อย่างที่ทราบกันดีว่าเรื่องความเชื่อ โชคลาภนั้นอยู่คู่กับชีวิตประจำวันคนไทยมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นการไปไหว้พระตามที่ต่าง ๆ เพื่อไปบนขอพรหรือการเช็คดวงตัวเองประจำทุกปีตามราศีต่าง ๆ  เพื่อให้ระมัดระวังในเหตุการณ์ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นล่วงหน้า แต่ถ้าสังเกตดี ๆ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา แทบจะทุกแบรนด์หรือทุกธุรกิจนำเรื่อง “สายมู (Mutelu)” มาใช้เยอะขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

“การตลาดสายมู (Muketing)” คืออะไร?

การตลาดสายมู (Muketing) คือ รูปแบบการตลาดที่นำความเชื่อของคนมาผสมผสานกับประสบการณ์และข้อมูลของแต่ละธุรกิจ มาดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจในธุรกิจนั้นมากยิ่งขึ้น

แล้วทำไมคนถึงหันมาใช้ “การตลาดสายมู (Muketing)” เพิ่มมากขึ้นล่ะ?

สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้เห็นว่าคนไทยนั้นหันมาพึ่งมูเตลูมากยิ่งขึ้น จากงานวิจัยหัวข้อการตลาด Marketing in the Uncertain World การตลาดของคนอยู่เป็น เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 ซึ่งสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างกว่า 1,200 ตัวอย่าง พบว่า

ปัจจัยที่ทำให้คนไทยเกิดความกังวล ได้แก่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 คิดเป็น 76.8% ตามมาด้วยอันตรายจากปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 คิดเป็น 74.6% ด้านสังคมและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา คิดเป็น 65% ด้านเศรษฐกิจ คิดเป็น 64% ด้านเทคโนโลยี คิดเป็น 62.8% และด้านการเมือง คิดเป็น 62.6%

จากความกังวลและความไม่แน่นอนดังกล่าว ประกอบกับสถานการณ์การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำให้คนไทยต้องหาวิธีจัดการกับความรู้สึก จนเกิดปรากฏการณ์ 3 สิ่ง ได้แก่

  1. หันหน้าพึ่งสายมู หรือมีความเชื่อโชคลาง (Superstitious)
  2. เกิดความเชื่อในอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer)
  3. นิยมพูดคุยคลายเหงาในคอมมูนิตี้ออนไลน์ (Online Community)

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-732999

การเกิดขึ้นของธุรกิจที่เจาะการตลาดสายมู (Muketing) โดยเฉพาะ

ขอบคุณรูปภาพจาก https://positioningmag.com/
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.horowall.com/

ธุรกิจใหญ่กับการตลาดสายมู (Muketing) 

ขอบคุณรูปภาพจาก https://hip-th.me/tinder-ctw-campaign/
ขอบคุณรูปภาพจาก https://mgronline.com/business/detail/9650000005887
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.thansettakij.com/business/510950

การนำ การตลาดสายมู (Muketing) มาใช้อย่างไร ให้ไม่ดูงมงาย

  1. นำมาใช้เพื่อช่วยเปิดตลาดใหม่ เช่น ลูกค้าอาจจะยังไม่เคยมีเบอร์กับเครือข่ายนี้ แต่ทางเครือข่ายได้ออกแคมเปญเบอร์เสริมดวง อาจจะจูงใจดึงดูดลูกค้าใหม่ได้
  2. นำมาใช้เพื่อสร้างสีสัน เช่น สินค้าแฟชันที่มีหลายสีให้เลือก อาจจะเอามาปรับใช้กับการทำคอนเทนต์เลือกสินค้าตามสีของราศีต่าง ๆ เพื่อให้มีลูกเล่นมากยิ่งขึ้น
  3. นำมาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ เช่น สำหรับลูกค้าที่อยู่อย่างนาน/ ทำได้ถึงยอดประจำปี อาจจะมีการแถมทำนายโชคชะตาฟรี ก็สามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ 
  4. นำมาใช้เพิ่มรายได้ เช่น อาจจะเป็นลูกค้ารายเดิมหรือใหม่ แต่เป็นการออกสินค้าใหม่โดยการนำความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ดึงดูดลูกค้าได้เช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.brandage.com/article/24766/Mutelu

แต่อย่าลืมนะ! ว่าจะต้องระวังในการนำเสนอด้วย เพราะว่าเราจะต้องสร้างความเชื่อถือ ความจริงใจให้กับลูกค้าเหมือนเดิม

ถ้าใครที่อ่านแล้วรู้สึกสนใจและอยากทำการตลาดสายมู (Muketing) สามารถนำเอาทริคเล็ก ๆ ที่เราสรุปมาให้ นำไปปรับใช้เพื่อสร้างความแตกต่างและความดึงดูดให้กับผู้บริโภคได้เลย แต่ว่าถ้าใครยังไม่แน่ใจ สามารถทักมาถามที่ Foretoday ได้เลยนะ พวกเราพร้อมตอบและให้คำแนะนำมาก ๆ 

ใน EP หน้า Foretoday จะมาเขียนบทความเรื่องอะไร รอติดตามได้เลย!

Line@: bit.ly/ForeToday

FB Chat: http://m.me/foretoday

“A better tomorrow starts today “