นักการตลาดทุกคนจะต้องรู้จักหรือได้ยินกับคำว่า Conversion มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน นั่นคือสิ่งที่สำคัญอย่างนึงในการทำ Online Marketing เลยก็ว่าได้ เสมือนเป็นเป้าหมายทางธุรกิจของลูกค้า หรือเป้าหมายบางอย่างที่อยากให้คนที่เข้ามาในเว็บไซต์ของเรากระทำสิ่งๆนี้ อย่างเช่น Purchase, Add to Cart, Submit Lead Form หรือ Sign Up เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการมี Conversion สำคัญต่อธุรกิจมากๆ ดังนั้น หากใครที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองแต่ยังไม่ได้ติด Conversion ทางเราแนะนำให้คุณหยุดอ่านแล้วไปทำสิ่งนี้ให้เรียบร้อย

สำหรับเว็บไซต์ที่มีการติด Conversion เรียบร้อย ถึงเวลาแล้วที่คุณจะมาทำความรู้จักกับ Conversion Window ซึ่งสิ่งนี้คือ กรอบหรือระยะเวลาที่เราจะให้ Google เก็บข้อมูล Conversion บนเว็บไซต์หลังจากมีคนคลิ๊กเข้ามาจาก Paid Search ซึ่งทาง Google จะมี Conversion window ด้วยกัน 3 แบบ

  1. Click-through conversion window – กรอบเวลาที่มีคนกดที่โฆษณาของเรา
  2. View-through conversion window – กรอบเวลาที่มีคนดูโฆษณาของเรา จะใช้กับแคมเปญ Display, Smart Shopping, Video เท่านั้น
  3. Engaged-view conversion window – กรอบเวลาที่มีคนดู video (ใน Youtube และเครือข่ายดิสเพลย์ของ Google) อย่างน้อย 10 วินาทีขึ้นไปของ Skippable-in stream ad หรือดูจนจบในวิดีโอที่ความยาวไม่ถึง 10 วินาที (กดที่นี่เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม)

มาถึงตรงนี้จะงงกันไหม งั้นเดี๋ยวเราจะยกตัวอย่างให้ว่ากรอบเวลาที่ว่ามานี้มันนับ Conversion ยังไง เช่น Google Ads จะตั้ง Click Through Conversion window ไว้ที่ 30 วัน หมายความว่า ถ้าเกิดภายใน 30 วันหลังจากมีคนคลิ๊กเข้ามาบนเว็บไซต์ผ่าน Paid Search แล้วหลังจากนั้นมี Conversion เกิดขึ้น Google Ads จะไม่นับว่า Conversion นั้นเกิดจาก Ads ของเรา เพราะว่ามันเกิดขึ้นหลัง Conversion Window ที่เราตั้งค่าไว้ ซึ่งแต่ละธุรกิจก็มีกรอบเวลาที่เหมาะสมต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ บางประเภทที่มีสินค้าราคาสูง ลูกค้าอาจจะต้องใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อนานกว่า สินค้าราคาถูก ดังนั้นเราจึงมี Tool ที่ชื่อ Time Lag เพื่อใช้ในการดูพฤติกรรมของลูกค้า

Time Lag Report คืออะไร

หลังจากเราเรียนรู้การติด Conversion และเข้าใจเกี่ยวกับ Conversion Window แล้ว ต่อไปเรามาศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Time Lag report หรือรีพอร์ทข้อมูลที่อยู่ภายใต้ Multi Channel Funnel .o Google Analytics กัน 

Time Lag Report เป็นรายงานที่บอกถึงช่วงเวลา โดยเป็นจำนวนวัน นับจากวันที่ User มีการ interaction (เช่น Impression, Click, Direct to website) เป็นครั้งแรกจนถึงวันที่เกิด Conversion หมายความว่าเราสามารถตรวจสอบได้ว่า หลังจากที่ลูกค้า interaction กับเว็บไซต์ของเรา (ครั้งแรกหรือหลายครั้ง) แล้ว นับตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการ interaction ต้องใช้ระยะเวลากี่วันถึงจะมีการตัดสินใจเกิด Conversion ขึ้นมา 

ยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น

Interaction ครั้งที่ 1  : วันที่ 1 ม.ค. User เข้ามาด้วยวิธีการ Direct to Website

Interaction ครั้งที่ 2 : วันที่ 10 ม.ค. User ค้นหาสินค้าของเราใน Google Search 

Interaction ครั้งที่ 3 : วันที่ 15 ม.ค. User ได้รับ Line Broadcast แล้วคลิ๊กเข้ามา

Interaction ครั้งที่ 4 : วันที่ 20 ม.ค. User คลิก Facebook แล้วเข้ามาซื้อสินค้า (เกิด Conversion)

ตัวอย่างนี้ Conversion ที่เกิดขึ้นจะตกอยู่ใน Time lag report ระยะเวลา 20 วัน 

*ซึ่งระยะเวลาการเก็บ Time lag report สามารถตั้งค่าได้ เป็นการ Look back period … days (ตามระยะเวลาที่เราต้องการ)

**หากเป็น Default setting จะถูกกำหนดย้อนหลัง Time lag 30 วัน 

ตัวอย่าง Time Lag Report ธุรกิจประเภทสินค้าออกกำลังกาย ราคาสูง

ตัวอย่าง Time Lag Report ธุรกิจประเภทที่พัก โรงแรม

ข้อควรระวังสำหรับนักการตลาดออนไลน์ในการอ่านค่า Time Lag report 

จากตัวอย่างด้านบนเราจะพบว่า Time lag สามารถตั้งค่าระยะเวลาในการอ่านย้อนกลับไปได้ ตามเวลาที่ตั้งค่าเอาไว้ ยกตัวอย่างความผิดพลาดที่ทำให้นักการตลาดอ่านค่า Time Lag คลาดเคลื่อน

Agency A : ตั้งค่า Time Lag Look back period ไว้ที่ 30 วัน 

Interaction ครั้งที่ 1 : วันที่ 1 ม.ค. User เข้าเว็บด้วยวิธีการ Search Google 

Interaction ครั้งที่ 2 : วันที่ 31 ม.ค. User เข้าเว็บไซต์ด้วยวิธีการ Direct to Website และซื้อสินค้า (เกิด Conversion)

หลายคนเข้าใจว่า Time lag กรณีนี้คือ 31 วัน แต่เป็นคำตอบที่ “ผิด” เนื่องจาก Look back period ที่ตั้งเวลาเอาไว้ย้อนหลัง 30 วันเท่านั้น ดังนั้นระบบจะรายงาน Time lag ของ Conversion นี้เท่ากับ 0 หมายความว่า ลูกค้าคลิกเข้ามาครั้งแรก ก็เกิด Conversion เลย ทำให้เกิดการรายงานผลที่ผิดพลาดนั้นเอง

ดังนั้นเรามาดูการตั้งค่าของอีกตัวอย่างหนึ่ง

Agency B : ตั้งค่า Time Lag Look back period ไว้ที่ 60 วัน 

Interaction ครั้งที่ 1 : วันที่ 1 ม.ค. User เข้าเว็บด้วยวิธีการ Search Google 

Interaction ครั้งที่ 2 : วันที่ 31 ม.ค. User เข้าเว็บไซต์ด้วยวิธีการ Direct to Website และซื้อสินค้า (เกิด Conversion)

Time lag จะรายงานการเกิด Conversion อยู่ที่ 31 วันนั้นเอง นี้คือวิธีการแก้ไขเพื่อให้การวัดผลมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นคือการเปลี่ยนค่า Look back period ให้มีค่ามากขึ้นเช่น 60 วันหรือ 90 วันเป็นต้น ดังนั้นก่อนอ่านค่า อย่าลืมตรวจสอบ Time Lag setting ให้ถูกต้องด้วยนะ

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Time Lag Report ที่นี่

บทสรุป 

ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่าการติด Conversion บนเว็บไซต์ประกอบกับการอ่าน Time Lag report ร่วมด้วยแล้ว จะช่วยให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ได้มากขึ้น และตอบสนองต่อพฤติกรรมเหล่านั้น เช่นการจัดโปรโมชั่นเพื่อยิงกลุ่มเป้าหมายที่เคยเข้าเว็บไซต์ หรือจัดแคมเปญเสนอสินค้าและลดราคาเพื่อกระตุ้นให้ก่อนการ action หรือเกิด Conversion กับธุรกิจของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง