Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

art composition

สร้างชิ้นงานให้ปังต้องรู้จักองค์ประกอบศิลป์

การสร้างสรรค์ชิ้นงานให้น่าสนใจประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ รวมเข้าด้วยกัน วันนี้เราจะพามารู้จักกับ “องค์ประกอบศิลป์” (Composition) หลักการสำคัญที่จะทำให้ผู้ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาให้เกิดความสวยงาม สมดุลและกลมกลืนอย่างมีหลักการ เมื่อประกอบกับความคิดสร้างสรรค์และความเป็นเอกลักษณ์ของผู้ออกแบบก็จะทำให้ชิ้นงานออกมาได้อย่างน่าสนใจและสื่อสารไปยังผู้รับได้ดียิ่งขึ้น

องค์ประกอบศิลป์ หรือ Composition คือ การนำสิ่งต่างๆ มาจัดรวมกันเพื่อให้เกิด ความสมดุล ความเหมาะสม ส่งเสริมให้ผลงานเกิดความสวยงามอย่างลงตัว และนำเสนอคุณค่าของงานได้มากขึ้น มาดูกันเลยว่าองค์ประกอบศิลป์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

  • Unity

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของภาพ เพื่อไม่ให้งานดูเหมือนภาพตัดแปะ ลองกำหนดสิ่งที่ทั้งภาพมีเหมือนกัน เช่น ขนาด สี หรือการจัดเรียง แต่ระวังอย่าให้ทุกอย่างเหมือนกันจนเกินไป เพราะจะทำให้ดูน่าเบื่อและไม่มีจุดสนใจ

  • Balance

วางองค์ประกอบต่าง ๆ ในภาพให้สมดุลกัน จะทำให้ภาพไม่ดู “หนัก” ไปด้านใดด้านหนึ่ง ภาพที่สมมาตร คือทั้งสองด้านเหมือนกันทั้งหมด จัดให้สมดุลได้ง่าย จะให้ความรู้สึกนิ่งสงบ แต่ก็อาจทำให้ดูน่าเบื่อได้เหมือนกัน ในขณะที่ภาพที่ไม่สมมาตรจะให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวามากกว่า แต่การทำให้สิ่งที่ต่างกันมีน้ำหนักที่สมดุลจะยากขึ้นมาหน่อย ลองจัดขนาด หรือความเข้มของสีให้เท่ากันดู

  • Movement

เราสามารถทำให้สร้างความเคลื่อนไหวในภาพนิ่งได้หลายวิธี เช่น การจัดเรียง การวางตำแหน่ง หรือการไหลของแม่น้ำ สร้างเส้นนำสายตาเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมไปตามเส้นทางที่เราต้องการ ทำให้ผู้ชมรู้สึกมีส่วนร่วมไปกับเรื่องราวที่ภาพกำลังสื่อ

  • Rhythm

จังหวะในรูปภาพ คือ การใช้องค์ประกอบเดิม ๆ ซ้ำ โดยอาจสลับความถี่ให้หลากหลาย เพื่อให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวที่เป็นระบบ จะช่วยดึงสายตาของผู้ชมให้มองภาพในความเร็วตามจังหวะนั้น สามารถใช้รูปร่าง หรือสีที่เหมือนกัน จัดเรียงเป็นจังหวะได้

  • Focus or Emphasis

การเน้นหรือการสร้างจุดโฟกัส เป็นกลยุทธ์ในการดึงความสนใจของผู้ชมไปยังองค์ประกอบการออกแบบที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบใดก็ได้: ปุ่ม เว็บไซต์ หรือรูปภาพ จุดประสงค์คือเพื่อสร้างสิ่งที่โดดเด่นจากส่วนที่เหลือของหน้า เราสามารถใช้องค์ประกอบต่างๆ เพื่อเน้นส่วนเฉพาะของงานออกแบบ เช่น เส้น สี หรือ รูปทรงต่างๆ

  • Harmony

ความกลมกลืนเป็นหลักการของการออกแบบคือความรู้สึกเหนียวแน่นระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในองค์ประกอบภาพ องค์ประกอบต่างๆ ไม่ควรเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่มีความเกี่ยวข้องกันในทางใดทางหนึ่ง จานสีหรือพื้นผิวที่คล้ายกันสามารถสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างส่วนประกอบต่างๆ การใช้สิ่งของที่มีรูปร่างคล้ายกันจะสร้างความกลมกลืนเพราะจะดูสัมพันธ์กัน

ความกลมกลืนที่ไม่เพียงพอหรือมากเกินไปอาจทำให้การออกแบบน่าเบื่อ ต้องมีความหลากหลายเพื่อให้ภาพดูน่าสนใจ

  • Contrast

การจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดการตัดกัน  หรือ  ขัดแย้งกัน  เพื่อลดความกลมกลืนลงบ้าง  เพราะบางทีความกลมกลืนที่มากไปอาจจะดูจืดชืด  น่าเบื่อหน่าย  ความขัดแย้งที่พอเหมาะจะช่วยให้งานดูมีชีวิตชีวา  น่าสนใจ การใช้การตัดกันสามารถนำไปใช้กับ การสร้างลำดับชั้นระหว่างขนาดตัวอักษร ข้อความขนาดใหญ่มักจะถูกอ่านก่อนข้อความขนาดเล็ก ความคมชัดเป็นสิ่งสำคัญเมื่อต้องจับคู่แบบอักษร 

  • Proportion

การสร้างองค์ประกอบให้สัมพันธ์กันโดยการกำหนดสัดส่วนส่วนที่เหมาะสมระหว่าง 2 องค์ประกอบในงานศิลปะและการวาดภาพ สัดส่วนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้องค์ประกอบต่างๆ ดูสมจริง 

หรืออีกความหมายนึงคือการทำให้สิ่งต่าง ๆ เข้ากันได้และสัมพันธ์กันในแง่ของขนาดและมาตราส่วน ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ใกล้หรือไกล

พอรู้หลักการเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์กันแล้ว ก็หวังว่าเพื่อนๆจะสามารถนำหลักการต่างๆเหล่านี้ไปลองประยุกต์ใช้กับชิ้นงานพร้อมเติมความเป็นเอกลักษณ์ของเพื่อนๆเพิ่มเติม จะได้ชิ้นงานที่สวยงาม น่าสนใจ และสามารถสสื่อสารกับผู้รับได้ดีขึ้น โดยหลักการองค์ประกอบศิลป์เหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้กับงานออกแบบได้ทุกประเภท เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพโฆษณา รวมไปถึงในชีวิตประจำวันเช่น ตกแต่งบ้าน จัดสวน ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน

Line@: bit.ly/ForeToday

FB Chat: http://m.me/foretoday

“A better tomorrow starts today”

Digital Marketing foretoday marketing