how-to-choose-influencer-2023

เลือกอินฟลูยังไงให้ปัง! ฉบับ2023

ในปัจจุบันการแข่งขันระหว่างธุรกิจเริ่มดุเดือด และมีเข้มข้นมากขึ้นทุกปี การนำกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์มาประยุกต์

ในปัจจุบันการแข่งขันระหว่างธุรกิจเริ่มดุเดือด และมีเข้มข้นมากขึ้นทุกปี การนำกลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์มาประยุกต์ และปรับใช้ให้เข้ากับแบรนด์ถือเป็นสิ่งที่ควรคำนึง และให้ความสำคัญ Influencer Marketing ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจขนาดเล็ก SME หรือ ธุรกิจระดับใหญ่ก็สามารถดึงกลยุทธ์ Influencer Marketing มาปรับใช้เพื่อสร้าง Brand Awareness ให้กับแบรนด์ได้ 

.

ก่อนที่เราจะเจาะลึกเรื่อง Influencer Marketing เรามาเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ และประเภทต่าง ๆ ของ Influencer กันก่อนเลย 

Influencer Marketing คืออะไร ?

Influencer (อินฟลูเอนเซอร์) คือ บุคคลที่มีชื่อเสียงในสื่อโซเชียลมีเดีย มีอิทธิพลกับผู้ติดตามในด้านการตัดสินใจ และความคิด อินฟลูเอนเซอร์สามารถนำเสนอสิ่งต่าง ๆ เพื่อดึงดูดและจูงใจให้ผู้ติดตามคล้อยตาม ในสิ่งที่อินฟลูคนนั้นอยากนำเสนอได้

.

Influencer Marketing จึงเปรียบสเหมือนการทำการตลาดออนไลน์ โดยให้คนที่มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Instagram, Facebook, Tiktok, และอื่น ๆ มาช่วยโฆษณา เรียกความสนใจให้แบรนด์ของเรา

.

เพราะฉะนั้นการใช้ Influencer Marketing จึงมีความสำคัญอย่างมากในยุคที่แบรนด์ต่าง ๆ เริ่มปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยดิจิทัล 

ทำไมถึงต้องทำ Influencer Marketing ?

อย่างที่รู้ว่าตอนนี้ Influencer Marketing เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่นิยม และแพร่หลายอย่างมากในธุรกิจต่าง ๆ แล้วทำไมแบรนด์เหล่านั้นถึงเลือกทำ Influencer Marketing ล่ะ ? มันดีขนาดนั้นเลยหรอ ?

เพื่อไขข้อสงสัยเราไปดูกันเลยดีกว่าการทำ Influencer Marketing มีข้อดี และข้อเสียอะไรบ้าง 

ข้อดีของ Influencer Marketing

  • เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแบบเฉียบคม

หากเราคัดเลือก Influencer ที่มีไลฟสไตล์ตรงกับแบรนด์ของเราแล้ว การที่เราจะเข้าถึงกลุ่มเป้าได้อย่างแม่นยำ โดยมี Influencer เป็นบุคคลที่ 3 และโซเชียลมีเดียเป็นสื่อกลางก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไป 

  • เพิ่มความน่าเชื่อถือต่อแบรนด์

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการที่เราจะเลือกบริการ หรือเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ นั้น เรามักจะดูรีวิวก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อเสมอ หาก Influencer ที่เราติดตามรีวิวสินค้าที่เราเล็งไว้ว่า เพียงไม่กี่วินาที เราก็พร้อมที่จะเสียตังให้กับสินค้านั้น ๆ แล้ว Influencer ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความน่าเชื่อถือต่อแบรนด์ และสินค้า อีกทั้งยังสามารถโน้มน้าวผู้ติดตามได้อีกด้วย

  • สร้าง Brand Awareness และเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์

หลังจากที่รายการ Too Hot Too Handle ถูกนำมาฉายบน Netflix ยอดผู้ติดตามของ Francesca Farago (หนึ่งในผู้เข้าแข่งขัน) ได้เพิ่มขึ้น 3 ล้านคนอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงแค่ 3 อาทิตย์เท่านั้น หลังจากนั้น Francesca ได้สร้างแบรนด์ Swimwear ที่ชื่อว่า Farago The Label ขึ้นมา เพียงแค่แท็กแบรนด์ตัวเอง @faragothelabel กับโพสในไอจี แบรนด์ของเธอได้ยอดผู้ติดตามมากถึง 45.5K เลยทีเดียว นั่นคือความมีอิทธิพลของ Influencer ต่อแบรนด์ เพิ่มจำนวนการทำให้คนรู้จักแบรนด์เรามากขึ้นอีกด้วย หากเลือกอินฟลูที่ถูกต้อง 

ข้อเสียของ Influencer Marketing

ไหน ๆ ก็พูดถึงข้อดีไปกันแล้ว แต่ เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ เรามามองในมุมเชิงลบกันบ้าง

.

เชื่อว่าใครต่อหลายคนที่ทั้งติดตามหรือไม่ติดตามฟุตบอลก็ตาม คงรู้จัก คริสเตียโน่ โรนัลโด้ นักเตะสัญชาติโปรตุเกส ผู้ครองสถิติอันดับ 1 ของการเป็น Influencer (สายสุขภาพและกีฬา) ในไอจีที่สร้างรายได้ต่อโพสต์สูงสุดในปี 2022 ซึ่งถ้าตีออกมาเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลถึง 89 ล้านบาทกันเลยทีเดียว 

.

ในศึกฟุตบอล Euro 2020 ในขณะแถลงข่าวก่อนเกมแข่งขัน โรนัลโด้ ได้หยิบน้ำอัดลม Coca Cola ออกจากเฟรมกล้อง และ หยิบน้ำเปล่าขึ้นมา ชักชวนให้คนดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลมจะดีกว่า หลังจากนั้น มูลค่าบริษัทของ Coca Cola ได้ลดหวบไปถึง 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ เคสนี้สะท้อนให้เราเห็นถึงความมีอิทธิพลของ Influencer ชื่อดังต่อตลาดและภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี


รูปที่มาจาก

https://bit.ly/3DfPpKX

ทำความเข้าใจประเภทต่าง ๆ ของ Influencers

การเลือก Influencer ที่เหมาะสมนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะผู้ติดตามของ Influencer ต่าง ๆ มักมี พฤติกรรมและความสนใจที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉนั้นเราจึงต้องทำความใจถึงลำดับของ Influencer กันก่อน

  1. Nano Influencer (ผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน)

การเลือก Nano Influencer มักมีข้อดีในเรื่องของราคาที่ไม่ได้สูงมาก มี Niche Market โดยเฉพาะ ไม่ได้มีชื่อเสียงมากนัก แต่ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและมีอิธิพลต่อการสร้างแรกจูงใจให้ผู้ติดตามได้ แบรนด์เล็กที่ต้องการทำการตลาดแต่มีงบจำกัดจึงเลือกใช้ Nano Influencer กันเป็นอย่างมาก

  1. Micro Influencer (ผู้ติดตาม 10,000 – 50,000 คน)

Micro Influencer จะมีความเป็นมืออาชีพขึ้นมา เหมาะกับสินค้าหลากหลายแบบ มักจะโดดเด่นในเรื่องของการสร้างคอนเทนต์ ซึ่งการกระจายคอนเทนต์ก็จะไปสู่คนได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น

  1. Mid-Tier Influencer (ผู้ติดตาม 50,000 – 100,000 คน)

Influencer ประเภทนี้มักจะตกเป็นที่ต้องการของแบรนด์ต่าง ๆ มากขึ้น เนื่องจากผู้ติดตามที่สูงขึ้น มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น การสร้าง Brand Awareness จงส่งผลได้ดีพอสมควร

  1. Macro Influencer (ผู้ติดตาม 100,000 – 1,000,000 คน )

ขยับขึ้นมาอีกลำดับนึง กลุ่ม Mid-Tier Influencer จะมีความโดดเด่นในเรื่องของการทำคอนเทนต์ที่ชัดเจน สามารถสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้นจากลำดับก่อนหน้านี้ กลุ่มนี้มักจะถูกเลือกโดยบริษัทกลางไปจนถึงใหญ่ เรทราคาจึงค่อนข้างสูงขึ้นมา

  1. Mega Influencer (ผู้ติดตามมากกว่า 1,000,0000 คน)

มากันที่ประเภทสุดท้าย Influencer ประเภทนี้เปรียบเสมือน Celebrity or Mass Publisher เป็นคนที่มีหน้าตามีชื่อเสียงในวงการบันเทิง มีอิทธิพลต่อผู้ติดตามสูงมาก สามารถสร้าง Brand Awareness ในคนกลุ่มมาก ภายใต้โพสต์ ๆ เดียว Mega influencer มักจะเหมาะกับแบรนด์ที่ไม่ต้องการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายมาก อยากเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมาก ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นแบรนด์ ก็ต้องมี Budget ที่มากขึ้นด้วย 

หลักการเลือก Influencer ที่ใช่

  • รู้ Target ที่ชัดเจน

‘การกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน’ คือ สิ่งแรกเลยที่แบรนด์ควรทำ โดยอาจทำ Persona เพื่อที่จะได้แยกกลุ่มเป้าหมายที่ละเอียด และเห็นภาพมากขึ้น อีกทั้งจะได้รู้ว่าจริง ๆ แล้วแบรนด์กำลังต้องการสื่อสารกับคนกลุ่มไหน  เพื่อที่จะได้นำข้อมูลตรงนั้นมาวิเคราะห์หาว่าตอนนี้ Influencer คนไหนที่กำลังเป็นที่สนใจในคนกลุ่มนั้น 

  • กำหนด Budget 

ถ้าคุณต้องการให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมาก การร่วมงานกับ Influencer ที่มียอดฟอลเยอะ ๆ เกิน 1 ล้าน (Mega Influencer) ขึ้นนั้นก็เป็นตัวเลือกเรื่องที่ดี แต่คุณก็ต้องมี Budget ที่สูงเช่นกัน ถ้างบประมาณคุณไม่ถึงก็อาจลองลดระดับของ Influencer ลงมาเป็นระดับ Macro หรือ Mid-tier เพื่อให้ตอบโจทย์กับ Budget ของคุณ แล้วค่อยเสริมกลยุทธ์ทางการตลาดหรือการทำ Content เพื่อเพิ่มยอด Engagement ก็ได้

.

จะเห็นได้ว่าการที่แบรนด์ตั้ง Budget หรืองบประมาณที่เหมาะสมและชัดเจนนั้น ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ agency หรือฝ่ายการตลาด รู้ขอบเขตว่าควรหา Influencer แบบไหน ต้องวางแผนกลยุทธ์ยังไงที่จะทำให้แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จมากที่สุด

  • ตั้ง Objective ให้แน่ชัด

วาง Objective ในแต่ละแคมเปญให้ชัดเจน ว่าคุณต้องการทำแคมเปญนี้ วัตถุประสงค์คืออะไร วัดผลได้หรือไม่ เพื่อให้มองเห็นภาพรวมและเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยให้คุณหา Influencer ที่จะมาทำแคปเปญกับแบรนด์ของคุณได้อย่างเหมาะสม ตรงกับวัตถุประสงค์

.

อย่างเช่น ถ้า Objective ของคุณคือการสร้าง Brand Awareness แน่นอนว่า Influencer ที่คุณควรเลือกก็ต้องเป็นระดับ Mid-Tier (มีผู้ติดตาม 50,000-500,000 คน) ขึ้นไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ Budget ที่คุณมี

  • ดูยอด Engagement ของ Influencer ที่เราเลือก

การที่เราได้ Influencer ที่มียอดฟอลโล่วเยอะ ๆ นั้นเข้ามาเป็นส่วนนึงของแคมเปญนั้นก็ย่อมเป็นเรื่องดี แต่อย่าลืมเราว่าต้องคำนึงถึงคุณภาพของผู้ติดตามด้วย แบรนด์ต้องไม่ลืมที่จะเช็คยอด Engagement หรือการที่ follower มีส่วนร่วมกับ Content ของ Influencer คนนั้น ๆ

.

ซึ่งอาจดูจากการกดไลค์ กดแชร์ คอมเมนต์ หรือยอดวิว เป็นต้น เพื่อที่เราจะได้เลือก Influencer ที่มีผู้ติดตามที่มีคุณภาพ มีส่วนร่วมและเห็น Content อย่างสม่ำเสมอ

  • ภาพลักษณ์ของ Influencer เข้ากับแบรนด์หรือเปล่า ?

การจะเลือก Influencer จากความดังอย่างเดียวนั้น ก็คงเป็นไปไม่ได้ แบรนด์ต้องทำการบ้านด้วยว่า Influencer ที่เราจะเลือกนั้น มีภาพลักษณ์ตรงแบรนด์ไหม? ไปกันได้กับสินค้าหรือบริการของเรารึเปล่า? 

.

ลองคิดดูสิถ้าแบรนด์ของคุณต้องการจะขายน้ำอัดลมสุดซ่าให้กับกลุ่มวัยรุ่น การเลือก Influencer อายุ 50 ปี แถมยังรักสุขภาพ ก็คงเป็นตัวเลือกที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก ใช่ไหมล่ะ?

.

เพราะฉะนั้นแล้วภาพลักษณ์ของ Influencer จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญมาก ๆ ถ้าแบรนด์คำนึงถึงแค่ยอดฟอลหรือความดังอย่างเดียว มันอาจเป็นดาบสองคมที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียหายได้

  • ศึกษา Content ของ Influencer

นอกจากเราต้องทำการบ้านเกี่ยวกับเรื่องภาพลักษณ์ของ Influencer แล้ว การศึกษาลักษณะ และรูปแบบของการทำ Content ของ Influencer คนนั้น ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่แบรนด์ไม่ควรมองข้าม เพราะ Content นั้นควรมีคุณภาพ มีความสร้างสรรค์ สดใหม่ และสามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ตรงประเด็น โดยที่ยังคงความเป็นตัวตน และเอกลักษณ์ของ Influencer อยู่

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด 

การมีปฏิสัมพันธ์ต่อ Influencer ที่ดี รู้ว่าทัศนคติของ Influencer ที่เราร่วงานด้วยเป็นอย่างไร ตรงกับทางแบรนด์เราไหม หากตรงเรามักจะสามารถทำงานร่วมกับ Influencer ได้อย่างราบรื่น เปรียบสเหมือนการทำงานกับพาร์ทเนอร์ที่สามารถมาร่วมงานได้อีกในอนาคต 

.

การตรวจสอบ Digital Footprint หรือ ประวัติของ Influencer เป็นสิ่งที่ควรทำก่อนเลือก Influencer มาก่อนเสมอ เราควรเช็กว่าเขาเคยมีดราม่าอะไรไหม เพราะฉนั้นเราควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้จะดีกว่า

.

.

.

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้หลาย ๆ คนเข้าใจ Influencer Marketing มากขึ้น อีกทั้งยังแนวทางให้แบรนด์ที่กำลังตามหา Influencer ที่ใช่

หากใครที่กำลังตามหา Agency ที่ให้คำแนะนำด้านการตลาด และ  Influencer Marketing ก็สามารถทักมาขอคำปรึกษากับ Foretoday ได้ฟรี ทุกช่องทาง

Line@: bit.ly/ForeToday

FB Chat: http://m.me/foretoday

“A better tomorrow starts today”

#InfluencerMarketing #Influencer #ForeToday

References

https://thewisdom.co/content/what-is-influencer-marketing/
https://tips.thaiware.com/1864.html
https://futuretrend.co/digital-marketing-influencer/
https://www.thumbsup.in.th/how-to-select-influencer-2
https://www.brandbassador.com/en-gb/resources/influencer-marketing-a-guide-for-fast-growing-brands