Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Session ‘Work-Laugh Balance : 5 เรื่องหัวเราะทั้งน้ําตาของชาวออฟฟิศ’จากงาน CTC 2023

CTC 2023: สรุปประเด็นจาก Session ‘Work-Laugh Balance: 5 เรื่องหัวเราะทั้งน้ําตาของชาวออฟฟิศ’

สรุปประเด็นจาก Session Work-Laugh Balance พร้อมบทสรุปจาก Foretoday ให้ต่อจากนี้ทุกคนจะหัวเราะได้แบบไม่มีน้ำตาซ่อนอยู่! 

จากประสบการณ์การเป็นมนุษย์เงินเดือนกว่า 10 ปีที่ผ่านมา สู่การแชร์เรื่องราวต่าง ๆ ที่ชาวออฟฟิศทุกคนรู้สึกร่วมและหัวเราะทั้งน้ำตา ใน Session “Work-Laugh Balance: 5 เรื่องหัวเราะทั้งน้ําตาของชาวออฟฟิศ” ในงาน CTC 2023 ของคุณถนอม เกตุเอม จาก TAXBugnoms และ คุณโอมศิริ วีระกุล (Rocket Digital Agency) ในวันที่ 23 มิถุนายน 2023 ที่ว่าด้วยความจริง 5 อย่างที่ชาวออฟฟิศต้องเจอ พร้อมพูดถึง 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้พนักงานประจำทั้งหลายตัดสินใจลาออก! วันนี้ ฟอร์ทูเดย์ ขอนำเรื่องราวที่ได้รับฟังจากงานมาถ่ายทอดพร้อมกับสิ่งที่ผู้เขียนตกผลึกได้จาก Session นี้ มาให้ได้อ่านกันจ้าาาา

เปิดหัว Session ด้วยประโยคที่ว่า ไม่มีใครอยากลาออกหรอกนะถ้ามันไม่สุดจริง ๆ อ่ะ

หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่าลาออก หรือเคยมีประสบการณ์ ในการลาออกเหมือนกันใช่มั้ยครับ  ซึ่งคุณถนอมได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ว่า จริงๆ แล้วการลาออกไม่ได้เป็นสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ จะทำกันได้ง่าย ๆ นะ การตัดสินใจลาออกแต่ละครั้งนั้นพวกเขาได้ไตร่ตรองและมีการวางแผนมาอย่างดีทั้งตอนที่จะต้องลาเพื่อไปสัมภาษณ์งาน รวมถึงการใช้ความกล้าในการตัดสินใจในครั้งนั้น ๆ ด้วย ซึ่งปัจจัยของการลาออกหลัก ๆ ก็จะวนอยู่กับเรื่องที่พวกเราชาวออฟฟิศต้องร้องไห้ทั้งน้ำตานั่นแหละ นั่นจึงทำให้คิดว่าคนรุ่นใหม่ ๆ ที่เค้าลาออกกันน่ะ เค้าไม่ได้ลาออกเพราะมันเป็นเทรนด์หรอกนะ แต่เป็นเพราะมันมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้การตัดสินใจครั้งนั้นเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานมากเกินไป ปัญหาสุขภาพ หรือเรื่องอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งในงานก็มีภาพตัวอย่างให้ได้เห็นกันชัด ๆ ครับ

จากในภาพ เป็น Frame work ที่มาจาก Insight ของชาวออฟฟิศทั้งหลายที่คุณถนอมได้รวบรวมมาจากการทำเพจ Facebook ที่ลูกเพจได้มาแสดงความคิดเห็นผ่านคอนเท้นต์ต่าง ๆ โดยหลัก ๆ มีความจริงของชาวออฟฟิศ 5 อย่าง ที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ รู้สึกมีประสบการณ์ร่วมสุด ๆ มีอะไรบ้าง ไปดูกันได้เล้ยยย

ความจริง 5 อย่างที่พอฟังแล้วทำให้ชาวออฟฟิศอย่างเรารู้สึกมีประสบการณ์ร่วมสุด ๆ

1. การลาออกไม่ใช่การยอมแพ้ แค่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งชัยชนะ

2. เบื้องหลังการเบื่องาน คือการเบื่อผู้คน!

3. หัวหน้านี่แหละเป็นระเบิดเวลาที่ทำให้ใครหลายคนอยากลาออก!

4. เงินเดือนหรือเงินทอน เงินเดือนไม่ขึ้น โบนัสไม่มี หลอกล่อด้วยคำว่า ท้าทาย

5. สุขภาพกายใจ เหมือนจะตลก แต่ไม่ใช่เรื่องเล่น

ความจริง 5 อย่างของชาวออฟฟิศ 

1. การลาออกไม่ใช่การยอมแพ้ แค่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งชัยชนะ

ประโยคนี้แหละที่ทำให้คนทำงานรู้สึกกล้าที่จะตัดสินใจลาออกมากขึ้น ความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงานที่ต้องการพักผ่อนหลังจากลาออกโดยที่ไม่มีงานรองรับ ประโยคนี้ถือว่าสามารถช่วยลดความตึงเครียดของชีวิตลงได้เมื่อต้องตัดสินใจลาออก แค่ขอให้ได้ออกไปอยู่นิ่ง ๆ ได้พักผ่อนก็เพียงพอแล้ว ประโยคนี้จึงเปรียบเสมือนที่พึ่งทางจิตใจที่ทำให้คนที่เหนื่อยล้าจากการทำงานได้ลาออกอย่างสบายใจ เพราะพวกเขาหวังว่าจะได้ไม่ต้องทำหรือเหนื่อยล้าอีกต่อไป ซึ่งเอาเข้าจริงก็ยังมีประโยคอีกหลาย ๆ อันที่ชาวออฟฟิศอย่างเราคุ้นชินหูอีก อย่างเช่น “คนบ่นไม่เคยออก คนออกไม่เคยบ่น” คนที่เก็บซ่อนความรู้สึกไว้ในใจจนสุดท้ายก็แก้ปัญหาด้วยการลาออก ซึ่งนั่นก็เถียงไม่ได้ว่าไอพวกประโยคเหล่านี้เป็นประโยคที่ยอดฮิตซะเหลือเกิน

ถึงแม้ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเป็นเช่นไร ขอแค่ได้ออกมาพักเหนื่อยและโอบรับชัยชนะในวันข้างหน้าก็พอ แม้ยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในวันข้างหน้าก็ตาม 

2. เบื้องหลังการเบื่องาน คือการเบื่อผู้คน!

ปัญหาหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่าอยากลาออก เพราะงานหนักแค่ไหนแต่สภาพแวดล้อมดี ก็จะรู้สึกแอคทีฟและทำให้อยากสู้มากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าสภาพแวดล้อมไม่ดีพอและไม่มีใครซัพพอร์ท มันก็จะทำให้เบื่อถึงแม้ว่างานนั้นจะเคยชอบและเคยอยากทำก็ตาม สรุปแล้วมันคือการเบื่อนั่นแหละ ซึ่งมันอาจจะเป็นจากสภาพแวดล้อมการทำงานรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นลักษณะนิสัย หรือแม้แต่การมีพนักงานใหม่เข้ามาทำให้วัฒนธรรมแปลกไปก็เช่นเดียวกัน นั่นก็ทำให้เรารู้สึกว่าอยากลาออกได้เช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาและทำให้ผู้คนอยากลาออกได้

“คนเก่งงานของตัวเอง และยังเก่งงานของคนอื่นด้วยนี่ น่าเบื่อเนอะ!”

และประโยคข้างต้นที่คุณถนอมพูดถึงนี้ก็ยังสามารถบ่งบอกถึงปัญหาเล็ก ๆ ของทุกองค์กรที่มีคนที่ไม่รู้ของเรื่องขอบเขต และเล่นเกมการเมืองในองค์กร นั่นก็เป็นปัญหานี้และทำให้คนเบื่อและมีแนวโน้มลาออกได้เช่นกัน

3. หัวหน้านี่แหละเป็นระเบิดเวลาที่ทำให้ใครหลายคนอยากลาออก!

สิ่งที่เค้าสั่ง คือสิ่งที่ต้องทำ! การควบคุมของหัวหน้าที่ไม่โอเค การไม่แมตช์กันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พนักงานรู้สึกอยากลาออก 

ไม่มีใครอยากทำงานวันหยุด แต่หัวหน้าก็สั่งไม่หยุด สิ่งนี้ก็เป็นหนึ่งปัญหาหัวหน้า vs ลูกน้องเหมือนกัน แต่มุมมองของคุณถนอมได้เล่าว่า ถึงแม้เราจะรู้สึกไม่ดีกับหัวหน้าของเราอย่างไร สิ่งที่เราต้องเลือกทำคือการตระหนักรู้แค่ว่าหัวหน้าเราก็ไม่ได้ผิด ตัวเราเองก็ไม่ได้ผิด แต่เราแค่เข้ากันไม่ได้ 

“เราไม่ได้เป็นหัวหน้าเขาตลอดไป และเขาก็ไม่ได้เป็นลูกน้องเราตลอดไป”

การให้เกียรติกันและกันจะทำให้ในอนาคตหากหัวหน้าหรือลูกน้องได้โคจรมาเจอกันในสถานะที่แตกต่างออกไปจะทำให้เรายังสามารถร่วมงานกันได้อีกโดยไม่เคืองใจต่อกันอีกด้วย

4. เงินเดือนหรือเงินทอน เงินเดือนไม่ขึ้น โบนัสไม่มี หลอกล่อด้วยคำว่า “ท้าทาย”

หนึ่งในความจริงของชาวออฟฟิศที่ทำให้เรารู้สึกอยากลาออกคือ เงินกับงานที่ไม่สัมพันธ์กัน งานชาเลนจ์ทุกงานแต่พอมองดูสลิปเงินเดือนแล้วรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่าเหลือเกิน ไม่ได้ตามสิ่งที่ทุ่มเทไป สิ่งที่คุณถนอมพูดในหัวข้อนี้คือเราควรอ่านชีพจรบริษัทตัวเองให้เป็น โดยชีพจรที่ว่านี้ก็คือการดูงบการเงินในบริษัทให้เป็นและควรรู้ว่าบริษัทเรามีเงินอยู่ขนาดไหนนั่นเอง ถ้าเราไปพิจารณาตรงนี้ก็จะทำให้เราสามารถคาดการณ์และรู้ว่าเราควรจะอยู่หรือไป และจัดการกับแผนชีวิตการทำงานของเราได้ต่อไป

5. สุขภาพกายใจ เหมือนจะตลก แต่ไม่ใช่เรื่องเล่น

“รู้สึกแย่ไม่ได้แปลว่าเราแพ้หรืออ่อนแอ มันเป็นแค่ความรู้สึก“

Pain point บางอย่างของชาวออฟฟิศที่เห็นได้จากตอนที่มีกระแส LGBTQ ที่บริษัทศรีจันทร์มีสวัสดิการเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา เป็นที่ฮือฮามากในโลกออนไลน์โดยที่บริษัทศรีจันทร์ไม่ได้ทำการบูสโพสต์อะไรเลย ตัวนี้เป็นดัชนีชี้วัดที่ทำให้เห็นได้ชัดว่าในปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จำนวนกลุ่มคนเหล่านี้จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ คุณถนอมได้ยกตัวอย่างประมาณว่า “ป่วยเป็นหวัดไปหาหมอก็สามารถรักษาได้ทันที แต่ป่วยใจกว่าจะรู้ว่าเป็นใช้เวลานานซึ่งบางทีก็ไม่กล้าพูดถึงด้วยเพราะพวกเรายังไม่รู้จักมันดีพอว่าอาการเหล่านี้มันคืออะไร”   ซึ่งหากออฟฟิศมีสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพจิตก็จะถือเป็นเรื่องที่ดีมากในปัจจุบัน เพราะการที่พนักงานได้รู้ว่าตัวเองเป็นอะไรก็จะช่วยให้รักษาได้ทันท่วงทีและส่งผลกระทบน้อยกว่าการที่เราต้องทนไปเรื่อย ๆ จนไม่ไหวและเกิดการลาออกได้ สิ่งสำคัญคือถ้าตัวเองไม่ไหวให้บอกว่าไม่ไหวเพื่อหาวิธีแก้ปัญหานั้นเป็นข้อ ๆ ไป ค่อย ๆ เรียบเรียงความคิด ให้เราสามารถทำงานอย่างมีความสุขได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องลาออกด้วยซ้ำ

“การเห็นใจซึ่งกันและกันสามารถช่วยได้”

 คุณถนอมทิ้งท้ายไว้ว่าการเข้าอกเข้าใจกันในออฟฟิศก็จะสามารถทำให้ทุกคนไม่ต้องอดทนอดกลั้นกับสิ่งที่เกิดขึ้นจนนำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพจิตได้

การรู้จักตัวเองจะทำให้เราทำใจยอมรับและรู้ว่าเราทำงานไปเพื่ออะไร

พิจารณาตัวเองผ่าน 4 Factors ยอดฮิตที่สรุปมาโดย คุณถนอม Taxbugnom

Frame work  4 ปัจจัย เมื่อไหร่ควรลาออก ?

ถ้าหนึ่งในสี่ไม่ดี เรายังพอทนได้

ถ้าสองในสี่ไม่ดี เราควรเริ่มเอะใจ 

ถ้าสามในสี่ไม่ดี เราควรเตรียมตัว 

ถ้าทั้งสี่เรื่องไม่ดี พี่จะอยู่รออะไรครับ

คุณโอมศิริ วีระกุล (Rocket Digital Agency) 

การตัดสินใจลาออกนั้นปัญหาหลักมาจาก 4 ปัจจัยที่ทางคุณถนอมและคุณโอมได้รวบรวมไว้ ซึ่งการให้น้ำหนักกับ 4 ปัจจัยนี้ ชาวออฟฟิศแต่ละคนก็จะมีการให้น้ำหนักที่ต่างกันออกไป จึงทำให้เราไม่สามารถตัดสินอย่างตรงไปตรงมาได้แต่เราควรตอบตัวเองตั้งแต่แรกให้ได้ว่าเราให้ความสำคัญกับเรื่องไหนมากที่สุด

โดยคุณถนอมได้โพสให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมผ่านทาง Twitter @TAXBugnoms   ว่าสิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือเราควรเข้าใจตัวเองให้มาก ๆ ว่างานที่เราทำอยู่มันให้อะไรกับเรา และในทางกลับกัน มันเอาอะไรจากเราไป ซึ่งถ้าใครอยากอ่านเพิ่มเติมแบบเต็มสามารถคลิกเข้าไปอ่านที่ลิ้งก์นี้ >>> TAXBugnoms on twitter เมื่อไหร่ควรลาออก?” ได้เลยนะครับ

สุดท้ายนี้ การปรับตัวเข้าหากันไม่ว่าจะฝั่งองค์กรเอง หรือฝั่งตัวพนักงานบริษัทเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

อยากให้ผู้อ่านทุกคนนำ frame work นี้ไปปรับใช้ จริง ๆ แล้วกรอบความคิดนี้สามารถไปปรับใช้ได้กับทุกอาชีพเลย ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นพนักงานออฟฟิศเท่านั้น และบทความนี้ก็ไม่ได้สนับสนุนให้คนลาออก แต่อยากให้มองเห็นถึงทางแก้ไข เพื่อพร้อมปรับตัวและคิดไตร่ตรองวางแผนให้รอบคอบให้ดี

การพยายามหาข้อปรับปรุง และหาว่าเราให้ความสำคัญกับอะไรจะทำให้เราสามารถพร้อมรับมือกับสิ่งนั้นได้มากขึ้น ทั้งในแง่ของพนักงานตัวเล็ก ๆ หรือแม้แต่ในเชิงองค์กรเองก็สามารถนำกรอบความคิดนี้ไปปรับใช้ได้ เช่นเก็บรวบรวมข้อมูลเรื่องความไม่สบายใจของพนักงานไว้แล้วลงมือหาทางแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เป็นองค์กรที่น่าอยู่ของพนักงานยิ่งขึ้น และถ้าเป็นในแง่ของตัวพนักงานเองทำให้สามารถจัดการตัวเองเพื่อเตรียมรับมือกับอนาคตรวมถึงสามารถหาความสุขจากการทำงานได้อีกครั้ง 

สำหรับบทความจาก Session ‘Work-Laugh Balance : 5 เรื่องหัวเราะทั้งน้ําตาของชาวออฟฟิศ’ นี้ ฟอร์ทูเดย์หวังว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย ขอเป็นกำลังใจให้ชาวออฟฟิศและคนทำงานทุกท่านสามารถผ่านความยากลำบากเพื่อกลับมาหัวเราะกับการทำงานได้แบบไม่มีน้ำตาซ่อนอยู่อีกครั้งนะครับ

STORY BY
Gun, Human Resources Analyst of FORETODAY

“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat: http://m.me/foretoday