“นปโปะหม่ำ ๆ หม่ำ ๆ กู๊ดบอย” จากเสียงเพลงสู่เสียงเงิน กลยุทธ์โฆษณาด้วยเพลงที่ใช่

“นปโปะหม่ำ ๆ หม่ำ ๆ กู๊ดบอย” จากเสียงเพลงสู่เสียงเงิน กลยุทธ์โฆษณาด้วยเพลงที่ใช่

กระแสไวรัลดัง ‘นปโปะหม่ำ ๆ ‘ ปรากฏการณ์ไวรัลที่กำลังครองใจชาวโซเชียล! จากคลิป TikTok สุดน่ารักของ ‘น้องนปโปะ’ คอร์กี้ตัวจิ๋วที่ไม่ยอมกินข้าว สู่บทเพลงเชียร์สุดฮาของเจ้าของที่หมดหนทางแก้ไขปัญหา กลายเป็นเสียงเพลงติดหูที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ ด้วยความน่ารักและความตลกขบขันของคลิปนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างรอยยิ้มให้กับผู้ชม แต่ยังเป็นความสุขและความสนุกสนานให้กับชาวเน็ตทั่วประเทศด้วย โดยปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของ ‘Music Marketing’ กลยุทธ์การตลาดที่ใช้เสียงเพลงในการสื่อสารแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ มาร่วมไขปริศนาความสำเร็จของ ‘นปโปะหม่ำ ๆ ‘ และเรียนรู้เคล็ดลับการสร้างกระแสไวรัลที่ครองใจผู้คนไปด้วยกัน!!!

นปโปะกับคุณพ่อเจ้าของบทเพลงสุดฮิต

ปัจจัยอะไรที่ทำให้เพลงฮิตติดหู

เพลงใหม่ ๆ ที่ผลิตออกมาตามช่องทางต่าง ๆ มีอยู่มากมายแต่ไม่ใช่ว่าทุกเพลงจะเป็นที่น่าจดจำของคนหมู่มาก เรามาดูกันดีกว่าว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้เพลงเพลงนึงกลายเป็นเพลงฮิตติดกระแส ติดหูติดใจใครหลาย ๆ คน

  1. ท่วงทำนองที่ติดหู

เพลงที่ฮิตมักจะมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน เช่น มีท่อนฮุค (hook) ที่เด่นชัด ใช้การซ้ำของท่วงทำนองหรือโน้ตดนตรีที่จดจำง่าย อาจมีการใช้เทคนิค เช่น “earworm” ซึ่งเป็นส่วนของเพลงที่เล่นวนในหัวผู้ฟัง รวมถึงใช้ช่วงเสียงที่คนทั่วไปร้องตามได้ ไม่สูงหรือต่ำเกินไป

  1. เนื้อเพลงที่โดนใจ

เนื้อเพลงที่สื่อถึงอารมณ์สากล เช่น ความรัก ความเศร้า หรือความสุข ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย แต่อาจมีความลึกซึ้งหรือเล่นคำอย่างชาญฉลาด สะท้อนประสบการณ์ร่วมของคนในสังคมหรือวัฒนธรรมนั้น ๆ และอาจมีการใช้คำคมหรือประโยคที่จดจำง่ายและน่าประทับใจ

  1. จังหวะที่ชวนเต้น

มี BPM (Beats Per Minute) ที่กระตุ้นการเคลื่อนไหว เช่น 120-130 BPM สำหรับเพลงป็อป ใช้จังหวะที่เน้นและสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายอยากขยับตาม มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะในบางช่วงเพื่อสร้างความน่าสนใจ ใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงที่เน้นจังหวะชัดเจน เช่น กลอง เบส

  1. กระแสโซเชียลมีเดีย

การที่เพลงเป็นกระแสได้นั้นอาจเป็นเพราะเพลงนั้นถูกใช้ในการทำ Challenge หรือเทรนด์บน TikTok Instagram Reels หรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ มีการแชร์และรีมิกซ์โดยผู้ใช้โซเชียลมีเดียช่วยเพิ่มการเข้าถึง หรือตัวศิลปินเองอาจเป็นผู้สร้างคอนเทนต์พิเศษเพื่อส่งเสริมการแชร์เพลง รวมไปถึงเรื่องของการติด hashtag หรือ trending topic บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ด้วย

  1. ความแปลกใหม่

การผสมผสานแนวดนตรีที่ไม่เคยมีมาก่อน ใช้เครื่องดนตรีหรือเสียงที่ไม่ค่อยได้ยินในเพลงทั่วไป นำเสนอมุมมองหรือเรื่องราวที่ไม่ค่อยมีในเพลงอื่น หรือมีการทดลองใช้เทคโนโลยีใหม่ในการสร้างหรือนำเสนอเพลงก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เพลงติดหูได้เช่นกัน

  1. ช่วงเวลาที่เหมาะสม

บางครั้งแค่ออกเพลงมาถูกที่ถูกเวลาก็ดังได้แล้ว เพราะเพลงอาจบังเอิญไปสอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญทางสังคมหรือการเมือง ออกมาในช่วงที่ผู้ฟังกำลังต้องการเนื้อหาหรืออารมณ์แบบนั้นพอดี ตรงกับเทศกาลหรือฤดูกาลที่เหมาะสม เช่น เพลงคริสต์มาสในช่วงปลายปี หรือสอดคล้องกับกระแสวัฒนธรรมปัจจุบัน เช่น แฟชั่น หรือเทรนด์ทางสังคมชั่น หรือเทรนด์ทางสังคม

Music Marketing

Music marketing คือการนำเพลงที่กำลังเป็นที่นิยมในช่วงนั้น ๆ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การโปรโมตสินค้าหรือบริการ เพื่อดึงดูดความสนใจและสร้างความเชื่อมโยงกับลูกค้า ตัวอย่างเช่น ร้านค้าหรือแบรนด์สามารถใช้เพลงฮิตเป็นเพลงประกอบในโฆษณา วิดีโอโปรโมต หรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนำเพลงนปโปะหม่ำ ๆ มาใช้โฆษณา GrabFood ในแพลตฟอร์ม TikTok ทำให้ผู้ชมรู้สึกเชื่อมโยงกับสินค้าเพราะคุ้นเคยและชื่นชอบเพลงนั้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดกิจกรรมที่มีการแสดงสดหรือใช้เพลงฮิตในงาน เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาร่วมงานและสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำ ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยเพิ่มโอกาสให้สินค้าหรือบริการได้รับความสนใจและยอดขายที่สูงขึ้น 

นปโปะกับการโฆษณา GrabFood

การเอามาประยุกต์ใช้ในการทำโฆษณา

การใช้ดนตรีในการทำการตลาดสามารถสร้างความเชื่อมโยงกับผู้บริโภคผ่านความรู้สึกได้ การทำ Music Marketing สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดคอนเสิร์ต การประกวดวงดนตรี หรือการทำเพลงโฆษณา (jingles) สำหรับแบรนด์หรือสินค้า นอกจากนี้ ดนตรียังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลงหรือการใช้โซเชียลมีเดีย ด้วยเหตุนี้ การทำ Music Marketing จึงสามารถเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภคและนำประโยชน์มาให้ธุรกิจได้ดังนี้:

  1. สร้างภาพลักษณ์และตัวตนให้แบรนด์ 

แน่นอนว่าเสียงเพลงเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคได้รู้จักแบรนด์นั้น ๆ มากขึ้น ว่าขายอะไร มีจุดเด่นยังไง และมี “ตัวตน” เป็นแบบไหน เช่น “แลคตาซอย 5 บาท 125 มิลลิลิตร ปริมาณคับกล่องเต็มที่ ดื่มได้ดื่มดี ดื่มแลคตาซอย 5 บาท”

  1. สร้างยอดขาย และ Brand Loyalty 

เพราะพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคนเรา ไม่ได้สนใจแค่ function เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเรื่องของ emotion เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเสียงเพลงก็สามารถส่งผลต่ออารมณ์ของผู้บริโภคได้ และทำให้เกิดการทดลองซื้อ จนถึงการซื้อซ้ำได้

  1. สร้างการมีส่วนร่วมให้กับผู้บริโภค

หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมคือการใช้เพลงประจำแบรนด์หรือเพลงที่สร้างขึ้นเฉพาะสำหรับแคมเปญการตลาด มาทำเป็น Challenge ให้ผู้ชมได้เล่นและแชร์กันบนโซเชียลมีเดีย การทำเช่นนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมกับแบรนด์อย่างใกล้ชิด แต่ยังช่วยให้เกิดกระแสการพูดถึงในวงกว้างอีกด้วย ตัวอย่างเช่น การทำ Challenge บนแพลตฟอร์มอย่าง TikTok ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้ที่มีความชื่นชอบในดนตรีและการเต้น ผู้ใช้สามารถนำเพลงของแบรนด์ไปสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ ๆ ตามไอเดียของตัวเอง และแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้ดูและร่วมสนุก การสร้าง Challenge แบบนี้ช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมแบบหลายชั้น ทั้งการสร้างคอนเทนต์ การแชร์ และการพูดถึง ทำให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักและจดจำได้ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว 

สรุป

Music Marketing คือการใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค ด้วยภาษาสากลที่เข้าถึงคนได้ทุกเพศทุกวัย โดยเพลงจะโดนใจได้มักประกอบด้วยทำนองที่ติดหู เนื้อหาสื่อสารตรงใจ และจังหวะชวนเต้น และใช้พลังของกระแสโซเชียลมีเดียเป็นตัวขับเคลื่อน การประยุกต์ใช้ Music Marketing สามารถสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ เพิ่มยอดขาย สร้างความภักดี และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References:

https://www.everydaymarketing.co/pr/5-music-marketing-strategies

https://www.creativethailand.org/article-read?article_id=33702

https://stepstraining.co/content/music-marketing-strategy

https://www.thairath.co.th/news/society/280132

สนใจปรึกษาเรื่องการตลาดออนไลน์กับทีมผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดต่อทีมงาน ForeToday ได้ตาม contact ทางด้านล่างได้เลย!

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat : http://m.me/foretoday 

“A better tomorrow starts today”

แหล่งที่มา