การสร้างสรรค์ชิ้นงานให้น่าสนใจประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ รวมเข้าด้วยกัน วันนี้เราจะพามารู้จักกับ “องค์ประกอบศิลป์” (Composition) หลักการสำคัญที่จะทำให้ผู้ออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาให้เกิดความสวยงาม สมดุลและกลมกลืนอย่างมีหลักการ เมื่อประกอบกับความคิดสร้างสรรค์และความเป็นเอกลักษณ์ของผู้ออกแบบก็จะทำให้ชิ้นงานออกมาได้อย่างน่าสนใจและสื่อสารไปยังผู้รับได้ดียิ่งขึ้น

องค์ประกอบศิลป์ หรือ Composition คือ การนำสิ่งต่างๆ มาจัดรวมกันเพื่อให้เกิด ความสมดุล ความเหมาะสม ส่งเสริมให้ผลงานเกิดความสวยงามอย่างลงตัว และนำเสนอคุณค่าของงานได้มากขึ้น มาดูกันเลยว่าองค์ประกอบศิลป์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของภาพ เพื่อไม่ให้งานดูเหมือนภาพตัดแปะ ลองกำหนดสิ่งที่ทั้งภาพมีเหมือนกัน เช่น ขนาด สี หรือการจัดเรียง แต่ระวังอย่าให้ทุกอย่างเหมือนกันจนเกินไป เพราะจะทำให้ดูน่าเบื่อและไม่มีจุดสนใจ

วางองค์ประกอบต่าง ๆ ในภาพให้สมดุลกัน จะทำให้ภาพไม่ดู “หนัก” ไปด้านใดด้านหนึ่ง ภาพที่สมมาตร คือทั้งสองด้านเหมือนกันทั้งหมด จัดให้สมดุลได้ง่าย จะให้ความรู้สึกนิ่งสงบ แต่ก็อาจทำให้ดูน่าเบื่อได้เหมือนกัน ในขณะที่ภาพที่ไม่สมมาตรจะให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวามากกว่า แต่การทำให้สิ่งที่ต่างกันมีน้ำหนักที่สมดุลจะยากขึ้นมาหน่อย ลองจัดขนาด หรือความเข้มของสีให้เท่ากันดู

เราสามารถทำให้สร้างความเคลื่อนไหวในภาพนิ่งได้หลายวิธี เช่น การจัดเรียง การวางตำแหน่ง หรือการไหลของแม่น้ำ สร้างเส้นนำสายตาเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมไปตามเส้นทางที่เราต้องการ ทำให้ผู้ชมรู้สึกมีส่วนร่วมไปกับเรื่องราวที่ภาพกำลังสื่อ

จังหวะในรูปภาพ คือ การใช้องค์ประกอบเดิม ๆ ซ้ำ โดยอาจสลับความถี่ให้หลากหลาย เพื่อให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวที่เป็นระบบ จะช่วยดึงสายตาของผู้ชมให้มองภาพในความเร็วตามจังหวะนั้น สามารถใช้รูปร่าง หรือสีที่เหมือนกัน จัดเรียงเป็นจังหวะได้

การเน้นหรือการสร้างจุดโฟกัส เป็นกลยุทธ์ในการดึงความสนใจของผู้ชมไปยังองค์ประกอบการออกแบบที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบใดก็ได้: ปุ่ม เว็บไซต์ หรือรูปภาพ จุดประสงค์คือเพื่อสร้างสิ่งที่โดดเด่นจากส่วนที่เหลือของหน้า เราสามารถใช้องค์ประกอบต่างๆ เพื่อเน้นส่วนเฉพาะของงานออกแบบ เช่น เส้น สี หรือ รูปทรงต่างๆ

ความกลมกลืนเป็นหลักการของการออกแบบคือความรู้สึกเหนียวแน่นระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในองค์ประกอบภาพ องค์ประกอบต่างๆ ไม่ควรเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่มีความเกี่ยวข้องกันในทางใดทางหนึ่ง จานสีหรือพื้นผิวที่คล้ายกันสามารถสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างส่วนประกอบต่างๆ การใช้สิ่งของที่มีรูปร่างคล้ายกันจะสร้างความกลมกลืนเพราะจะดูสัมพันธ์กัน

ความกลมกลืนที่ไม่เพียงพอหรือมากเกินไปอาจทำให้การออกแบบน่าเบื่อ ต้องมีความหลากหลายเพื่อให้ภาพดูน่าสนใจ

การจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดการตัดกัน  หรือ  ขัดแย้งกัน  เพื่อลดความกลมกลืนลงบ้าง  เพราะบางทีความกลมกลืนที่มากไปอาจจะดูจืดชืด  น่าเบื่อหน่าย  ความขัดแย้งที่พอเหมาะจะช่วยให้งานดูมีชีวิตชีวา  น่าสนใจ การใช้การตัดกันสามารถนำไปใช้กับ การสร้างลำดับชั้นระหว่างขนาดตัวอักษร ข้อความขนาดใหญ่มักจะถูกอ่านก่อนข้อความขนาดเล็ก ความคมชัดเป็นสิ่งสำคัญเมื่อต้องจับคู่แบบอักษร 

การสร้างองค์ประกอบให้สัมพันธ์กันโดยการกำหนดสัดส่วนส่วนที่เหมาะสมระหว่าง 2 องค์ประกอบในงานศิลปะและการวาดภาพ สัดส่วนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้องค์ประกอบต่างๆ ดูสมจริง 

หรืออีกความหมายนึงคือการทำให้สิ่งต่าง ๆ เข้ากันได้และสัมพันธ์กันในแง่ของขนาดและมาตราส่วน ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ใกล้หรือไกล

พอรู้หลักการเกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์กันแล้ว ก็หวังว่าเพื่อนๆจะสามารถนำหลักการต่างๆเหล่านี้ไปลองประยุกต์ใช้กับชิ้นงานพร้อมเติมความเป็นเอกลักษณ์ของเพื่อนๆเพิ่มเติม จะได้ชิ้นงานที่สวยงาม น่าสนใจ และสามารถสสื่อสารกับผู้รับได้ดีขึ้น โดยหลักการองค์ประกอบศิลป์เหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้กับงานออกแบบได้ทุกประเภท เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพโฆษณา รวมไปถึงในชีวิตประจำวันเช่น ตกแต่งบ้าน จัดสวน ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน

Line@: bit.ly/ForeToday

FB Chat: http://m.me/foretoday

“A better tomorrow starts today”

Digital Marketing foretoday marketing

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *