ในปัจจุบันกระแส Shoppertainment กำลังมาแรงมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Shoppertainment มาจากคำว่า  “Shopping + Entertainment”  คือ คอนเทนต์ที่สามารถทำให้เกิดการซื้อขายได้  ซึ่งจะเน้นในการให้ข้อมูลของสินค้าอย่างสนุกไปในตัวตั้งแต่เห็นคอนเทนต์ครั้งแรกและทำให้เกิดการซื้อขายในที่สุด ซึ่งกำลังมาแรงสุดๆในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น TiKToK หรือ Live ขายของใน Platform ต่างๆ


โดยวิจัยของ BCG หรือ The Boston Consulting Group ได้มีวิจัยนเกี่ยวกับ ขอบเขตการขยายของ Shoppertainment ที่นำไปสู่ 6 ความต้องการหลัก ระหว่างสองกลุ่มหลัก โดยผู้บริโภคแต่ละคนนั้นจะมีพื้นที่ความต้องการแตกต่างกันไปในแต่ละเส้นทางของผู้บริโภคหรือ consumer journey ซึ่งจะแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆคือ Functional Need และ Emotional Need คือความต้องการด้านเหตุผลและความต้องการด้านอารมณ์นั่นเอง

วันนี้เราจะพามารู้จักกับ 6 พื้นที่ความต้องการ หรือ 6 demand spaces

Functional Need ความต้องการด้านเหตุผล

โดยผู้บริโภคจะมีความสนใจและโฟกัสไปที่สินค้าที่มีอยู่โดยไม่พิจารณาทางเลือกใหม่ คิดเป็นประมาณ 60% ของ e-commerce ประกอบไปด้วย

1. ความต้องการแบบ Convenience  หรือ Easy for me 

ความต้องการที่ผู้บริโภคมองหาเพื่อให้ชีวิตง่ายขึ้น ผ่านการซื้อสินค้าประจำวัน เช่น สามารถจับจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคให้สำเร็จทุกสัปดาห์ 

2. ความต้องการแบบ Improvement (Better for me) 

ความต้องการที่ผู้บริโภคกำลังมองหาการอัปเกรด หรือหาโอกาสและจทางเลือกที่ดีกว่าในการซื้อสินค้าในชีวิตประจำวัน เช่น เจอผงซักฟอกที่ดีกว่าในราคาที่สูงขึ้นเล็กน้อย

3. ความต้องการแบบ Validation (Confirm for me)

ความต้องการที่เกิดขึ้นเมื่อเราตัดสินใจที่จะทำการซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว โดยผู้ซื้อนั้นจะทำการซื้อสินค้าเมื่อแน่ใจว่าสินค้าที่ต้องการซื้อนั้นตรงกับความต้องการของตัวเองมากที่สุดและมั่นใจว่าสินค้าชนิดนี้จะสามารถตอบโจทย์กับความต้องการของตนเองได้แล้วถึงจะทำการตัดสินใจซื้อ โดยผู้ซื้อนั้นจะมั่นใจมากว่าการตัดสินใจซื้อสินค้านั้นถูกต้อง เช่น การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่

Emotional Need ความต้องการด้านอารมณ์

เป็นการที่ผู้บริโภคนั้นกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงและกระตือรือร้นพิจารณาสินค้าใหม่ และเปลี่ยนแบรนด์ คิดเป็นประมาณ 40% ของ e-commerce ประกอบไปด้วย

4. ความต้องการแบบ Recommendation  (Advise me)

ความต้องการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีคนมาแนะนำสินค้าหรือบริการกับเรา ทำให้เราเกิดความสนใจที่จะทำการซื้อสินค้าขึ้นมาแต่ยังอยู่ในช่วงที่กำลังตัดสินใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการออกสินค้าใหม่ล่าสุดและได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะมาจากการรีวิว การทดลองใช้ของผู้ที่ทำการแนะนำสินค้าให้กับเราหรือจากการอ่านแหล่งข่าวที่ได้รับความน่าเชื่อถือ ทำให้รู้สึกเริ่มสนใจในตัวสินค้าจนเกิดการซื้อขาย เช่น การตัดสินใจซื้อรองเท้าผ้าใบที่ผู้ซื้อคิดว่าเหมาะกับเทรนด์ล่าสุด

5. ความต้องการแบบ Indulgence (Spoil me)

ความต้องการแบบตามใจผู้ซื้อ โดยตัวผู้ซื้อมักจะอิงจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้ซื้อว่าสินค้านั้นเหมาะกับตัวเองมากที่สุดและยังชื่นชอบที่จะซื้อสินค้าเพื่อไปลองใช้อีกด้วย ซึ่งถึงแม้ว่าจะทำการซื้อสินค้าไปแล้วก็ตามแต่ยังคงให้ความสนใจกับสินค้าชนิดอื่นๆด้วย ซึ่งอาจจะเป็นสินค้าที่ออกใหม่ล่าสุดหรือสินค้าที่ยังคงให้ความสนใจอยู่แต่ยังไม่ได้ทำการซื้อ เช่น การซื้อลิปสติกสีใหม่ล่าสุดจากแบรนด์ที่ตนเองชื่นชอบ

6. ความต้องการแบบ Inspiration (Inspire me)

ความต้องการชนิดสุดท้ายคือความต้องการแบบถูกกระตุ้น เนื่องจากผู้ซื้อต้องการที่ลองสินค้าชนิดใหม่ๆ และมีความสนใจที่จะลองสิ่งใหม่ๆ โดยตัวผู้ซื้อนั้นมีความสนใจที่สินค้าที่กำลังฮิตหรือเป็นเทรนด์ในขณะนั้นอยู่ และยังชื่นชอบที่จะลองสินค้าชนิดใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ซื้อที่มีความสนใจแบบนี้จะให้ความสำคัญกับสินค้าที่ออกใหม่ล่าสุดและกำลังเป็นกระแสอย่างมา เช่น การมีความสนใจที่จะเลือกซื้อเสื้อผ้าให้เข้ากับเทรนด์ล่าสุดหรือฤดูกาลที่กำลังจะมาถึง

โดยข้อมูลของความต้องการเหล่านี้นักการตลาดอย่างเราสามารถใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ในอนาคตได้ และยังสามารถเป็นแนวทางในการทำคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์กระ Shoppertainment ที่กำลังมาแรงได้อีกด้วย

“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat: http://m.me/foretoday