คุณเคยคิดถึงวันเก่า ๆ บ้างไหม ในสมัยที่คุณยังเด็ก ในสมัยที่ยังเล่นสนุกได้ ในช่วงที่ไม่มีความเครียด หรือไม่จำเป็นต้องมีหน้าที่รับผิดชอบใด ๆ ได้ฟังเพลงที่เคยฟัง ได้ไปในที่ที่อยากไป เรื่องราวไหนที่ทำให้คุณยิ้มได้ ที่ผ่านมาคุณเคยนึกถึงอะไรบ้าง นึกถึงเรื่องที่เป็นประสบการณ์ดี ๆ อาจจะเป็น สถานที่, สิ่งของ, ผู้คน หรือ ความทรงจำ คุณอาจจะเกิดไม่ทัน หรือว่าอาจจะเกิดในช่วง ยุคการเปลี่ยนผ่านจาก ยุคอนาล็อก สู่ยุคดิจิทัล คุณต้องการบรรยากาศในช่วงเหล่านั้นบ้างไหม บรรยากาศในช่วงอดีตที่คุณต้องการ ถ้าพูดถึงเรื่องในการตลาดแล้วคุณอาจจะนึกถึงคำว่า

Nostalgia Marketing ถ้าคุณยังไม่รู้จักคำคำนี้ คำว่า Nostalgia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำนั้นคือ “nostos” ที่มีความหมายเทียบเคียงกับคำว่า “Homecoming” ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่าการกลับบ้าน หรือ การคือสู่เหย้า กับคำว่า “algia” ที่มีความหมายเทียบเคียงกับคำว่า “Painful” ในภาษาอังกฤษที่มีความหมายว่าเจ็บปวด เมื่อราว ๆ 400ปีก่อน “Nostalgia” ถูกจัดให้เป็นอาการป่วย ที่เจอได้ในกลุ่มทหาร โดยมีอาการ คิดถึงบ้าน นอนไม่หลับ กังวลทางจิต มีการค้นพบเข้าใจและพัฒนาจนทำให้ปัจจุบันมีคำนิยามว่า เป็นอาการหวนระลึกถึงอดีต คิดถึงในช่วงที่มีความสุข 

คุณอาจจะเชื่อมโยงได้แล้วจากสิ่งที่ผมเกริ่นมาข้างต้นได้แล้ว ถ้านำทั้งสองคำระหว่างคำว่า Nostalgia กับคำว่า Marketing จะได้คำว่า Nostalgia Marketing คือ การตลาดย้อนยุค หรือว่าการตลาดที่หวนคำนึงถึงอดีต Nostalgia Marketing ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลาย

Nostalgia Marketing คือการนำเรื่องราวของอดีตมาใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาด เป็นการนำปัจจัยภายในจิตใจของผู้บริโภค ที่โหยหาเรื่องราวอดีตหรือว่าสิ่งของ ที่หาไม่ได้แล้วหรือว่าหายากในปัจจุบัน มาสร้างเป็นกลยุทธ์ ออกมาในรูปแบบสินค้าหรือบริการ กลยุทธ์ตอบโจทย์ในเชิง คุณค่า และมูลค่า มากกว่าเชิงปริมาณ การตลาดที่ถวิลหาอดีต อาจจะดูเป็นอะไรที่สวนทางกับการเจริญเติบโตและการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ที่อาจจะพึ่งพาอาศัยในการใช้เทคโนโลยีเป็นหลักในปัจจุบัน 

Nostalgia Marketing มีคู่แข่งทางธุรกิจค่อนข้างน้อย เนื่องจากหลาย ๆ ธุรกิจดำเนินธุรกิจกิจไปยังวันนี้และวันพรุ่งนี้ แต่ในทางกลับกัน Nostalgia marketing เป็นการนำเรื่องราวที่ต้องการหาในอดีตมาเป็นจุดขาย แต่ที่สำคัญ ผู้ที่ใช้กลยุทธ์นี้จะต้องตีแผนการตลาดให้ถูกจุด จึงจะสร้างความประทับใจ กับ สิ่งของ บริการ หรือ เรื่องราวในอดีตได้

“Nostalgia Marketing ได้เกิดขึ้นมาสักพักแล้ว คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมกลยุทธ์นี้ยังได้คงอยู่มาตลอด และ ยังมีปรากฏให้ขึ้นเรื่อยๆ อะไรกันที่ทำให้ความคิดถึงทรงพลังมากขนาดนี้?”

“Emotional Bonding การสร้างความผูกพันทางด้านอารมณ์ คิดถึงวันเก่าที่เคยผูกพัน”

คุณเคยมีท่อนเพลงที่ติดหูคุณอยู่หรือเปล่า พลังของเพลงยุค 90’s 80’s 70’s บัตรคอนเสิร์ตที่อาจจะขายหมดเร็ว เหล่ากลุ่มแฟนเพลงในยุคนั้นในวันนี้อาจจะได้กลายมาเป็นผู้ใหญ่ เติบโต และทำงาน และอาจจะมีกำลังทรัพย์พร้อมซื้อสินค้า หรือ บริการที่ช่วยทำให้คิดถึงความทรงจำในอดีต ผู้บริโภคกลุ่มนี้พร้อมจ่ายเพื่อจะซื้อสิ่งที่เป็นความสุขในอดีตได้กลับคืนมาอีกครั้ง พร้อมกับการปิดการขายที่รวดเร็ว การที่ความทรงจำในอดีต มีคุณค่ามากสำหรับผู้บริโภคเพราะว่าในยุคที่ยังไม่มีสื่อดิจิทัล เป็นยุคมีความสุขกับการโฟกัส กับเรื่องราวต่างๆ ได้นาน โดยไม่มีสิ่งเร้า หรือ หรือ สิ่งรบกวน เข้ามาเบี่ยงเบนความสนใจเป็นเร็วกว่าในอยู่ปัจจุบันนี้ แล้วคุณล่ะพร้อมจ่ายไหม?


ขอบคุณรูปภาพจาก:
(https://www.kinaddhatyai.com/)

Uniqueness ความโดดเด่นเป็นของตัวเอง

ผู้บริโภคในทุกวันนี้อาจจะต้องการสะท้อนความเป็นตัวของตัวเอง และต้องการความแตกต่าง ซึ่งสวนกระแส ยุคคลาสสิกอย่างยุค 90’มีกลิ่นอายระหว่างยุค Analog กับยุค Digital ซึ่งยุคนั้นมีกลิ่นอายของความของความโบราณที่ผสมผสานกับความไฮเทค คนยุคใหม่อาจจะต้องการหาความหมายในยุคเก่าที่พวกเขาไม่เคยสัมผัส สิ่งที่พ่อกับแม่บอกเล่าถึงความคลาสสิกและสิ่งที่น่าจดจำในยุคอดีต สิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้คนยุคใหม่หันมาสนใจ


ยกตัวอย่างเช่น กล้องฟิล์มหรือแผ่นเสียง แม้พวกเขาอาจจะไม่ได้เกิดมาในยุคนั้นก็ตาม กล้องฟิล์มอาจจะเป็นของเล่นชิ้นใหม่ที่ไม่เคยได้ใช้มาก่อน ในยุคที่กล้องดิจิทัลสามารถดูและลบภาพได้ทันทีแต่กับกล้องฟิล์มอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกใหม่ๆ อาจจะสนุกกับการรอคอยว่ากว่าจะได้ภาพต้องผ่านอะไรมาบ้าง การกดชัตเตอร์ ภาพที่เสีย และยังมีข้อจำกัดที่ฟิล์มสามารถถ่ายภาพได้ 36 รูปใน 1 ม้วนฟิล์ม


ขอบคุณรูปภาพจาก:
(https://www.mercular.com/review-article/top-kodak-film-camera)

Brand story เรื่องราวของแบรนด์

ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัยโดย โดยอาจจะมีสิ่งของหรือเรื่องราวที่น่าจะจำ โดยหลายคนอาจจะที่ชีวิตในสมัยเด็กมีแบรนด์ที่น่าจดจำ แล้วพอเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ อาจจะให้สิ่งของหรือเรื่องราวนั้นๆมีความน่าเชื่อถือ โดยอาจจะเปลี่ยนรูปลักษณ์ ภาพลักษณ์ แผ่นการตลาดไปตามยุคตามสมัย แบรนด์ที่มี Brand story ที่แข็งแรง อาจจะจะทำให้ผู้บริโภคนึกถึงประสบการณ์ดีๆที่มีต่อแบรนด์ และอาจจะทำให้ผู้บริโภคกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการแบรนด์ใหม่ แพ็กเกจจิ้ง เป็นส่วนสำคัญทำหน้าที่เป็น “Silent Salesman” ดึงดูดผู้บริโภคให้มาท่ามกลางสินค้ามากมายที่วางอยู่ใกล้กัน ยกตัวอย่างเช่น

เป๊ปซี่ ทำแคมเปญ “PEPSI GENERATIONS” ได้มีการเปิดตัวแพ็กเกจจิ้งสุดคลาสสิคจาก 5 ยุค 1940 1950 1980 1990 และ 2000 เพื่อตอกย้ำความผูกพันระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์

ขอบคุณรูปภาพจาก:
(https://www.marketingoops.com/pr-news/pepsi-generations/)

สุดท้ายนี้การตลาดแบบ Nostalgia Marketing ถือเป็นการตลาดที่น่าสนใจ ถ้าเราว่าแผนการตลาดดีก็อาจจะประสบความสำเร็จได้อย่างไม่ยาก ผมเป็นคนคนนึงที่เพิ่งรู้จักคำว่า Nostalgia Marketing และจากที่ได้บอกเล่าในบทความนี้ ผมก็อยากให้มีการใช้คำคำนี้อย่างแพร่หลายในวงการการตลาด เพราะการตลาดแบบนี้ มีคู่แข่งน้อย ปิดการขายได้เร็ว อาจจะเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ หรืออาจจะขายหรือใช้บริการในมูลค่าสูงได้สำหรับคนที่ต้องการคิดถึงอดีตครับ

.

“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat : http://m.me/foretoday