Key Consumer Sentiments 2025: เจาะ 4 เทรนด์สำคัญ

พฤติกรรมผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคที่สังคมและเทคโนโลยีก้าวล้ำเข้าสู่ปี 2025 เทรนด์ใหม่ๆ เช่น การแยกตัวจากความเป็นจริง การให้คุณค่าแก่เวลาว่าง และการยอมรับตัวเอง เริ่มมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อทิศทางของธุรกิจที่ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อเชื่อมโยงกับความต้องการที่ลึกซึ้งและซับซ้อนของผู้บริโภคยุคใหม่

Key Consumer Sentiments 2025 ห​​รือ ความรู้สึกของผู้บริโภคที่สำคัญ 4 ประการ

Dissociation: การแยกตัวออก/การตัดขาด

เป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโตอย่างมากในผู้บริโภค ผู้บริโภคเริ่มรู้สึกแยกตัวจากสิ่งที่เคยเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้มักจะชอบแสวงหาประสบการณ์ และ ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถแยกตัวออกจากโลกแห่งความจริง Zone Out from Reality เนื่องจากโลกแห่งความเป็นจริงมันชั่งเจ็บปวด โหดร้าย สำหรับพวกเขา ทั้งความเครียด และ ความกังวลต่างๆมากมายในการใช้ชีวิตประจำวัน พวกเขาต้องการที่จะหลีกหนีจากโลกแห่งความจริง ปัจจัยสำคัญเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี การออกแบบ Algorithm หรือ AI ที่เริ่มคิดแทนเรา นำส่ง Content ให้เรา ทำให้เราติดนิสัยแบบ Autopilot คือการปล่อยใจไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้โฟกัส หรือ ใส่ใจอะไรสักอย่าง พฤติกรรมนี้ส่งผลเสียต่อการเชื่อมต่อกับความคิด และ ความรู้สึก ในปัจจุบันผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีมีการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น VR, AR หรือ XR Experience Reality ที่เกมเอามาใช้มอบประสบการณ์ใหม่ๆให้แก่พวกเขา ตัวอย่าง Consumer Product ที่พยายามทำให้เรา Disconnect หรือ Zone Out เช่น Meta Quest 3S จาก Meta และ Vision Pro จาก Apple ในมุมมองผู้ประกอบการ ถ้าเราทำความเข้าใจอารมณ์ของคนกลุ่มนี้ได้ เราจะเห็นถึงความต้องการของผลิตภัณฑ์ หรือ บริการที่ตอบสนองผู้บริโภคที่ต้องการหลีกหนีจากความเป็นจริง ในทางกลับกับข้อเสียของการหลีกหนีความจริงมากเกินไป เราอาจจะเกินปัญหาเรื่องสุขภาพจิต Mental Health ได้เช่นเดียวกัน ในสถานะผู้ประกอบการควรนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา Solution ต่างๆ เพื่อเยียวยา และ จัดการผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการ Disconnect หรือ การไม่เป็นส่วนหนึ่ง 

Idleness: การอยู่ว่างๆ/ไม่ทำงาน

การอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย อยู่ว่างๆ เกียจคร้าน โดยไม่มีเหตุผล เทรนด์นี้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่หลังโควิด ประมาณ 2022 และยังคงเป็นเทรนด์ถึงปัจจุบัน 2024 ว่ากันว่าในปี 2025 จะสะท้องให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในวิธีที่ผู้บริโภคนั้นมองและให้คุณค่ากับเวลาว่าง ผู้คนกำลังมองความเกียจคร้านในมุมมองใหม่ เมื่อก่อนเรามองเป็นความขี้เกียจ Laziess แต่ปัจจุบันความเกียจคร้านเรามองเป็น Idleness กำลังได้รับการยอมรับว่าดี จำเป็นต่อสุขภาพจิต และ ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ผู้คนเชื่อว่าการมีเวลาว่าง จะทำให้มีมุมมองใหม่ๆ เราเริ่มจะสังเกตได้ว่าผู้คนเริ่มจะ Anty Productive คือ ต่อต้านวัฒนธรรมความขยัน มอกงว่าการผลักดันให้ Productive ตลอดเวลาเป็นเรื่อง Toxic ซึ่งใน Social Media เราจะเห็น Topic แบบนี้มากมาย มีทั้งคนที่เห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย บางครั้งการที่เราอนุญาตให้ตัวเองเกียจคร้าน ว่างๆ นอนอยู่เฉยๆ อาจจะเป็นการพักผ่อน ชาร์จแบตชีวิตเพื่อเริ่มอะไรดีๆ ในวันถัดไปก็เป็นได้

Radical Acceptance: การยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข

แนวคิดนี้คือการต่อต้านบรรทัดฐานความงามแบบดั้งเดิมที่เน้นเรื่อง ความสามบูรณ์แบบไร้ที่ติ การเติบโต เกียรติยศ ความรวย ค่านิยมต่างๆที่ทุกคนต้องเดินไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งในข้อนี้จะเชื่อมโยงกับ Idleness การอยู่ว่างๆ/ไม่ทำงาน แต่จะเป็นการยอมรับมากกว่า ผู้บริโภคเริ่มยอมรับความพึงพอใจตามสิ่งที่เป็น แทนที่จะต้องพยายามปรับปรุงตลอดเวลา ตามเทรนด์ตลอดเวลา ต้องเรียนรู้ทุกเรื่อง กับเป็นการยอมรับตัวเองมากขึ้น ซึ่งบางคนอาจจะเรียกว่ายอมรับตามสภาพ

การเคลื่อนไหวอย่างสุดโต่งนี้เป็นการตอบสนองต่อความท้าทายของชีวิตสมัยใหม่ กล่าวคือ ทำงานหนักแล้วไม่รวยสักที เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ค่าครองชีพแพง ส่งผลให้เกิดการการยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข ผู้บริโภคเริ่มเกิดกรยอมรับมากขึ้น การยอมรับส่งผลต่อการบรรเทาความเครียด และ ความกังวลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตนเองตลอดเวลาส่งผลดีต่อสุขภาพจิต ซึ่งส่งผลต่อเทรนด์ธุรกิจ Wellness เริ่มที่จะนำเสนอภาพที่สมจริงมากขึ้น โดยไม่ยึดติดกับภาพในอุดมคติแบบเก่าๆที่ไม่สะท้อนความหลากหลายของผู้บริโภค เช่น รูปหุ่นสวยๆ เป็นนี้ ปัจจุบันการให้ความสำคัญเรื่องความสมดุลระหว่างความสุขและการงานมากขึ้น เมื่อผู้ประกอบการเข้าใจแนวความคิดนี้มากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับค่านิยมเรื่งความสมบูรณ์แบบจึงเป็นสิ่งสำคัญ

Neo-Altruism: จิตเมตตารูปแบบใหม่

Altruism เป็นคำศัพท์ทางมนุษยวิทยา หรือ Anthropology Concept หมายถึง การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การไม่เห็นแก่ตัว นิยามของ WGSN ได้นิยามคำนี้ว่า จิตเมตตารูปแบบใหม่ ในปี 2025 ความหมายของคำนี้ คือ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การห่วงใยต่อผู้อื่น เน้นย้ำการมีส่วนร่วมในชุมชน และ การเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของส่วนรวมมากขึ้น ผู้บริโภคเริ่มตระหนัก และ เลือกซื้อสินค้าที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนหรือสนับสนุนประเด็นทางสังคม และ สิ่งแวดล้อม เริ่มแสวงหาแบรนด์และผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกันแนวปฏิบัติด้านจริยธรรม ความยั่งยืน การรับผิดชอบต่อสังคม และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้คนให้ความสำคัญกับการส่งเสริม ความร่วมมือทางวัฒนธรรมบุคคลและองค์กรทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขความท้าทายของสังคม ทำให้เกิด Sharing Economy เศรษฐกิจแห่งการแบ่งปัน ผู้บริโภคเกิดการยอมรับรูปแบบสินค้า หรือ บริการที่ส่งเสริมการแบ่งปันทรัพยากรและลดการสูญเสีย ตระหนักด้านสุขภาพจิต และ ความเป็นอยู่ที่ดีของส่วนรวมมากกว่าความสำเร็จส่วนบุคคล ซึ่งส่งผลต่อธุรกิจที่จะต้องดำเนินธุรกิจแบบโปร่งใสมากขึ้น จริงใจมากขึ้น มีที่มาที่ไปตรวจสอบได้นั้นเอง

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทำให้รูปแบบการบริโภคของผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2025-2026 เราจะเห็นกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลายซึ่งมีพฤติกรรมและความต้องการที่แตกต่างกันออกไป โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ The Gleamers, The Autonomists, The Imperialist, และ The Synergists

The Gleamers: ผู้ที่แสวงหาความสว่างและแรงบันดาลใจ

กลุ่ม Gleamers ประกอบไปด้วยผู้บริโภคที่ให้คุณค่าแก่ประสบการณ์ที่มีค่าทางจิตใจและความคิดสร้างสรรค์ พวกเขามักมองหาแรงบันดาลใจในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นจากงานศิลปะ การเดินทาง หรือการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ๆ เหตุผลที่ทำให้กลุ่มนี้มีความสำคัญคือ ความต้องการหาความหมายในชีวิตที่มีมากขึ้น นอกจากนี้ พวกเขายังมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่มีเรื่องราวน่าสนใจหรือปรัชญาที่ตรงกับวิถีชีวิตของพวกเขา

The Autonomists: ผู้ที่ต้องการความเป็นอิสระในการเลือกใช้ชีวิต

Autonomists คือกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการมีอิสระและความเป็นตัวของตัวเอง พวกเขาชอบผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถกำหนดทางเลือกและทางเดินของชีวิตได้ตามที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสุขภาพ การทำงาน หรือการใช้โซเชียลมีเดีย การตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มนี้ จำเป็นต้องมีนวัตกรรมและความยืดหยุ่นที่สามารถปรับเข้ากับการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน

The Imperialist: ผู้ที่แสวงหาความจริงและข้อมูลที่ถูกต้อง

กลุ่ม Imperialist นั้นประกอบไปด้วยผู้บริโภคที่มีความมุ่งมั่นในการค้นหาข้อมูลที่ถูกต้องและความจริง พวกเขาใช้เวลาในการวิจัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งทำให้ความโปร่งใสและความเชื่อถือได้ของแบรนด์กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพวกเขา การสื่อสารข้อมูลที่ชัดเจนและมีการตรวจสอบได้จะช่วยดึงดูดกลุ่มนี้ให้มีความสนใจมากขึ้น

The Synergists: ผู้ที่มุ่งมั่นในการประสานประโยชน์ร่วมกับผู้อื่น

Synergists คือผู้บริโภคที่มองหาความร่วมมือและการสร้างประโยชน์ร่วมกับผู้อื่น พวกเขามักจะสนับสนุนแบรนด์ที่เน้นการทำงานร่วมกัน เช่น แบรนด์ที่มีโครงการเพื่อสังคมหรือมีกิจกรรมที่เข้าถึงชุมชน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและแบรนด์จะมีความสำคัญในกลุ่มนี้ เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่ให้คุณค่ากับการมีส่วนร่วมและการสร้างผลกระทบเชิงบวกในสังคม

Key Consumer Sentiments 2025 แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายและซับซ้อนในอารมณ์ของผู้บริโภค ตั้งแต่ความต้องการหนีจากโลกจริงจนถึงการสร้างจิตสำนึกเพื่อสังคม การปรับตัวให้เข้าใจพฤติกรรมและคุณค่าที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสมดุล พร้อมสร้างโอกาสใหม่ๆ ในตลาดที่เน้นความสำคัญของทั้งสุขภาพจิตและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

สนใจปรึกษาเรื่องการตลาดออนไลน์กับทีมผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อทีมงาน ForeToday ได้ตาม contact ทางด้านล่างได้เลย!

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat : http://m.me/foretoday 

“A better tomorrow starts today”

แหล่งที่มา

https://www.superside.com/blog/video-marketing-trends