Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

เข้าใจ Dunning Kruger แล้วจะรู้ว่าทำไมชีวิตฉันถึงบัดซบ

เข้าใจ Dunning Kruger แล้วจะรู้ว่าทำไมชีวิตฉันถึงบัดซบ

บทความนี้ทำให้องค์กร และชีวิตคน ๆ นึงเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่อง ซึมเศร้า เบิร์นเอ้าท์ หมดไฟ หัวใจสั่นคลอน โดยบนความนี้จะใช้ทฤษฎี Dunning Kruger ที่จะพูดถึง ความเอนเอียงในกระบวนการรู้คิดและใช้ความรู้สติปัญญานั้นแอบอยู่ลึกๆ ในการคิดของเรา โดยอิงจาก 2 สิ่งนี้ ความสามารถ (Competency) กับ ความมั่นใจ (Confidence) โดยเป็นงานวิจัยเรียนรู้จาก  David Dunning and Justin Kruger โดย Dunning Kruger Effect จะมี 4 State ดังนี้

การทดลองของ Dunning และ Kruger

ทั้งสองคนนี้สนใจในคดีปล้นธนาคารของ “แมคอาเธอร์ วีลเลอร์” (McArthur Wheeler) ซึ่งทำการปล้นธนาคาร 2 แห่งในวันเดียวกัน โดยไม่มีการปิดบังใบหน้าของตนเองแต่อย่างใด

เหตุผลเพราะว่า วีลเลอร์ คนนี้คิดว่าใบหน้าของตนเอง ‘ล่องหนอยู่’ จากการใช้น้ำมะนาวซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในการทำ ‘หมึกล่องหน’ มาทาบริเวณใบหน้าก่อนออกปล้นธนาคาร

เหตุการณ์นี้ได้สร้างความสนใจให้ 2 นักจิตแพทย์อย่าง ดันนิ่ง และ ครูเกอร์มาก ๆ จนนำไปสู่การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถที่มีอยู่จริง และตามความคิดของตัวเอง โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองทำข้อสอบหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ การใช้เหตุผล ไปจนถึงความรู้ทางไวยกรณ์

โดยก่อนที่จะประกาศผลคะแนน เดวิด ดันนิ่ง และ จัสติน ครูเกอร์ ได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองประเมินคะแนนสอบของตัวเอง ออกมาตามความคิด ผลปรากฎว่า “ผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีผลคะแนนต่ำ มักจะประเมินคะแนนสอบของตัวเองสูงกว่าความเป็นจริงมาก”

เรื่องของการสอบขึ้นมาซึ่งในการทดสอบจะมีการประเมิณประสบการณ์ของผู้ทำการสอบไว้แล้วใน 4 ระดับตาม Quartile หรือจตุภาค และหลังจากการสอบจะมีการสอบถามผู้คนที่สอบว่า เค้าน่าจะได้คะแนนเท่าไหร ในการสอบ ผลที่ได้ออกมาจะได้ผลลัพธ์ตามกราฟด้นล่าง

อธิบายคือ คน 4 กลุ่มจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันจากการใช้ตัวแปร ความสามารถ (Competency) กับ ความมั่นใจ (Confidence) และมีการสรุปออกมาเป็น Dunning – Kruger Effect ดังนี้

Dunning Kruger Effect คืออะไร

แกนตั้งเป็นระดับความมั่นใจ (Confidence) จากน้อย (Low) ไปหามาก (High)

แกนนอนเป็นระดับความสามารถ (Competence) คือจากไม่รู้อะไรเลย (Know-Nothing) ขยับไปจนถึงขวาสุดคือ เป็นผู้รู้จริงและมีความเชี่ยวชาญขั้นเทพ (Guru)

  1. ยอดเขาแห่งความโง่ “Peak of Mount Stupid”

    หลังจากที่ได้เรียนรู้ไปสักระยะหนึ่ง เราจะเริ่มคิดว่า “เรารู้เกือบหมดทุกอย่างแล้ว” ความมั่นใจเพิ่มขึ้นสู่จุดสูงสุด ในช่วงนี้เราจะรู้สึกดีมาก ๆ กับสิ่งที่ได้เรียนรู้ และรู้สึกเหนือกว่าคนอื่น เราจะคิดว่าเรื่องนี้มันง่ายมาก และในบางครั้งอาจจะเผลอโอ้อวดความรู้กับคนรอบตัวได้
  2. หุบเหวแห่งความสิ้นหวัง (Valley of Despair)

    ช่วงนี้เป็นช่วงที่ยิ่งศึกษาหาความรู้ ความมั่นใจของเราก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดต่ำสุด เราจะรู้สึกแย่กับความรู้น้อยของตัวเอง และตระหนักได้ว่า “เราแทบไม่รู้อะไรเลย” บางคนถึงขั้นล้มเลิกการเรียนรู้ ยอมกลับไปที่ “ยอดเขาแห่งความโง่” อีกครั้ง แต่ถ้าถึงจุดนี้แล้วเราตัดสินใจจะลุยต่อ เราจะได้เรียนรู้ที่จะเป็นคนเปิดใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่มากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปความมั่นใจก็จะเริ่มกลับมาอีกครั้ง
  3. ความลาดชันของการตรัสรู้ (Slope of Enlightenment)

    หลังจากที่ลุกขึ้นจาก “หุบเหวแห่งความสิ้นหวัง” ได้ การยอมรับความรู้น้อยของตนเอง จะเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ความถ่อมตัว และการไม่หยุดเรียนรู้ จะกลายเป็นนิสัยของเราโดยไม่รู้ตัว เรียกว่าเป็นการปีนขึ้นสู่ “ทางลาดแห่งการตื่นรู้” เราจะไม่โอ้อวดในความรู้ที่มี เพราะรับรู้อย่างลึกซึ้งว่าเรายังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาย และความมั่นใจก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
  4. ที่ราบสูงแห่งความยั่งยืน (Plateau of Sustainability)

    เมื่อเราพัฒนามาถึงจุดนี้ การศึกษาของเราจะยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับความมั่นใจที่เพิ่มมากขึ้นตามความรู้ที่มี และแม้ว่าเราจะมั่นใจมากแค่ไหน แต่เราก็ยังคงศึกษาหาความรู้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะความรู้นั้นจำเป็นต้องอัปเดตอยู่ตลอดเวลา และโลกของความรู้ก็ไม่มีสิ้นสุด

สำหรับความรู้ที่ต้องการอัพเดทในวันนี้ก็มีเท่านี้นะครับ ยังไงฝากกดไลค์ กดแชร์ และเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ และพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ ใครอ่านมาถึงตรงนี้หากมีตรงไหนที่สงสัยก็สามารถติดต่อมาได้เลยนะครับ

“วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า จะได้มาต้องเริ่มที่วันนี้”

“A better tomorrow starts today”

Digital Agency Digital Marketing digitalagency foretoday marketing