ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสีนั้น เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในงานออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานกราฟิกลง facebook page ไปจนถึงการวาง CI หรือ corporate identity ให้กับองค์กร ก็ล้วนมีการใช้สีเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น
นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว แต่ละสีนั้นมีความหมายของตัวมันเองในเชิงจิตวิทยาที่สามารถสงผลต่อพฤติกรรมของผู้รับสารได้ เช่น สีเขียว และสีแดงที่ถูกใช้ในตลาดหุ้นเมื่อราคาหุ้นขึ้นหรือลง เพราะฉะนั้นนอกจากการเลือกสีให้สวยงามแล้ว นักออกแบบยังต้องคำนึงถึงเรื่องของการสื่อความหมายของแต่ละสีอีกด้วย ดังนั้นวันนี้ Foretoday จะมาแนะนำวิธิการจับคู่สีรูปแบบต่างๆ และความหมายของแต่ละสีในเชิงจิตวิทยา ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลย…
ทฤษฎี และการจับคู่สี
- Color wheel | วงล้อสี
ก่อนจะไปไหนไกล เรามารู้จักเครื่องมือที่สำคัญมาก ๆ อย่างวงล้อสีกันก่อน Isaac Newton ได้สร้างวงล้อสีจากการผสมแม่สี 3 สี หรือก็คือ Primary Colors สีที่เกิดจากการผสมแม่สีเข้าด้วยกัน เราเรียกว่า Secondary Colors และสีที่เกิดจากการผสมแม่สีและ Secondary Colors เข้าด้วยกัน เรียกว่า Tertiary Colors
- Color harmony
ผ่านเรื่องวงล้อสีกันไปแล้วก็มาเข้าเรื่องการจับคู่สี หรือ Color Harmony กันดีกว่า! ในทฎษสีมีการจับคู่สีหลายรูปแบบ ในบทความนี้เราเลือกรูปแบบที่จะได้ใช้บ่อย ๆ มาเล่าให้ฟังกัน!
- Monochromatic
การใช้สีแบบ monochromatic คือการเลือกใช้สีเพียงสีเดียวในวงล้อสี แล้วปรับความเข้มและอ่อนของสีนั้น ๆ รูปแบบนี้สีจะตัดกันน้อย และดูเป็นหนึ่งเดียวกัน
- Analogous
รูปแบบนี้จะเลือกใช้สี 3 – 5 สีที่อยู่ติดกันในวงล้อสี เป็นรูปแบบที่ใช้ง่ายที่สุด เพราะสีจะไม่ตัดกันมากนัก ให้ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนกับ Monochromatic แต่ดูน่าสนใจมากกว่าด้วยการใช้สีที่แตกต่าง
- Complementary
Complementary คือการจับคู่สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี รูปแบบนี้จะเห็นสีตัดกันได้ชัดเจนที่สุด พบได้บ่อยในงานประเภท Pop Art เพราะทำให้งานดูเด่น อาจจะใช้งานยากกว่าสองรูปแบบก่อนหน้า ไปสักนิดเพราะเราต้องระวังความเข้มและสัดส่วนของทั้งสองสีให้ดี ไม่ให้ตัดกันจนเกินไป ใช้สีหนึ่งเป็นสีหลัก แล้วใช้สีคู่ตรงข้ามกับจุดที่ต้องการความโดดเด่น
- Split-complementary
รูปแบบนี้คล้ายกับ Complementary แตกต่างกันเพียงแยกสีฝั่งหนึ่งออกเป็นสองสีที่ติดกัน Split-complementary จะให้คุณได้ลองใช้สีหลากหลายในทีเดียว ยิ่งเราเพิ่มสีลงในงานมากขึ้น การทำให้งานดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็จะยากขึ้นไปด้วย แนะนำให้ใช้สี Analogous เป็นสีหลัก แล้วเพิ่ม Contrast (ความต่างของสี) ด้วยสีคู่ตรงข้าม
- Triad
การใช้สีสามสีที่เชื่อมกันเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าในวงล้อสีเรียกว่า Triad รูปแบบนี้จะให้ความรู้สึกชัดเจนเป็นพิเศษ เป็นตัวเลือกที่ดีหากคุณอยากได้งานที่น่าสนใจและโดดเด่น อย่างไรก็ตาม ถ้าทั้งสามสีมีความเข้มและสัดส่วนเท่ากันหมด อาจแย่งกันเป็นจุดสนใจ ผู้เห็นก็ไม่รู้จะมองส่วนไหนก่อนดี ลองเลือกสีใดสีหนึ่งเป็นสีหลัก แล้วใช้อีกสองสีรองเป็นจุด ๆ ไป อาจเพิ่มสีขาวและสีดำเพื่อลดความสดของสี และทำให้งานดูสบายตาขึ้น
จิตวิทยาของสี
สีสามารถบ่งบอกความรู้สึกและส่งผลต่อผู้เห็น ไม่ว่าจะสีโทนร้อน โทนเย็น สีผสมต่างๆ ล้วนให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเลือกใช้สีกับผลงานจึงส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เห็นได้เช่นกัน ในการเลือกใช้สีในผลิตภัณฑ์จึงควรเลือกใช้สีให้เหมาะสมกับสินค้าหรือชิ้นงานที่เจ้าของต้องการจะสื่อ เพราะสีจะเป็นตัวสื่อความหมายทางอารมณ์และชักจูงความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าได้ด้วยเช่นกัน
สีแดง
เป็นสีที่โด่ดเด่ด สามารถดึงดูดความสนใจได้ดีและเป็นสีของพลังงาน บ่งบอกถึง ความสำคัญ ความอันตราย ความรัก มีชีวิตชีวา
สีส้ม
แสดงถึงพลังงานบวก ความสนุกสนาน กระปรี้กระเปร่า ความสุข และส่งผลต่อความอยากอาหาร
สีเหลือง
แสดงถึงความสุข ความอบอุ่น ดึงความสนใจ ความคิดสร้างสรรค์ ความร่าเริงสดใส แต่ถ้าสีเหลือที่มากเกินไปอาจะส่งผลให้เกิดความวิตกกังวล ความกลัว ได้เช่นกัน
สีเขียว
เป็นสีที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ความสมดุล ความปลอดภัย ความมั่นคง การเจริญเติบโต ในเชิงธุรกิจมักจะใช้สีเขียวแสดงถึงการมีประโยชน์ต่อสุขภาพหรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สีฟ้า
แสดงถึงความสงบ ความไว้วางใจ ความสบายใจ ความผ่อนคลาย ความปลอดภัย ความซื่อสัตย์ ช่วยลดความอยากอาหาร และเป็นสีที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะทำให้ลูกค้ารู้สึกปลอยภัย มีความน่าเชื่อถือ และสร้างความภักดีของลูกค้า
สีม่วง
แสดงถึงความหรูหรา ความคิดสร้างสรรค์ การใช้ความคิด และมักนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์หรือการบริการระดับพรีเมี่ยม
สีดำ
แสดงถึง อำนาจ ความซับซ้อน ความลึกลับ ใช้เพื่อการเน้นข้อความ และในวงการแฟชั่นสีดำจะสื่อถึงความหรูหรา
สีขาว
แสดงถึง ความสะอาด บริสุทธิ์ สุขภาพ ความอ่อนโยน มักถูกใช้ในผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ high-tech
สรุป
การเลือกสีให้มีความสวยงาม และที่มีความหมายตรงกับใจความสำคัญที่เราต้องการจะสื่อสารกับผุ้รับสารเป็นเรื่องที่นักออกแบบมักจะต้องคำนึงถึงเสมอ เพื่อให้งานออกแบบสามารถบรรลุเป้าหมายของมันนั้นก็คือการสือสาร การใช้รูปแบบการจับคู่สี และการเข้าใจความหมายของสีนั้นจะทำให้เราสามารถเลือกและตัดสินใจง่ายขึ้นเพื่อให้เราสามารถทำงานนั้นให้ออกมารวดเร็ว และสวยงาม
.
.
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลาย ๆ คนเข้าใจ การจับคู่สี และความหมายของการใช้สีมากขึ้น เพื่อนำไปใช้กับงานออกแบบต่าง ๆ
หากใครที่กำลังตามหา Agency ที่ให้คำแนะนำด้านการตลาด และ Influencer Marketing ก็สามารถทักมาขอคำปรึกษากับ Foretoday ได้ฟรี ทุกช่องทาง
Line@: bit.ly/ForeToday
FB Chat: http://m.me/foretoday
“A better tomorrow starts today”
#InfluencerMarketing #Influencer #ForeToday