ดราม่า Tinder Campaign

หาคู่? ชวนวิเคราะห์แคมเปญใหม่จาก Tinder ดราม่าการตลาดแบบใด?

หาคู่ หรือ หาหวานใจ ยังไงก็ต้องเข้าทินเดอร์ ด้วยการทำกระแสแคมเปญใหม่ Localized Marketing ที่ได้รับกระแสเชิงบวกและเชิงลบจากสังคม เกิดเป็นกระแสดราม่าบนโลกออนไลน์ 

เกริ่นนำของกระแสจากแอปพลิเคชันหาคู่ Tinder

แอปพลิเคชันสำหรับหาคู่ยอดฮิตอย่าง “Tinder” ที่สามารถช่วยพาคุณได้เข้าถึงและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากมายบนโลกออนไลน์จากการ Match กัน เค้าได้มีการผุดไอเดียแคมเปญการตลาดใหม่ล่าสุด โดยการใช้ Localized Marketing เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้คนได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯเท่านั้น!  

แคมเปญนี้ถึงขนาดเป็นไวรัลบนโลกออนไลน์และมีผู้คนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากเลยทีเดียว เพราะไม่เพียงแต่สามารถช่วยหาคู่ให้กับเราได้แล้ว เค้ายังสามารถใช้เป็นสื่อ Soft Power ที่ช่วยโปรโมตของเด่นๆประจำจังหวัดได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น อาหาร, ของขึ้นชื่อประจำจังหวัด หรือ สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เราก็สามารถเอาไปใช้เขียนเชื่อมโยงกับตัวเราได้หมดเลย อย่างเช่น “นอกจากชอบกินไก่ทอดหาดใหญ่แล้ว ยังชอบผู้บ่าวจากหาดใหญ่ด้วยนะจ๊ะ”    

แต่ถึงยังไงแคมเปญนี้ก็ยังทำให้เสียงของผู้คนบนโลกออนไลน์แตกออกเป็น 2 ฝ่าย จนกลายเป็นประเด็นดราม่าที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในตอนนี้

ความเป็นมาของกระแสแคมเปญการตลาด

แอปพลิเคชัน Tinder ได้เริ่มต้นสร้างแคมเปญทางการตลาดมากมายเพื่อให้ผู้คนหันมาสนใจใช้งานแอปพลิเคชันนี้กันมากขึ้น โดยได้มีการสร้างกลยุทธ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

แอปพลิเคชัน Tinder กับการเล่นเทรนด์ใน Social Media

การใช้กระแสของโซเชียลมีเดียในการสร้างแคมเปญสำหรับโปรโมตแอปพลิเคชันหาคู่อย่าง Tinder นั้น ได้มีการอัปเดตเทรนด์ที่บรรดาคนโสดต่างให้ความสนใจอยู่เสมอ นอกจากการปัดซ้ายปัดขวาแล้ว ก็จะมีการติดแฮชแทค (#) เรื่องต่าง ๆ ไปจนถึงการใช้อิโมจิที่เกี่ยวข้องกับความโสด ซึ่งในปี 2024 ทางแอปหาคู่ Tinder ได้ผุดไอเดียแคมเปญแบบใหม่ที่ใช้โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยโปรโมต นั่นก็คือการสร้างเทรนด์ใหม่ “กลยุทธ์การตลาดท้องถิ่น” โดยการใช้ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดนั้น ๆ ลงในเพื่อให้ผู้คนสามารถจดจำและเข้าถึงแอปพลิเคชันได้มากขึ้น    

การใช้กลยุทธ์การทำการตลาดท้องถิ่น หรือ Localized Marketing

Tinder ได้มีการนำกลยุทธ์การตลาดท้องถิ่น หรือ Localized Marketing ในการโปรโมตแคมเปญผ่านทางป้ายโฆษณาบิลบอร์ด โดยมีการใส่ข้อความต่าง ๆ ที่เป็นสินค้าและแบรนด์ในท้องถิ่นนั้น ๆ ลงไป เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนได้เข้าถึงและสนใจมาใช้งานในแอปพลิเคชัน Tinder กันมากขึ้น  

ตัวอย่างเช่น: การใช้คำว่า “ผู้บ่าว” “ไก่ทอดหาดใหญ่” หรือ “สาวโคราช” โดยสร้างเป็นประโยคดังนี้

ไก่ทอดหาดใหญ่ ❎

ผู้บ่าวหาดใหญ่ ✅

กระแสดราม่าที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์

สำหรับกระแสเชิงบวกผู้คนต่างมองว่าแคมเปญ Localized Marketing ที่เป็นการโฆษณาของ Tinder นั้นได้เข้ามาช่วยโปรโมตของดีประจำจังหวัด สถานที่ท่องเที่ยว รวมไปถึงผู้คนในจังหวัดนั้น ๆ ให้เป็นที่พูดถึง อีกทั้งยังช่วยให้ตนเองสามารถหาคู่ในแบบที่เราต้องการอีกด้วย และหลายคนมองว่าเป็นยุคใหม่แล้วไม่ควรคิดมาก

สำหรับกระแสเชิงลบที่เกิดขึ้นนั้นผู้คนกลุ่มหนึ่งต่างมอง Tinder ก็เป็นเหมือนการได้พื้นที่สื่อต่าง ๆ ฟรี แคมเปญนี้เป็นเหมือนสิ่งที่ไม่รู้กาลเทศะ ไม่ค่อยให้เกียรติสุภาพสตรี อย่างเช่นการเปรียบเปรยเพศหญิงโคราชว่า “มีรสชาติอร่อยเหมือนผัดหมี่” ข้อความดังกล่าวพวกเค้าต่างมองว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามสตรีชาวนครราชสีมา และบอกให้ลบแอปพลิเคชันทิ้งไป 

สรุปกลยุทธ์ทางการตลาดและกระแสดราม่าจากแคมเปญของ Tinder

1.ช่วยให้แบรนด์สามารถปรับเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอให้เหมาะสมกับผู้ใช้ในแต่ละพื้นที่

2.สร้างเนื้อหาและโฆษณาที่เน้นไปที่พื้นที่ท้องถิ่น ช่วยสร้างกระแสข่าวและความสนใจจากผู้ใช้ในพื้นที่นั้น ทำให้มีการแชร์ภาพและโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับ Tinder มากขึ้นในโซเชียลมีเดีย ซึ่งช่วยเพิ่ม Traffic และยอดผู้ใช้ใหม่เข้าสู่แพลตฟอร์ม

ในส่วนของประเด็นถกเถียงกันบนโลกออนไลน์ที่ว่าแคมเปญจากแอปหาคู่ Tinder นี้มีความเหมาะสมหรือไม่? อาจขึ้นอยู่กับมุมมองและความคิดของแต่ละคน บางคนอาจมองว่าสิ่งที่ทินเดอร์ทำเป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่ในขณะที่บางคนอาจมองว่าไม่เหมาะสม ดังนั้นการทำการตลาดที่ดีจึงควรวิเคราะห์และพิจารณาจากมุมมองของผู้คนทั้ง 2 ฝั่ง จากนั้นจึงนำมาปรับปรุงจุดอ่อนที่พบ เพื่อให้แคมเปญสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

#ForeToday #LocalizedMarketing #แคมเปญใหม่ #ทินเดอร์ #หาคู่