Google Search Console คือเครื่องมือที่เหมาะกับผู้ใช้บริการทุกคนที่มีเว็บไซต์ของตนเอง โดยเฉพาะในสาย SEO เเละฝั่งผู้พัฒนาเว็บไซต์ที่ต้องการตรวจสอบความเรียบร้อยของเว็ปหรืออัพเกรดเว็ปไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การใช้งานเครื่องมือนี้สามารถใช้ได้ทันที เพียงเเค่คุณมีบัญชี Google ก็พอ
อ่านเพิ่มเติมเรื่องของ Google Search Console
บทความนี้จะมาบอกเกี่ยวกับการใช้งาน Google Search Console สำหรับผู้เริ่มต้น ที่จะทำให้คุณเข้าใจวิธีการใช้งาน รวมถึงความจำเป็นของเครื่องมือตัวนี้ Google Search Console เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุง เเละพัฒนาเว็บไซต์ของคุณ เเละเครื่องมือตัวนี้มีผลอย่างมากในการทำ SEO
เเละวันนี้เราจะมาสอนคุณตั้งเเต่ขั้นตอนเเรกเลยนะครับ การติดตั้ง Google Search Console วิธีการติดตั้ง Google Search Console สำหรับเว็บไซต์ของคุณ ขั้นตอนนี้เราจะมาสอนการสมัครเเละการใช้งาน การเพิ่มเว็บไซต์เข้าไปยังส่วนของ Property การยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ของคุณ รวมถึงการอนุญาตการเข้าถึง
สมัคร Google Search Console อย่างไร ?
ขั้นเเรก เข้าไปที่ https://search.google.com/search-console/about และกด “เริ่มใช้งานเลย” ล็อกอินด้วยบัญชี Google (Gmail) ขั้นตอนถัดมาให้ทำการเพิ่มเว็บไซต์ Property ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- Domain Property
การเพิ่มเว็บไซต์ของคุณด้วยการระบุโดเมน เช่น foretoday.asia, Search Console จะทำการจัดรูปเเบบ URL ของคุณทั้งหมด โดยที่คุณไม่ต้องไปคอยกดเพิ่มทีละรูปเเบบ URL เหมือน URL- prefix Property
- คำนำหน้า URL ( URL – Prefix Property )
การเพิ่มเว็บไซต์ด้วยรูปเเบบ URL ที่คุณใช้เเบบเจาะจง URL เช่น https://foretoday.asia ,https://foretoday.asia , หรือ https://foretoday.asia , https:/foretoday.asiaจากนั้นเลือกเมนู ” ดำเนินการต่อ “ขั้นตอนต่อมาให้ทำการยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ของคุณLink ยืนยันตัวตนการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ขั้นตอนการยืนยัน มีด้วยกัน 2 วิธี คือ
- การยืนยันเเบบ Domain
ด้วยวิธีการเพิ่ม DNS record ไปยังโฮสต์ของคุณ ดูวิธีทำที่ลิงก์ด้านบน มองหาหัวข้อ “ระเบียน DNS” (DNS record) หลังจากนั้นให้คุณกลับไปที่หน้า Search Console เเล้วกด Verify
- ยืนยันเเบบคำนำหน้า URL ( URL – Prefix Property )
ขั้นตอนนี้สามารถทำได้หลายวิธี
- Upload file HTML ที่ Search Console เเละกำหนดไปยัง Root Directory ของเว็บไซต์คุณ ให้ดูวิธีการทำที่ Link ยืนยันตัวตนการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ เเล้วไปที่ รายระเอียดวิธีการยืนยัน > การอัพโหลดไฟล์ HTML
- เพิ่ม meta tag ที่ได้รับจาก Search Console ในส่วนหัวของเว็บไซต์คุณ ดูวิธีการทำที่ลิงก์ด้านบน เลือกหัวข้อ ” เเท็ก HTML ” สำหรับผู้ที่ใช้ WordPress สามารถเพิ่ม meta tag ได้ที่ header.php
- ยืนยันผ่าน GA ( Google Analytics ) วิธีทำที่ลิงก์ด้านบน เลือกหัวข้อ ” โค้ดติดตาม Google Analytics ” หรือ Google Analytics Tracking Code
- ยืนยันผ่าน Google Tag Manager วิธีทำที่ลิงก์ด้านบน เลือกหัวข้อ “ ข้อมูลโค้ดคอนเทนเนอร์ใน Google Tag Manager ” (Google Tag Manager container snippet)
คุณต้องทำวิธีการนี้ซ้ำตามจำนวนรูปเเบบของ URL ที่คุณต้องการเพิ่มใน Property ทั้งหมด
ขั้นตอนการจัดการผู้ใช้ เเละการอนุญาตวิธีการตั้งค่าการใช้งานการเข้าถึงเว็บไซต์ Property สำหรับคนทั่วไป เเละทีมงาน Google Search Console ใช้งานยังไง ? เมื่อเสร็จสิ้นจากขั้นตอนการติดตั้งทั้งหมดเเล้ว ให้เริ่มใช้งาน Google Search Console โดยจะขออธิบายการใช้งานเเต่ละส่วนเเละรายระเอียดของการใช้งานในเเต่ละหัวข้อดังต่อไปนี้
ภาพรวม ( Overview )หน้าแสดงภาพรวม ที่จะแสดงข้อมูลสรุปรายงานที่สำคัญของเว็บไซต์คุณ เช่น ผลการปฏิบัติงาน ความครอบคลุม การเพิ่มประสิทธิภาพ
ผลการปฎิบัติงาน ( Performance )เครื่องมือส่วนนี้มีหน้าที่รายงานผลการปฎิบัติงานบน Search Console จะแสดงข้อมูลที่จำเป็นที่คุณต้องการเพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์
ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เราสามารถดูข้อมูลหรือเอกชั่นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับ URL หน้าเว็บของเราที่ไปปรากฎบนหน้าผลการค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อการวิเคราะห์คีย์เวิร์ด สำหรับการปรับปรุงเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ และใช้ติดตามอันดับของคีย์เวิร์ดในแต่ละหน้าเว็บไซต์แบบเฉลี่ยได้อีกด้วย )
การกรองเพื่อดูข้อมูล ( Filter )ประเภทของการค้นหา คุณสามารถกรองเพื่อดูผลการค้นหาได้ 3 ประเภทใน Search Console ได้เเก่
- Web
- Image
- Video
เเละในส่วนของการเปรียบเทียบ ( Compare ) คุณสามารถใช้เพื่อเปรียบเทียบเมตริกของผลการค้นหาในเเต่ละประเภทได้
ช่วงวันที่ ( Date Range Filter ) คุณสามารถกรองข้อมูลได้สูงสุด 16 เดือนใน เสิร์ช คอนโซล ตัวกรองช่วงวันที่สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น 7 วัน, 28 วัน, 3 เดือน, 6 เดือน ฯลฯ เเละหากต้องการดูเเค่ 1 – 2 วัน คุณสามารถเลือกใช้เครื่องมือ ” เพิ่มช่วงเวลาที่กำหนดเอง “
ส่วนของ การเปรียบเทียบ (Compare)เป็นการกรองเพื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาที่แตกต่างกันของข้อมูลและประสิทธิภาพการค้นหา เช่น คุณอยากตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ 30 วันล่าสุด และ 30 วันก่อนหน้านี้
ตัวกรองเพิ่มเติมคุณสามารถกรองข้อมูลพิ่มเติมตามความต้องการของคุณได้ในส่วนของมิติข้อมูลเเละเมตริก อื่นๆ
มิติข้อมูล ( Dimensions )การจะเพิ่มมิติข้อมูลอื่นๆได้ คุณต้องกดที่ ( + ใหม่ ) ,( +New ) ที่เเถบตัวเลือกด้านบนเพื่อใช้ตัวกรองที่คุณต้องการ เช่น
- ข้อความค้นหา, คีย์เวิร์ด (QUERIES)
- หน้าที่ผู้ใช้เข้าชม (PAGES)
- ประเทศที่มาของผู้ใช้ (COUNTRIES)
เป็นต้น
เมตริก ( Metrics )จะเป็นเเถบเเสดงข้อมูลต่างๆเช่น
- การคลิก (Clicks) – จำนวนการคลิก URL ของเว็บไซต์ของคุณ ในหน้าผลการค้นหาของ Google Search (ไม่รวม Google Ads)
- การแสดงผล (Impressions) – จำนวนครั้งที่ URL จากเว็บไซต์ของคุณปรากฏในผลการค้นหาที่มีผู้ใช้เปิดดู (ไม่รวม Google Ads)
- CTR (Click through rate) – อัตราการคลิกผ่าน คำนวณจาก จำนวนคลิก / จำนวนการแสดงผล * 100
- ตำแหน่ง (Position) อันดับโดยเฉลี่ยของ URL ของเว็บไซต์ของคุณสำหรับ ข้อความค้นหา, คีย์เวิร์ด เช่น URL ของคุณติดอันดับผลการค้นหาในคำที่คล้ายกันที่อันดับ 2 และอันดับที่ 6, อันดับเฉลี่ยคือ 4 ((2+6)/2)
เครื่องมือตรวจสอบ URL (URL Inspection)เครื่องมือตรวจสอบ URL นี้ จะช่วยตรวจสอบหน้าเว็บจาก URL ที่คุณระบุ และแสดงข้อมูลหลังการทดสอบให้คุณได้เห็น ในส่วนของการจัดทำดัชนี, ความเหมาะสมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่, ริช สนิปเปต และอื่นๆ
นอกจากนี้หากคุณมีหน้าเนื้อหาใหม่ที่ต้องการแจ้งให้กูเกิลบอททราบ เพื่อเข้ามาเก็บข้อมูลไปจัดทำดัชนี ( Indexing ) แบบเร่งด่วน ให้ทำการใส่ URL หน้าเนื้อหาที่ต้องการ, รอการตรวจสอบข้อมูล, จากนั้นกด “ขอการจัดทำดัชนี” เพียงเท่านี้กูเกิลบอทก็จะวิ่งเข้ามาเก็บข้อมูลบนหน้าเว็บของคุณและนำไปจัดทำดัชนีในทันที ซึ่งอาจใช้เวลานิดหน่อยในการอัพเดทบนระบบ
รายงานความครอบคลุม ( Coverage )มีหน้าที่ใช้ในการตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณที่ได้รับการจัดทำดัชนีอย่างถูกต้อง หน้าที่มีข้อผิดพลาด หน้าที่มีคำเตือน รวมถึงหน้าที่ถูกยกเว้น
หากหน้าไหนมี “ข้อผิดพลาด” เสิร์ช คอนโซล จะบอกให้คุณทราบว่าผิดพลาดเพราะอะไรและให้คุณทำการแก้ไขโดยเร็ว หรือถ้าหากมีหน้าเว็บที่สำคัญแต่ถูก “ยกเว้น” ในการจัดทำดัชนี คุณก็สามารถตรวจสอบและแก้ไขมันได้อย่างทันท่วงที
รายงานเเผนผังไซต์ ( Sitemap )ส่วนของการเพิ่มแผนผังไซต์ (sitemap) และการตรวจสอบความถูกต้องในการเข้ามาเก็บข้อมูล หากไซต์แมพของคุณมีข้อผิดพลาด เสิร์ช คอนโซล จะแจ้งให้คุณทราบ
รายงานการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Usability)คุณสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของหน้าเว็บที่ไม่รองรับการใช้งานอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ที่ หากพบข้อผิดพลาดในหน้าไหน Search Console จะเเจ้งให้คุณทราบ ว่ามีข้อผิดพลาดในส่วนใดของหน้า พร้อมคำแนะนำสำหรับการแก้ไข
รายงาน AMP (Accelerated Mobile Pages)หากคุณมีการใช้งาน การสร้างหน้าเว็บที่มีเนื้อหาไม่เปลี่ยนแปลง หรือ AMP บนเว็บไซต์ของคุณ รายงานนี้จะแสดงข้อผิดพลาดเฉพาะของ AMP และวิธีการแก้ไขให้คุณทราบ และหลังจากแก้ไขปัญหาแล้วคุณสามารถแจ้งให้ Google ทราบ เพื่อทำการตรวจสอบอีกครั้งได้โดยตรงผ่านรายงานนี้
รายงานสถานะ ริช สนิปเปต (Rich Result Status)การแสดงรายงานเกี่ยวกับ ริช สนิปเปต บนหน้าเว็บไซต์ของเรา หากมีข้อผิดพลากที่ควรแก้ไข Search Console จะเเจ้งให้ทราบประเภทของ ริช สนิปเปต ที่สามารถตรวจสอบได้ คือ
- Event
- FAQ
- Fact Check
- How-to
- Job posting
- Logo
- Product
- Q&A page
- Recipe
- Sitelinks searchbox
รายงานการดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ (Manual Actions)รายงานการแจ้งเตือนปัญหาจากเจ้าหน้าที่ของกูเกิล เเต่ถ้าคุณปรับเเต่งเว็บไซต์อย่างถูกต้องจะไม่มีการรายงานปัญหาใด ๆ ให้เห็น
รายงานปัญหาด้านความปลอดภัย (Security Issues)หากเว็บไซต์ของคุณถูกแฮ็ก ใช้เทคนิคฟิชชิงหรือติดมัลแวร์ คุณจะเห็นการแจ้งเตือนในรายงานปัญหาด้านความปลอดภัย จากทีมงานของกูเกิล Search Console จะเเนะนำวิธีการเเก้ไขปัญหาความปลอดภัยนั้นๆ เเละรวมถึงการยื่นขอพิจารณาความปลอดภัยบนเว็บไซต์ของคุณใหม่
รายงานลิงก์ ( Links )ส่วนของรายงานลิงก์ประกอบด้วย ลิงก์ภายนอก (External Links), ลิงก์ภายใน (Internal Links) และเว็บไซต์ยอดนิยมทำมีลิงก์ย้อนกลับ (Backlinks) เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณ
Google Search Console เครื่องมือฟรีจากทาง Google ที่จะช่วยให้คุณสามารถติดตามประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพ ทำให้คุณสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดและปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนของการแสดงผล การวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเเละเเม่นยำ เเละทันท่วงที
“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”
“A better tomorrow starts today”