twitter-marketing

สรุป 4 เทคนิคการตลาดแบบตีสนิท Target Audience และรูปแบบ Ads บน Twitter ที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม

“Twitter” แพลตฟอร์มที่เอื้ออำนวยให้ทำการตลาดได้ใกล้ชิดกับ Target Audience ชนิดที่เหมือนไปตีสนิทจนได้เพื่อนเพิ่มมาอีกกลุ่มใหญ่ มีเทคนิคการตลาด และรูปแบบการโฆษณาแบบไหนที่จะช่วยแบรนด์ของคุณได้บ้าง มาดูกัน

ธรรมชาติการใช้งานของ User บน Twitter เอื้ออำนวยสำหรับทำการตลาดอยู่แล้ว

ธรรมชาติของ User บนแพลตฟอร์ม Twitter มีรูปแบบการใช้งานที่แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดระหว่าง User ด้วยกันเองแม้จะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เพราะเนื้อหาที่ผู้ใช้งานทวีต มักเป็นเรื่องราวชีวิตของตัวเอง แชร์ประสบการณ์ รวมถึงการรีวิวสินค้า ป้ายยา คำแนะนำต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ User ท่านอื่นเข้ามาแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ ผ่านฟังก์ชันการใช้งานที่มีทั้งการ Tweet, Retweet, Quote Tweet, Mention รวมถึงการ Reply ใต้ทวีตในรูปแบบ thread

รูปแบบการใช้งานเหล่านี้เองที่เอื้ออำนวยให้การตลาดของทวิตเตอร์มีจุดเด่นที่ค่อนข้างแตกต่างกับแพลตฟอร์มอื่น และตัว User ก็เลือกที่จะไว้เนื้อเชื่อใจ User ด้วยกันเอง มากกว่าการสื่อสารจากตัวแบรนด์โดยตรง

3 เทคนิคการตลาดแบบตีสนิท Target Audience

  1. การตลาดแบบ KOC เหมือนโดนป้ายยาจากเพื่อน

หลายคนคงคุ้นหูกับการตลาดแบบ Influencer Marketing อย่าง KOL กันมาบ้าง แต่วันน้ีเราจะพามารู้จักกับ KOC

  • Key Opinion Customer (KOC) คือ กลุ่มคนที่ใช้โซเชียลมีเดียทั่วไป ไม่ได้เป็นคนที่มีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ แต่จุดเด่นคือ เป็นคนที่ใช้สินค้าจริงๆ และนำมารีวิวจนมีผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง
  • Twitter มีการใช้กลยุทธ์การตลาดออนไลน์แบบ KOC กันอย่างแพร่หลาย เพราะผู้ติดตามหรือ User จะมีความเชื่อใจมากกว่า เหมือนได้อ่านรีวิวจากเพื่อน หรือเสียงจากผู้ใช้จริงที่ไม่ได้ถูกจ้างมา
  • จุดเด่น คือคอนเทนต์เป็นธรรมชาติกว่า ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่อยากอ่านรีวิวจากผู้ใช้จริง
  • เกิด Engagement อย่างรวดเร็ว User จะบอกต่อกันเหมือนเพื่อนๆ คุยกัน

  1. Twitter สร้าง User-Generated Content ได้ง่ายที่สุด
  • User-Generated Content คือ การที่ผู้บริโภคผลิตคอนเทนต์ด้วยตัวเอง และมีการกล่าวถึงแบรนด์ โดยที่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องเสียเงินจ้าง
  • อยากเพิ่มคอนเทนต์ UGC ให้แบรนด์ แบรนด์ต้องสร้างพื้นที่รีวิวให้ลูกค้า ซึ่งทวิตเตอร์เป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมาก เช่น การสร้างแฮชแท็กเป็นของตัวเอง
  • การใช้ประโยชน์จาก “Hashtag” ในทวิตเตอร์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อเป็นพื้นที่รีวิวสินค้า แต่ยังใช้สร้างกระแสให้แบรนด์ได้โดยที่แบรนด์ไม่ต้องเสียเงินสักบาท เช่น เมื่อแบรนด์มีการทำงานร่วมกับศิลปิน กลุ่มแฟนคลับจะเทรนด์แฮชแท็กเพื่อให้ติดเทรนด์สูงที่สุด เพราะพวกเขาอยากให้ศิลปินได้รับความนิยม จึงได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย

  1. การใช้ Affiliate Marketing
  • Affiliate Marketing คือ รูปแบบการตลาดออนไลน์ที่เราสามารถนำลิงก์สินค้าและบริการต่างๆ จากเว็บไซต์มาแนะนำเพื่อส่งคนไปซื้อสินค้าบนเว็บไซต์นั้นๆ
  • โมเดลของ Affiliate Marketing ประกอบด้วย 3 ผู้เกี่ยวข้อง คือ Advertiser(แบรนด์), Publisher(เจ้าของช่องทาง/ผู้ใช้งานทวิตเตอร์) และ Customer(ผู้ซื้อสินค้า)
  • เมื่อ Advertiser อยากขายสินค้า จึงมองหา Publisher เพื่อให้ช่วยพูดถึงและโน้มน้าว Customer ให้ซื้อสินค้า
  • ตัวอย่าง เช่น เมื่อ User บนทวิตเตอร์ สร้างคอนเทนต์ในรูปแบบ KOC หรือ UGC แล้ว ก็จะใช้ Affiliate Marketing ควบคู่ไปด้วย ทาง User เองก็จะได้ค่า Commission เป็นการตอบแทนที่แนะนำสินค้านั่นเอง

4. การทำโฆษณาบน Twitter

จากหัวข้อข้างบนจะเป็นการทำ Marketing โดยมีบุคคลอื่นๆ มาช่วยในการโฆษณา แต่ในหัวข้อนี้จะเป็นการพูดถึงการทำโฆษณาบน Twitter โดยตรงหรือเรียกกันว่า Twitter Ads นั่นเอง ถึงแม้แพลตฟอร์มนี้จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่ของ Agency มากหนัก แต่ถือว่าการทำ Brand Awareness ให้กับแบรนด์ถือว่าน่าสนใจเลยทีเดียว ซึ่งรูปแบบของการทำโฆษณามีทั้งหมด 6 แบบ แล้วแต่ละอย่างแตกต่างกันอย่างไร ไปดูกัน

  • Promoted Tweets

เป็นโฆษณาการ Tweet ธรรมดาทั่วไปบนหน้า News Feed ที่ผู้ใช้ Twitter สามารถเลื่อนผ่านก็เห็นได้อย่างง่าย และยังสามารถเกิด Engagement ได้ ไม่ว่าจะ Like, Comment หรือ Retweet ซึ่งหน้าตาของมันจะแยกออกจาก Tweet ธรรมดาได้โดยการมีคำว่า Promoted Tweets Ads อยู่ข้างล่าง ในส่วนของ ad format มีหลาย

รูปแบบอย่างเช่น Image Ads, Video Ads, Text Ads หรือ Carousel Ads

  • Follower Ads

เป็นแคมเปญที่มี Objective เพื่อให้คนกด Follow Twitter Account ของเราโดยเฉพาะ ซึ่งจะคล้ายกับแคมเปญ Page likes บนเฟสบุคนั่นเอง

  • Twitter Takeover

ความแตกต่างที่แพลตฟอร์มอื่นก็ทำไม่ได้ก็คือการมีฟีเจอร์ Trends บน Twitter นั่นเอง ความนิยมของฟีเจอร์นี่มากขึ้นเมื่อทุกกระแสสังคม หรืออะไรที่เป็นไวรัลตอนนั้น มักจะถูกติดเทรนด์ทวิตเตอร์เสมอ ทำให้ฟีเจอร์นี่เป็นอีกฟีเจอร์ที่เหมาะกับ Brand ที่ต้องการการเข้าถึงมากๆ เพราะโฆษณาของคุณจะไปโผล่อยู่ข้างบนสุดของหน้า Trending นั่นเอง

ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 อย่างคือ

Timeline Takeover : โฆษณาของคุณจะถูกไว้บนสุดของหน้า News Feed หรือ Timeline เมื่อ User เข้าทวิตเตอร์มาจะเห็นโฆษณาเราตั้งแต่แรก

Trend Takeover / Trend Takeover+ : โฆษณาของคุณจะถูกไว้ใน Trending หรือบนสุดของหน้า Explore tab ซึ่งสามารถใส่ Creative เข้าไปได้ด้วย

ตัวอย่าง Timeline Takeover

ตัวอย่าง Trend Takover / Trend Takeover +

  • Twitter Amplify

เป็นโฆษณาที่ช่วยให้ User สามารถเข้าถึงแบรนด์ได้โดยการจัดหมวดหมู่โฆษณาแบรนด์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิดีโอระดับพรีเมี่ยมจากผู้เผยแพร่ที่มีความเกี่ยวข้องกัน

  • Twitter Live

เป็นการโฆษณาแคมเปญ Live ให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามาร่วมฟัง Live ได้อย่างเรียลไทม์ เช่น การ Broadcast ปาร์ตี้ คอนเสิร์ต หรือ แฟชั่นโชว์

  • Twitter Ad Feature

เป็นการทำโฆษณารูปแบบต่างๆ เช่น Polls, Conversion Buttons, App Buttons, Website Buttons, Branded Hashtag และ Branded Notifications

ตัวอย่าง Polls และ App Buttons

บทส่งท้าย

สำหรับแบรนด์ที่ต้องการ Awareness หรือต้องการ Engagement ถือว่า Twitter เป็น Social Media Platform ที่ค่อนข้างตอบโจทย์มากๆ ไม่ว่าการใช้ Influencer เข้ามาช่วยโฆษณาสินค้าให้ หรือการยิงโฆษณาผ่าน Twitter Ads โดยตรง แต่ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับ Goal และกลุ่มเป้าหมาย เพราะจะเห็นว่าคนที่ใช้ Twitter จริงๆจะยังไม่มากเท่า Platform อื่นๆ แต่ถ้าอยากเจาะกลุ่มเด็กวัยรุ่น Twitter ก็เหมาะมากๆเลย