“Marketplace” ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee หรือ JD Central ต่างก็เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ไม่ว่าจะเป็น Big Firms หรือ SMEs ต่างก็สามารถเข้ามาขายของบนเว็บท่าเหล่านี้ได้ เเต่จะอย่างเท่าเทียมหรือเปล่านั้น เราจำเป็นต้องเข้าใจถึงหลักการของ “โอกาสทางธุรกิจ” ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น

กลไกของตลาดในอดีตเเละโอกาสรอดทางธุรกิจที่จำกัด

ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อน โอกาสทางธุรกิจเหล่านี้ก็จะไปกระจุกอยู่ที่กลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งซึ่งมีอำนาจในการควบคุมตลาดเเละอุตสาหกรรมนั้นๆ ไว้ได้ ด้วยขนาดของบริษัทเเละเม็ดเงินที่ใหญ่ ทำให้คู่เเข่งรายย่อยไม่สามารถสู้ไหว เรียกได้ว่าบริษัทเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์จาก First Mover Advantage กันไปเต็มๆ เลยทีเดียว เเต่ในปัจจุบันมันกลับไม่ใช่อย่างนั้น เนื่องจากการเข้าถึงทรัพยากร  รวมไปถึงช่องทางการกระจายสินค้าเเละข้อมูลต่างๆ นั้น สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น นั่นก็เพราะว่าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมมากขึ้นผ่าน อินเตอร์เน็ตเเละจอโทรศัพท์มือถือ หรือ Smart Phone ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดช่องทางใหม่ในการทำธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ Marketplace นั่นเอง

โอกาสทางธุรกิจในยุคดิจิตอล

เมื่อทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง กำเเพงการค้าที่อาจเคยมีในอดีตก็ค่อยๆพังทลายลง ทำให้เกิดการรวมตัวของ stakeholder กลุ่มต่างๆ หรือ business matching ซึ่งมีผลกระทบกับตลาดในมุมกว้าง กล่าวคือ ถ้ามองเเบบผิวเผินการนำ ผลที่ตามมาคือการเกิดธุรกิจชนิดใหม่ๆ ที่นำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นตัวกระตุ้นให้ธุรกิจที่เราใช้กันอยู่ในทุกๆ นี้เกิดขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็น Rabbit LINE Pay, Grab, Wongnai เป็นต้น เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าธุรกิจเหล่านี้ไม่ได้คิดริเริ่มสิ่งใหม่ขึ้นมาเเต่เป็นการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อ นำ Service Provider เเละ Customer ที่มีให้มาเจอกันนั่นเอง

Market Place โอกาสทางธุรกิจสำหรับ SMEs

เเต่ถ้ามองลึกลงไปกว่านั้น การ matching นี้ยังทำให้ demand เเละ supply มาเจอกัน ทำให้เกิดการเเข่งขันที่สมบูรณ์มากขึ้น มีตัวเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ราคาของสินค้าเเละบริการ ทั้งในธุรกิจ B2B (Business to Business) เเละ B2C (Business to Customer) นั้นมีราคาถูกลง โดยตลาดที่ทำตัวเป็นตัวกลางในการ matching นี้ถูกเรียกว่า Marketplace หรือ Electronic Marketplace นั่นเอง

Marketplace คืออะไร

Marketplace หรือ Electronic Marketplace คือ ตลาดที่ถูกใช้ในการซื้อขายสินค้าเเละบริการออนไลน์ เป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ในการรวบรวมข้อมูลผู้ซื้อ – ผู้ขาย สินค้าและบริการ ธุรกิจ ร้านค้า จำนวนมาก โดยเปิดให้ผู้ซื้อ – ผู้ขายเข้ามาทำการติดต่อซื้อ – ขาย แลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าและบริการ ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางในการติดต่อซื้อ – ขาย รูปแบบใหม่ที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการทางการค้า และตอบสนอง ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้กิจกรรมทางการตลาดกระบวนการซื้อ – ขาย สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภค ณ ปัจจุบันที่มีเวลาน้อยลงเเละต้องการความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าเเละบริการอีกด้วย โดยในไทยจะมี e-Market Place เจ้าใหญ่อยู่ 3 เจ้า ได้เเก่ Lazada Shopee and JD Central.

ผลประโยชน์ที่ SMEs จะได้ในการเอาตัวเองมาอยู่ใน Marketplace

โอกาสทางธุรกิจสำหรับ SMEs ที่มาพร้อมกับ การเเข่งขันที่สูงขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ คนไทยชอปออนไลน์สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก เเละธุรกิจ e-Commerce ในไทยนั้น ก็มีการเติบโตต่อปี (YoY) สูงถึง 14% โดยมีมูลค่าสูงถึง 3,150,232.96 ล้านบาท เลยทีเดียว นั่นหมายความว่าถึงจำนวนคู่เเข่งจะมากขึ้นใน Marketplace เเต่ ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงก็ทำให้ยังคงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับ SMEs

จะทำอย่างไรให้ขายได้ใน Marketplace

การที่จะให้ user เจอ brand ของเราใน Marketplace นั้นมีอยู่สองช่องทาง ได้เเก่

การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจบน Marketplace สำหรับ SMEs

ฉะนั้นสำหรับ SMEs ถ้าต้องการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจผ่านทาง Marketplace อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงกลไกการทำงานเเละกลุ่มลูกค้าที่อยู่บน Platform นั้นๆ รวมถึงวิธีการใช้ Internal and External Ads โดยมีการวางเเผนการตลาดเเบบครบวงจร ตั้งเเต่การเลือกกลุ่ม target ของลูกค้าที่ถูกต้อง ทำให้เกิด Brand Awareness and Recognition ไปจนถึงการนำ  user มาที่หน้า Product Page ที่ถูกต้องนั้น เป็นส่วนหนึ่งในการทำ Full-Funnel Marketing ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในยุคปัจจุบัน ถ้าใครสนใจสามารถปรึกษาวิธีการทำการตลาดออนไลน์เเบบครบวงจรได้ เพียงกรอกข้อมูลใต้บทความทิ้งเอาไว้ทางทีมงาน Foretoday จะทำการติดต่อกลับไปเพื่อนัดเวลาในการให้ปรึกษา

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”

“A better tomorrow starts today”