แค่ Burnout หรือซึมเศร้า กันแน่?

หลายๆคนอาจเคยได้ยินคำว่า BURNOUT SYNDROME หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ที่เกิดจากความเครียดสะสม เบื่อหน่ายกับงานที่ทำ รู้สึกเหน็ดเหนื่อย หมดแรงจูงใจ ไม่อยากจะแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอีกต่อไป หาความสุขหรือความสนุกจากการทำงานไม่ได้  ความรู้สึกเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มอาการที่ไม่รุนแรงเท่ากับโรคซึมเศร้า แต่หากปล่อยให้ตัวเอง BURNOUT เป็นระยะเวลานาน อาจนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าจากการทำงานซึ่งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงกว่าได้ 

โรคซึมเศร้า กับความเครียดในที่ทำงาน

  การทำงานนับเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของความเครียด กาทำงานอาจทำให้รู้สึกกดดัน ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตจนนำไปสู่ โรคซึมเศร้าได้  ไม่ว่าจะเป็นการเครียดจากงานที่ได้รับมอบหมาย การสื่อสารที่ผิดพลาดในองค์กร ความขัดแย้งระหว่างในที่ทำงานซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลให้รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ และอาจกระทบต่อการทำงานได้

สาเหตุของโรคซึมเศร้าจากการทำงาน

ปัจจัยและเหตุการณ์ต่อไปนี้ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในที่ทำงานได้

  • การที่ทำงานไม่ตรงกับความรู้ความสามารถที่มี ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคเครียดและความกดดันได้ เช่น มีความสามารถหรือเรียนจบด้านศิลปะแต่ต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ตัวเลข เป็นต้น
  • ทำงานหลายชั่วโมงติดต่อกันโดยไม่ได้หยุดพักเพื่อทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่น ๆ ไม่สามารถสมดุลเวลาทำงานกับการผ่อนคลายได้
  • มีความไม่สบายใจที่ต้องติดต่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงานหรือบุคคลที่ไม่เป็นมิตร หรือบุคคลที่มีทัศนคติ ลักษณะนิสัย และการทำงานที่แตกต่างกัน

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงโรคซึมเศร้าจากการทำงาน

อาการที่อาจเป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้าจากการทำงาน ได้แก่

  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาลดลง
  • ทำงานแบบผัดวันประกันพรุ่ง
  • ยอมแพ้ต่อชีวิต ไม่ต่อสู้ดิ้นรน ไม่พยายามเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ให้ดีขึ้น
  • เก็บตัว ไม่เข้าสังคม
  • เชื่องช้าลง
  • รู้สึกผิดหวัง สะเทือนใจง่าย
  • ไม่มีความภูมิใจหรือเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ

เราจะดูแลสุขภาพกายใจให้พ้นจากโรคซึมเศร้าได้อย่างไร

ข้อปฏิบัติ ต่อไปนี้ อาจช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่างกายจากปัญหาโรคซึมเศร้าจากการทำงานได้

  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกาย จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphins) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ที่มีอาการซึมเศร้าในระยะยาว 
  • นอนหลับในระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นประจำ  การนอนเป็นเวลาช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้
  • ฝึกเป็นคนคิดบวก พยายามคิดในแง่ดีเมื่อรู้สึกแย่กับตนเอง ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นว่าตนไม่ดีจริงหรือ หรือมีข้อผิดพลาดตรงไหนที่แก้ไขได้ การฝึกเป็นคนคิดบวกอาจต้องใช้เวลา แต่จะช่วยขจัดความคิดในแง่ลบหรือการมองโลกในแง่ร้ายออกไปได้ในที่สุด
  • กำหนดเป้าหมาย สร้างกิจวัตรประจำวัน ผู้ที่อยู่ในโรคซึมเศร้ามักรู้สึกท้อแท้กับชีวิตอาจทำให้การทำงานหรือ ทำกิจกรรมต่างๆแย่ลง ดังนั้น การกำหนดเป้าหมายเชิงบวกในแต่ละวันจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นเมื่อทำตามเป้าหมายจนสำเร็จลุล่วง
  • ทำอะไรใหม่ ๆ หลายคนมักจะรู้สึกหดหู่และอ่อนไหวง่ายเมื่ออยู่ในโรคซึมเศร้า จึงควรออกไปหากิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อเปิดหูเปิดตา เช่น ไปเยี่ยมชมสถานที่ใหม่ ๆ หรือเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ หรือทักษะใหม่ๆ เพื่อดึงความสนใจจากอารมณ์ด้านลบไม่ให้รู้สึกแย่ลง
  • พบปะผู้คน สร้างปฏิสัมพันธ์ การทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเพื่อนยังช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดได้ และการได้รับกำลังใจที่ดีจากเพื่อนร่วมงาน และครอบครัวทำให้รู้สึกผ่อนตลายจากงานและสบายใจขึ้นด้วย
  • ช่วยเหลือผู้อื่น การเป็นอาสาสมัครหรือทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม หรือการให้ความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆ เช่น เอื้อเฟื้อต่อคนพิการ หรือช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน สามารถช่วยให้เห็นคุณค่าในตนเองจากการช่วยเหลือผู้อื่น 
  • ยอมรับในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ สถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างอาจเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก ดังนั้น ควรทำความเข้าใจและยอมรับ โดยจดจ่ออยู่กับสิ่งที่สามารถแก้ไขได้แทน

เมื่อไรควรไปพบแพทย์ ?

ภาวะหมดไฟในการทำงานจัดอยู่ในกลุ่มอาการ ไม่รุนแรง เพียงแต่เป็นอาการเบื่องาน หมดแรงจูงใจ แต่ถ้าคุณหรือเพื่อนร่วมงานของคุณมีอาการเหล่านี้ เช่น รู้สึกอึดอัด หดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต   วิตกกังวล  สิ้นหวัง รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า นอนไม่หลับ  หมกหมุ่นเรื่องความล้มเหลวที่ผ่านมาแล้วโทษตัวเอง  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณเริ่มมีความคิดด้านลบรุนแรงขึ้น จนพบว่าตนเองคิดวางแผนฆ่าตัวตาย คิดอยากทำร้ายตนเองและผู้อื่น รวมถึงหาทางออกให้กับปัญหาไม่ได้ ควรรีบโทรศัพท์ไปยังสายด่วนสุขภาพจิตที่เบอร์ 1323 เพื่อปรึกษาปัญหาความผิดปกติทางอารมณ์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและจิตแพทย์ทันที

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก https://bit.ly/3THVsy7

.

ใน EP หน้า เราจะเขียนบทความเรื่องอะไร รอติดตามได้เลย! 

Line@: bit.ly/ForeToday

FB Chat: http://m.me/foretoday

“A better tomorrow starts today”

Digital Marketing foretoday

SIGN UP TO FORETODAY'S NEWSLETTER

For exclusive digital news, tips & tricks, opportunities and announcement
- plus a few surprise!

ForeToday ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า