ปฏิเสธไม่ได้ว่า TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่มาแรงในขณะนี้ ไม่ว่าจะลุงป้าน้าอา เจนอัลฟ่า เบต้า ไปจนถึงเบบี้บูมเมอร์หลายคนน่าจะมีแอปติ๊กต่อกอยู่ในมือถือเป็นแน่แท้ เพราะทุกเนื้อหาที่ต้องการดูรวมอยู่ในแอพนี้หมดแล้ว ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าหลายๆ แบรนด์ก็ขอลงสนาม มาตามล่าหากลุ่มเป้าหมายในเส้นทางติ๊กต่อก แต่สงสัยมั้ยว่า ทำไม๊ ทำไม แบรนด์ทำคอนเทนต์ยังไงก็ยังไม่ปังเท่า Creator วันนี้เลยพามาดูกันว่าสิ่งใดกันนะที่จะทำให้แบรนด์เป็นหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญของสมรภูมินี้ได้

.

เนื้อหาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นการนำเนื้อหาที่ได้จากงาน CTC 2023 ในเวที Brand as a Creator ของคุณขจรมาสรุปให้ฟังกัน

3 ปัญหาน่าปวดหัวที่แบรนด์ต้องเจอ

  1. เพราะสมัยนี้ใคร ๆ ก็ทำคอนเทนต์ได้

ไม่ใช่แค่ผู้เชี่ยวชาญในบริษัทเท่านั้นที่สามารถผลิตคอนเทนต์ ตัดวิดีโอปังๆ ใส่ effect เทพๆได้ เดี๋ยวนี้คุณป้าข้างบ้านที่มีมือถือก็สามารถตัดคลิปลงติ๊กต่อกได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น ความสามารถในการทำคอนเทนต์ไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่กับองกรค์ใดองกรค์นึงอีกต่อไปแล้ว ทุกคนสามารถเป็น creator ได้ ถ้าอย่างนั้นแบรนด์คุณมีอะไรโดดเด่นกว่าคนอื่นละ?

  1. คนเริ่มไม่เชื่อแบรนด์ 

สถิตินี้แสดงให้เห็นว่า ในสมัยนี้คอนเทนต์ที่สร้างโดยผู้ใช้งานจริง (user-generated content) มี engagement สูงกว่าคอนเทนต์ที่ผลิตโดยแบรนด์มาก เพราะคนเชื่อในผู้ใช้จริง เชื่อในคอนเทนต์ local ที่เน้นความสมจริง ความเรียล เพราะมันมีความ relate กับพวกผู้ใช้งาน ทำให้เค้าเห็นภาพได้ว่าในฐานะคนธรรมดาที่ใช้สินค้า/บริการนี้ ถ้าเขาซื้อมาใช้ ผลลัพธ์มันจะออกมาเป็นอย่างไร

  1. ยอด reach น้อยลง ที่แปลว่าค่า Ads เพิ่มมากขึ้น 

เหตุการณ์นี้ถือเป็นศัตรูตัวร้ายของนักการตลาดออนไลน์เลยทีเดียว สมัยนี้ถ้าไม่จ่ายเงินค่าโฆษณาเรียกได้ว่ามีเปอร์เซ็นน้อยมากที่แอดจะโชว์ รวมถึงเทรนด์เรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ที่ทำให้นักการตลาดเก็บข้อมูลได้น้อยลงอีกด้วย เพราะฉะนั้นแบรนด์ต้องคิดแล้วว่าจะทำยังไงให้ยอด Organic เติบโตขึ้นได้

.

อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่าติ๊กต่อกเติบโตไวมากๆ และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นทุกปีๆ นั่นหมายความว่า กลุ่มลูกค้าของคุณได้เริ่มเข้าไปอยู่ในโลกของ short video กันแล้ว แน่นอนว่าหากคุณไม่เข้าหาลูกค้าในที่ที่เขาอยู่ วันนึงกลุ่มลูกค้าของเราก็จะหายไปอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น หลายๆแบรนด์จึงมีความสนใจเข้าวงการติ๊กต่อก ไม่ว่าจะเป็น การโปรโมทสินค้าผ่านคลิปวิดีโอ การทำ video แนวไลฟ์สไตล์ของคนในองค์กร หรืออื่นๆอีกมากมาย แต่มันก็ยังมีบางจุดที่ยังไง๊ ยังไง แบรนด์ก็มีความแตกต่างจาก Creator

มาดูกันดีกว่าว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่แบรนด์แตกต่างกับ Creator

  1. แบรนด์วางแผนการตลาด แต่ครีเอเตอร์วางแผนช่อง
  2. แบรนด์ จริงจัง ซีเรียส แต่ครีเอเตอร์ ทั้งสนุกและไร้สาระ
  3. แบรนด์ ทำตามโจทย์ แต่ครีเอเตอร์ ทำตามใจ (เจ้าของช่อง)
  4. แบรนด์ แคร์ยอดขาย แต่ครีเอเตอร์ แคร์ผู้ติดตาม
  5. แบรนด์ คิดตามโจทย์ แต่ครีเอเตอร์ คิดตามใจ
  6. แบรนด์ ใช้ social media แต่ครีเอเตอร์ เล่น social media

ซึ่งข้อแตกต่างเหล่านี้ ทำให้เรามองเห็นสิ่งที่ครีเอเตอร์มีแต่แบรนด์ไม่มี นั่นก็คือ ‘ความมีชีวิต’

แล้วต้องแก้จุดไหนที่จะทำให้แบรนด์ ‘มีชีวิต’ มากขึ้น?

  1. Strategy: ใส่ความเป็นครีเอเตอร์ และด้านสนุก ๆ ของแบรนด์ลงไปในงานมากขึ้น
  2. Creativity: ใส่คิดสร้างสรรค์ ถอดความเป็นแบรนด์ออกบ้าง และจำนวนไม่สำคัญเท่าคุณภาพ แบรนด์ควรคำนึงถึงคอนเทนต์ มากกว่าปริมาณของคอนเทนต์
  3. Audience centric: เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นหัวใจสำคัญ คิดคอนเทนต์ตามลูกค้า ดูว่าเขาอยากได้อะไร ไม่ใช่เราอยากขายอะไร 
  4. Mindset: CEO ของแบรนด์ต้องเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย และไม่คำนึงถึงยอดขายอย่างเดียว 

Case Study: พรรคการเมืองที่มีภาพลักษณ์จริงจัง ยังลงมาเล่นติ๊กต่อก

.

จะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งพรรคการเมืองเอง ยังต้องปรับตัวสร้างแบรนด์ในติ๊กต่อก ที่ถือว่าเป็นแหล่งฐานเสียง พลังคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะวัยเด็กหรือวัยเก๋า ถ้าเทียบกับการทำธุรกิจที่หวังยอดแล้ว การทำแบบนี้ คือการนำสินค้าและบริการเข้าไปอยู่ในช่องทางที่ผู้บริโภคจะเห็นได้ชัดนั่นเอง สมัยนี้เราต้องวิ่งเข้าหาผู้บริโภคด้วยคอนเทนต์แบบ Local แล้ว 


หากเราลองเปลี่ยนมุมกลับ ปรับมุมมอง ตีโจทย์ให้แตก ศึกษาว่าแพลตฟอร์มนี้มีลักษณะเป็นยังไง เราจะได้อะไรจากมัน รับรองว่า เราจะเห็นคอนเทนต์สนุกๆจากแบรนด์ที่ส่งเสริมการขาย เพิ่มการรับรู้ ได้มากขึ้น อย่างแน่นอน

“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat: http://m.me/foretoday