการถ่ายภาพและวีดีโอ นอกจากทักษะเหล่านั้นแล้ว Influencer ยังสามารถโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย โดยเหล่า Influencer สามารถช่วยให้แบรนด์ต่างๆเติบโตได้โดยการโปรโมตผลิตภัณฑ์บนโซเชียลมีเดีย ดังนั้น เราสามารถสรุปได้ว่า Influencer ทำงานเหมือนเป็นฟรีแลนซ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับ KOL อย่างเห็นได้ชัด  และเนื่องจาก Influencer ใช้ platform โซเชียลมีเดียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงได้รับความนิยมมากกว่าสื่อประเภทอื่น

ตัวอย่างของ Influencer และ KOL

BoomTharis ถือเป็น influencer ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดท่านหนึ่ง ด้วยจำนวนผู้ติดตามกว่า 600,000 คน กับคอนเทนต์ที่พาไปพบกับเรื่องราวไลฟ์สไตล์ในแบบของบูมที่ดูง่ายและสนุก ตั้งแต่ รีวิวบ้านและคอนโดหรู, รถหรู, ร้านอาหารมิชลินสตาร์,lifestyle ร่วมไปถึงการทำอาหาร

MayR  influencer แถวหน้าของเมืองไทย ดังที่เห็นได้จากจำนวนผู้ติดตามในทุกๆ ช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยมีผู้ติดตาทาง Fanpage Facebook มากกว่า 7 แสนคน ผู้ติดตาม instargram อีก 9 แสน follower และ subscriber ใน youtube มากกว่า 1 ล้านคน โดยคอนเท้นต่างๆนั้นจะบอกว่าถึงไลฟ์สไตล์ของเธอไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การแต่งหน้าลุคต่างๆ พาไปชิมของอร่อย ตลอดจนการซื้อบ้าน ซื้อรถ 

หมอของขวัญ ที่รู้จักในฐานะคุณหมอศัลกรรมความงาม นอกจากนี้หมอของขวัญมักจะใช้ช่องทางออนไลน์ เฟซบุ๊ก Doctorkatekate ในการให้ความรู้ด้านการแพทย์ต่างๆ เช่น Covid-19, วัคซีน  ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้คนจำนวนมาก

เชฟป้อม หรือ หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล   เป็นนักโภชนาการและเชฟที่มีชื่อเสียงจากการเป็นกรรมการรายการแข่งขันทำอาหาร ในรายการ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ โดยคอนเทนต์ของเชฟป้อมนั้นจะเน้นหนัก ไปในคลิปสอนทำอาหาร ซึ่งภายในช่องก็จะสอนเกี่ยวกับอาหารไทย ทั้งคาวและหวาน และมีการแนะนำเทคนิคหรือเคล็ดลับต่างๆ ในการทำอาหารด้วย เช่น วิธีการเลือกข่าอ่อน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง KOL ด้านการทำอาหารที่ผู้ที่ชื่นชอบการทำอาหารต้องติดตาม

สรุป : แล้วเราควรเลือก KOL หรือ influencer ในการทำ marketing ยังไงดี?

เมื่อหลายคนอ่านถึงตรงนี้แล้ว ก็อาจจะสงสัยว่า สรุปแล้วเราควรจะโปรโมทสินค้าผ่านใครดี?

จริงๆวิธีการเลือกนั้นขึ้นอยู่กับสินค้าและบริการของเราด้วยครับ 

โดยถ้าเป็นสินค้าเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น เครื่องสำอาง อาหาร, การท่องเที่ยว การเลือกโปรโมทสินค้าผ่าน Influencer ก็น่าจะให้ผลตอบรับที่ดี เพราะว่าสามารถเข้าถึงผู้คนได้หลากหลายมากกว่า

แต่ในกรณีที่ สินค้าของเรามีความเฉพาะกลุ่ม เช่น เครื่องดนตรี, อุปกรณ์กีฬา, เครื่องมือช่าง ก็อาจจะต้องโปรโมทผ่าน KOL เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีความเชี่ยวชาญ จึงน่าจะสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าของเราได้มากกว่านั่นเอง