เวลาเราจะเขียนเล่าหรืออธิบายเรื่องอะไรสักอย่าง ทุกคนคงคิดว่ามันก็ไม่ได้ยากอะไรก็แค่เขียนความคิดลงไปใช่มั้ยครับ แต่ถ้าใครที่ต้องทำงานเขียนบ่อย ๆ จะรู้ว่าการเขียนอย่างเป็นระบบนั้นช่วยทำให้งานเขียนของเรามีคุณภาพมากขึ้นอย่างมหาศาล ที่สำคัญการเรียบเรียงความคิดในกระบวนการเขียน ยังช่วยทำให้เราเข้าใจหัวข้อที่เราจะเขียนได้อย่าลึกซึ้งมากขึ้นด้วย แล้วเราจะมาเรียบเรียงการเขียนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนยังไง? บทความนี้ได้นำเสนอเทคนิคง่ายๆ 5 ขั้นตอน จะมีอะไรบ้างไปอ่านกันได้เลย
หัวข้อในบทความนี้ ฟอร์ทูเดย์สรุปมาให้แล้ว!
1. เขียนร่างลำดับการนำเสนอ: เริ่มต้นด้วยการเขียน Outline เรียงลำดับเนื้อหาให้ชัดเจน เปรียบเสมือนโครงร่างของงานเขียน
2. นำ Outline มาแตกเป็นย่อหน้า: ขยายความแต่ละหัวข้อใน Outline ให้กลายเป็นย่อหน้า โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความสมบูรณ์แบบ เน้นการเขียนให้ครบถ้วน
3. เรียบเรียงและตรวจทาน: เมื่อเขียนครบถ้วนแล้ว นำมารีวิวอีกครั้ง ปรับโครงสร้างเนื้อหาให้สอดคล้อง ตรวจสอบความถูกต้องและความลื่นไหลของภาษาและวนกลับไปดู Outline อีกครั้ง ว่ามีส่วนไหนที่ควรปรับเปลี่ยน สลับตำแหน่ง เพิ่มเติม หรือลบออก เพื่อให้เนื้อหาสื่อสารได้ครบถ้วนและสมบูรณ์
4. ปรับแต่งภาษาให้เหมาะกับแพลตฟอร์ม: เลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสื่อที่นำเสนอ เช่น ภาษาที่เรียบง่ายสำหรับ Facebook หรือภาษาที่เป็นทางการสำหรับบทความบนเว็บไซต์
- เขียนร่างลำดับการนำเสนองาน
ขั้นแรก เขียนดราฟแรกออกมา เขียนไปเลย เขียนให้มันยาวกว่าปกติ ไม่ต้องหยุดมาแก้คำไปมา แก้คำผิด แต่งคำสวย เขียนไปให้เสร็จก่อน โดยเริ่มจากการเรียบเรียงลำดับการนำเสนอของงานเขียนทั้งหมด ตัวอย่างเช่นเราต้องการจะเขียนเกี่ยวกับการทำ Content ใน TikTok Outline ของเราก็อาจจะมีลำดับตามเรื่องที่เราอยากเล่าเพื่อให้คนเข้าใจได้ง่ายที่สุด
ตัวอย่าง Outline
- (หัวข้อ) Content ใน TikTok กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้
- (หัวข้อที่ 1) อันตราการเติบโตของ TikTok
- (หัวข้อที่ 2) เพราะอะไรคนถึงชอบเล่น TikTok
- (หัวข้อที่ 3) แล้วเราจะทำ Content แบบไหนคนที่เล่น TikTok ถึงจะสนใจ
- (หัวข้อที่ 4) เราสามารถใช้ Content ใน TikTok ช่วยการเติบโตของแบรนด์เรายังไงได้บ้าง
- (หัวข้อที่ 5) นอกจาก TikTok แล้วเรายังสามารถใช้เทคนิคการสร้าง Content แบบนี้กับอะไรได้อีก
- สรุป
- นำ Outline มาแตกออกมาเป็นย่อหน้า
หลังจากเขียน Outline เสร็จเราก็เริ่มนำแต่ละหัวข้อข้อใน Outline มาแตกออกเป็นย่อหน้า คำแนะนำในการเขียนของขั้นตอนนี้คือ อดใจไว้อย่าเพิ่งย้อนกลับไปลบ ไปแก้ ไปเขียนอะไรใหม่ อะไรที่เราเขียนมันออกมาแล้วก็ปล่อยมันไว้แบบนั้น ถึงเราจะรู้สึกว่ามันต้องกลับไปแก้ก็ตาม เพราะการเขียนอะไรให้ดี แม้แต่นักเขียนชื่อดังแทบทั้งหมดก็ต้องทำสองอย่างนี้ อย่างแรกคือการเขียน อย่างที่สองคือการแก้ไข ซึ่งถ้าเราทำสองอย่างไปพร้อม ๆ กัน ทำให้งานเขียนของเราช้า แถมยังต้องแบ่งสมองทำสองเรื่องที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงพร้อมกัน ทำให้งานในแต่ละส่วนออกมาไม่ดีเท่าที่ควรด้วย เราจึงควรเขียนให้จบก่อน ไหลไปเลยอย่าหยุดจนกว่าทุกหัวข้อใน Outline จะกลายเป็นย่อหน้าทั้งหมด
- นำเนื้อหาทั้งหมดมาเรียบเรียงและตรวจทาน เพราะในการเขียนอะไรสักอย่างมันมีขั้นตอนสองอย่าง คือการเขียน กับการแก้ไข!
หลังจากทุกย่อหน้าถูกเขียนออกมาแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลามาเกลางานของเราให้คมขึ้นกันแล้ว ลองอ่านย่อหน้าของเราอีกครั้ง แบ่งมันออกเป็นประโยค ๆ แล้วดูซิว่ามีประโยคไหนควรโดนสลับตำแหน่งกับประโยคอื่น มีตรงไหนควรโดนลบทิ้ง หรือมีอะไรที่ต้องเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์บ้าง
แล้วถ้าเราทำหมดแล้ว แต่ยังรู้สึกว่างานไม่ดีพอล่ะทำยังไง ก็ให้วกกลับไปดูที่ Outline ใหม่เลยครับ แล้วไล่ตามลำดับพวกนั้นอีกรอบ ดูว่ามี Outline ไหนควรเลียงลำดับใหม่ ควรมีอะไรเพิ่มเติมเข้ามา จากนั้นเราก็ลงมาดูทีละย่อหน้า ทำซ้ำทำวนไปจนกว่าจะได้งานที่มีคุณภาพแบบที่เราต้องการ มีลำดับการนำเสนอที่ชัดเจน และเกิดเป็นงานเขียนที่ดี
- งานเขียนที่เข้าถึงใจคนอ่าน คืองานเขียนที่อยู่ถูกที่ถูกแพลตฟอร์ม เพราะจะทำให้งานเขียนควรค่าแก่การน่าจดจำ!
หลังจากนั้นก็มาสู่ขั้นตอนสุดท้าย เกลาภาษาของเราให้สวยงามเข้ากับสื่อที่จะนำเสนอ เช่นเราเขียนลง Facebook เราก็อาจจะต้องตัดประโยคทุกบรรทัด เลือกใช้คำที่ง่ายกับคนอ่านใน Facebook แต่ถ้าเราเขียนบทความลงบนเว็บ เราก็สามารถเขียนย่อหน้ายาว ๆ ได้ รวมถึงการเลือกใช้คำเราก็มาปรับให้เข้ากับระดับของคนฟังที่เราต้องการในขั้นตอนนี้
เวลาเราจะเขียนเล่าหรืออธิบายเรื่องอะไรสักอย่าง งานเขียนที่ควรค่าแก่การอ่านคืองานที่ใช้ภาษาสละสลวยและตรงกับลักษณะนิสัยของคนอ่าน การเขียนให้มีคุณภาพและเข้าถึงใจผู้อ่านนั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่การถ่ายทอดความคิด แต่มันเป็นศิลปะการเรียบเรียงและถ่ายทอด Key message ไปสู่บุคคลที่ต้องการซึ่งบทความนี้ได้นำเสนอเทคนิคง่ายๆ 5 ขั้นตอนมาให้แล้ว
และเคล็ดลับเพิ่มเติม คือฝึกฝนการเขียนอย่างสม่ำเสมอ, อ่านงานเขียนของผู้อื่นเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ, ขอความคิดเห็นจากผู้อื่นเพื่อพัฒนาผลงาน, อย่ากลัวที่จะแก้ไขงานเขียนของตัวเอง โดยพวกเราหวังว่าบทความนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจและสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กับงานเขียนของท่านได้เป็นอย่างดีครับ