Dynamic search ads หรือ DSA คืออะไร
Dynamic search ads หรือ DSA คือฟังก์ชั่นนึงของ Google ads ซึ่งอยู่ในแคมเปญประเภท Search ads โดยจะแตกต่างกับ search ads ปกติคือ เราไม่จำเป็นต้องซื้อคีย์เวิร์ดเพื่อให้โฆษณาของเราไปแสดงผลบนหน้า search results แต่ Google เนี่ย จะช่วยแสดงผลโฆษณาตามหน้า landing page url ที่เราเลือกไว้ ไปยังเป้าหมายที่มีความต้องการตรงกับสินค้าของเรามากที่สุด
หลักการทำงานของ DSA
หลักการคร่าวๆของ dynamic search ads คือ Google จะทำการจับคู่ search term ที่ผู้ใช้งานทำการพิมพ์เข้ามาในช่อง search เข้ากับเนื้อหาบนเว็ปไซต์ในหน้าที่เราเลือกไว้ จากนั้น Google จะสร้าง Headline ของโฆษณาขึ้นมา แล้วแสดงโฆษณากลับไปยังผู้ใช้คนนั้น (หมายความว่าการทำโฆษณาแบบ dynamic search ads เราไม่ต้องคิด headline และ keywords เอง)
เมื่อไหร่ที่ควรใช้ Dynamic search ads และประโยชน์ที่ได้รับ
เมื่อเว็ปไซต์ของเรามีการทำ SEO ที่ดีพอ เนื้อหาในเว็ปเป็นเนื้อหาที่มีคุณภาพและครบถ้วน ก็คือมีคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่เราต้องการขายในปริมาณที่มากพอ
เมื่อเราทำ SEO ของเว็ปไซต์ดีแล้ว จะทำให้ dynamic search ads สามารถแสดงผลให้กับผู้ค้นหา ที่กำลังค้นหาเรื่องที่ใกล้เคียงกับเนื้อหาบน Landing Page ที่เราเลือกไว้มากที่สุด
ประโยชน์ของการทำ DSA
- เจอคีย์เวิร์ดใหม่ๆที่นึกไม่ถึง
- ประหยัดเวลาในการหา keyword ใหม่ๆ
- Conversion เพิ่มขึ้น Performance ดีขึ้น
- เพิ่มยอด Traffic
วิธีการสร้าง Dynamic Search Ads
การสร้าง DSA นั้นจะคล้ายๆกับการสร้าง search ads เลย เพียงแต่ Dynamic นั้นเราจะไม่สามารถเลือกซื้อ Keyword ได้
ขั้นตอนแรกเริ่มจากสร้าง ad group และเลือกชนิดของ ad group เป็น Dynamic
ขั้นตอนต่อไปคือเราจะใส่ลิ้งค์ของเว็บไซต์ แทนการใส่keyword ของ search ads
โดยเราจะสามารถเลือกได้ว่า ต้องการเจาะจงหน้าเว็บไซต์ หรือ จะใช้ ทุกหน้าของเว็บไซต์เรา
ในการเลือกหน้าของเว็บไซต์ หากเราต้องการเลือกหลายหน้าที่มีลิ้งค์หรือหน้าเนื้อหาคล้ายกัน เราสามารถสร้าง rules ขึ้นมาเพื่อให้Googleรู้ว่าเราจะใช้ทุกลิ้งค์ที่เราต้องการโดยไม่ต้องใส่ทีละURLให้เสียเวลาได้ด้วย
ขั้นตอนต่อไป เราจะทำการสร้างโฆษณา Dynamic Ads นั้น เราจะไม่สามารถใส่ Headline ได้ เนื่องการระบบจะสร้างอัตโนมัติจากURL ที่เราใส่ไปก่อนหน้านี้
แต่ เรายังสามารถใส่ Description ได้เหมือนเดิม ซึ่งมีจำกัดความยาวที่ 90 ตัวอักษร
นอกจากนั้นหากเราต้องการใส่ Extension ให้เหมือน Search ads เราก็สามารถทำได้ด้วยเช่นกัน
ข้อควรระวังในการใช้ Dynamic Search Ads
หลักๆคือ บางครั้ง Dynamic Ads นั้นอาจจะนำKeyword ที่ไม่ตรงทาร์เก็ตหรือไม่สามารถสร้างเป็น Headline ได้มาใช้ เพราะฉะนั้นเราควร Negative URL ที่ไม่เกี่ยวข้องออกเพื่อให้มั่นใจว่าระบบจะใช้คำที่ควรใช้จริงๆ
นอกจากนั้นเราควรเช็คให้มั่นใจว่าเราได้ทำการเลือกภาษาที่ถูกต้องแล้ว เพื่อให้ระบบเลือกใช้ได้ถูกต้องและทำงานได้ดียิ่งขึ้น เราสามารถเช็คภาษาของโฆษณาได้ที่ Dynamic Search Ads Setting
สรุปก็คือ ถ้าใครต้องการที่จะ scale up ยอดขายหรือยอด traffic โดยไม่อยากที่จะไปนั่งรีเสิร์จหาคีย์เวิร์ดใหม่ๆ แนะนำฟังก์ชั่น Dynamic search ads ให้เข้ามาช่วยประหยัดเวลาได้ รับรอง Performance ที่ได้จะคุ้มค่าในการลองแน่นอน
ใน EP หน้า Foretoday จะมาเขียนบทความเรื่องอะไร รอติดตามได้เลย!
Line@: bit.ly/ForeToday
FB Chat: http://m.me/foretoday
“A better tomorrow starts today “
Digital Agency Digital Marketing foretoday muketing social media