Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

มารู้จักดัชนีความร้อนกับวิธีรับมืออากาศร้อน ทำอย่างไรดีนะ

ตั้งแต่ได้เข้าสู่หน้าร้อนอย่างเป็นทางการ อุณหภูมิก็เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้การทำกิจกรรมนอกบ้านมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเป็นโรคที่มากับอากาศร้อนได้ ซึ่งปกติเราจะรู้กันแค่อุณหภูมิวันนี้ ตอนนี้กี่องศา แต่จะมีอีกค่าหนึ่งที่เรียกว่า “ดัชนีความร้อน” ต่างกับอุณหภูมิที่วัดได้อย่างไร เราจะมาทำความรู้จักกัน พร้อมทั้งรับมือกับสภาพอากาศร้อนว่าควรทำอย่างไร


“ดัชนีความร้อน” คืออะไร

“ดัชนีความร้อน” คือ การนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริง และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น 

จากการศึกษาและพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2521 โดย George Winterling พบว่าดัชนีความร้อนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องจากหลากหลายปัจจัย เช่น ร่างกายของมนุษย์ ชนิดของเสื้อผ้า และความหนาที่ใส่ กิจกรรมที่เราทำ รังสีจากแสงอาทิตย์ รวมไปถึงความเร็วลม เหล่านี้มีความสำคัญต่อความคลาดเคลื่อน ของ”ดัชนีความร้อน”

หากให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็คือเป็นค่าความร้อนที่เรารู้สึก ยิ่งความชื้นสูง เราจะรู้สึกร้อนมากขึ้น มากกว่าอุณหภูมิที่วัดได้ เพราะความชื้นสูงจะระบายความร้อนยาก เราจะรู้สึกอึดอัด  

เมื่อระบายความร้อนไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดฮีทสโตรก หรือลมแดดนั่นเอง เมื่อกล้ามเนื้อสร้างความร้อนมากจนร่างกายรับไม่ไหว และเกิดปฏิกิริยาการตอบสนอง อาจจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้

ข้อมูลจาก www.rnd.tmd.go.th/heatindexanalysis/

ประโยชน์ของดัชนีความร้อน

เราจะเห็นกันแล้วว่าความจริง ดัชนีความร้อนนั้นไม่ใช่อุณหภูมิของอากาศภายนอกแต่เป็นตัวแทนอุณหภูมิที่ร่างกายเรารู้สึกได้ รวมไปถึงบอกความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะลมแดดได้ ซึ่งนั่นทำให้เราสามารถใช้พยากรณ์ดัชนีความร้อนในการวางแผนตารางกิจกรรมของเราล่วงหน้าได้ เพื่อที่จะได้หลบหรือป้องกันไม่ให้ตัวเราต้องไปทำกิจกรรมอย่างหนักกลางแจ้งในวันที่มีความเสี่ยงสูงได้


วิธีการรับมือกับอากาศร้อน

  1. ดื่มน้ำบ่อย ๆ เพราะอากาศร้อนอาจจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและสูญเสียน้ำได้ง่าย
  2. รับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เน้นทานที่ปรุงใหม่และปรุงสุก
  3. รักษาอุณหภูมิร่างกาย ด้วยการใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน้ำเย็นเช็ดหน้า และตามร่างกาย หากอยู่ในพื้นที่ ๆ มีอากาศร้อนมาก ควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่มีลักษณะบางเบา และปลอดโปร่ง ไม่รัดแน่นเพื่อช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายมีความสมดุล
  4. ลดการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก หรือเลือกกิจกรรมเบา ๆ แทน เช่น การเล่นโยคะ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ การงีบหลับในช่วงกลางวันบ้าง ถือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอยู่ไม่น้อย แต่สำหรับคนที่กำลังทำงาน อาจจะใช้วิธีนั่งพิงพนักตัวตรง หลับตา สงบนิ่ง ๆ ในช่วงกลางวันก็ได้
  6. หลีกเลี่ยงการนอนให้ลมหรือความเย็นโกรก คือไม่ควรเปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศจ่อในขณะหลับ ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง ถ้าอุณหภูมิภายนอกยังสูงอยู่ อาจทำให้ความร้อนนั้นสะสมภายในร่างกาย ทำให้เวียนหัว ไม่สดชื่นแจ่มใส และอาจทำให้เป็นหวัดได้

สรุป

ดัชนีความร้อน คือค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้นรวมไปถึงระดับความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดลมแดด ทำให้เราสามารถวางแผนเตรียมตัวและป้องกันตัวเองได้อย่างเหมาะสม เพราะอาการลมแดดนอกจากจะทำให้หน้ามืดแล้ว อาจร้ายแรงได้ถึงขั้นทำให้ระบบหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ การมีมาตรวัดที่ทุกคนสามารถดูได้ล่วงหน้าอย่างดัชนีความร้อน เลยเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราเตรียมตัวป้องกันและรับมือกับสภาพอาการได้ถูกต้องตามสถานการณ์

(ข้อมูลจาก www.rnd.tmd.go.th/heatindexanalysis/)

“A better tomorrow starts today”

Line@ : bit.ly/ForeToday 

FB Chat : http://m.me/foretoday