การทำงานติดๆกันเป็นเวลานาน 7-8 ชั่วโมงทุกวัน มักจะส่งกับความอ่อนล้าต่อสมองของคนทุกคน รวมถึงความรวดเร็วของสื่อต่างๆในปัจจุบันที่พร้อมจะดึงจุดโฟกัสของเราให้ออกจากงานได้ทุกเมื่อ ส่งผลให้การทำงานของอาจสะดุดและมีประสิทธิภาพที่ลดลง
วันนี้เราจะมาพูดถึงเทคนิคที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดอาการเหนื่อยล้าและเพิ่มการโฟกัสเวลาทำงานมากขึ้น ที่มีชื่อว่า Pomodoro Technique
Pomodoro คืออะไร
Pomodoro Technique ( Pomodoro ในภาษาอิตาลีแปลว่ามะเขือเทศ ) เป็นแนวคิดจากคุณFrancesco Cirillo ชาวอิตาลีตอนปลายทศวรรษ1980 มีจุดเริ่มต้นจากการที่สมัยที่เขายังเป็นนักศึกษา เขารู้สึกว่าตัวเขาเองนั้นไม่สามารถจัดการกับเวลาอ่านหนังสือในแต่ละวันได้ และไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่บ้างในแต่ละวัน ในขณะที่เวลาสอบก็ใกล้เข้ามาทุกที เขารู้สึกฟุ้งซ่านง่ายและไม่มีสมาธิ ทำให้เขาตัดสินใจท้าทายตัวเองโดยการมุ่งโฟกัสกับการเรียนอ่านหนังสืออย่างเดียวเป็นเวลา10นาทีโดยที่ไม่หยุดหรือวอกแวกไปทำอย่างอื่น โดยที่เขาใช้นาฬิกาจับเวลารูปมะเขือเทศที่พบในห้องครัวของเขาเป็นตัวจับเวลา (เป็นที่มาของชื่อ Pomodoro Technique)
วิธีการบริหารเวลาด้วยเทคนิค Pomodoro มีจุดแข็งที่ความเรียบง่ายเข้าใจได้ไม่ยากแต่ใช้ได้จริง โดยการทำงานที่เราจะแบ่งเป็นเวลาทำงาน 1 pomodoro 25 นาที และ เวลาพักผ่อนสั้นๆ 5 นาที
วิธีการใช้
- วางแผน หรือ list สิ่งที่จะทำ
- ตั้งเวลา 25 นาที หรือ เท่ากับ 1 Pomodoro
- เริ่มจับเวลา
- ทำ task ที่เราแพลนไว้ว่าจะทำ และต้องทิ้งสิ่งรบกวนต่างๆด้วย เช่น โทรศัพท์มือถือ และไม่ควรทำ multitasking
- เมื่อครบ 25 นาที หรือ 1 Pomodoro ให้พัก 5 นาที ให้เราพักผ่อนเข้าห้องน้ำ เล่นมือถือ หรือ อื่นๆ
- เมื่อครบ 4 ครั้ง หรือ 4 Pomodoro ให้พักเบรคยาว 15-30นาที
- ทำวนลูปไปแบบนี้เรื่อยๆจนเสร็จ
ข้อดี
- ช่วยให้เราสามารถโฟกัสการทำงานได้ดีมากขึ้น มากกว่าการทำงานแบบหักโหมต่อเนื่องเป็นเวลานานที่อาจทำให้สมองเราอ่อนล้า
- ช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับงาน เพราะ Pomodoro ให้ความสำคัญกับการแบ่งเวลาการทำงานทำให้เราสามารถมุ่งสมาธิไปกับงานที่เราจัดสรรเวลาได้ดีกว่าการที่เราไม่วางแผน การแบ่งเวลาที่ชัดเจนจะช่วยทำให้ลดความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับงานอื่นๆ ถ้าเราไม่มีการวางแผนงานและคิดถึงงานอื่นๆมากมายระหว่างที่ทำงานอยู่ สมาธิจะกระจัดกระจายและอาจทำไม่เสร็จสักงาน
- มีเวลาพักสมองบ่อยๆ ทำให้ไม่ล้าจากการทำงาน
ข้อเสีย
- อาจจะทำให้เกิดการกดดัน จากการกำหนดเวลา ซึ่งอาจจะทำให้เรากังวลอยู่กับเรื่องเวลา จนหลุดโฟกัสการทำงาน
- บางงานอาจจะใช้เวลานานกว่า 25 นาที อาจจะไม่เพียงพอต่อการทำงาน
- หลังจากเราพัก เราอาจจะลืมว่า เราต้องทำอะไรต่อ ทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการทำงาน
- เทคนิคนี้อาจจะไม่เวิคกับงาน ad hoc บ่อยๆ
สรุป
เราสามารถนำเทคนิค Pomodoro นี้ไปลองปรับใช้กับการทำงานได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น จากการที่แบ่งการทำงานออกเป็นช่วงเวลาที่สั้นลง สามารถลดอาการ Burn Out ของสมองลงได้ แต่เทคนิคนี้ก็ใช่ว่าจะเหมาะสมกับทุกๆตำแหน่งสายงาน สิ่งที่สำคัญคือถ้าเราเข้าใจหลักการของเทคนิค Pomodoro เราจะสามารถนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้ได้กับการทำงานต่างๆที่เราอาจต้องเจอในอนาคต
“A better tomorrow starts today”
Line@ : bit.ly/ForeToday
FB Chat: http://m.me/foretoday